4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ข่าว/ความเคลื่อนไหว

05.09.2024
483 Views

สวรส. ติวเข้มกรรมการจริยธรรมภาคประชาชน เสริมองค์ความรู้คุ้มครองอาสาสมัครวิจัย พร้อมสร้างมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยของประเทศ

กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่เป็นภาคประชาชน หรือที่เรียกว่า Layperson มีบทบาทไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่ากรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ โดย Layperson นับเป็นตัวแทนหลักที่สะท้อนมุมมองของอาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัย และให้ความคิดเห็นที่คำนึงถึงความเป็นมนุษย์เป็นสำคัญ ถือได้ว่าเป็นกลไกสนับสนุนการสร้างมาตรฐานงานวิจัยที่มีคุณภาพ มีความถูกต้อง ทั้งทางวิชาการและจริยธรรมการวิจัย เพื่อให้ข้อมูลการวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนอาสาสมัครมีความปลอดภัยตลอดกระบวนการวิจัย
29.08.2024
272 Views

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการกำกับดูแลการวิจัยทางคลินิก ตามหลักการ ICH Good Clinical Practice Guideline

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ตั้งแต่เวลาเวลา 08.30–16.30 น. ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ สวรส. โดยแผนงานวิจัยระบบยาได้จัดอบรมบุคลากรที่มีบทบาทในการให้ทุนวิจัย (Sponsor)เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการกำกับดูแลการวิจัยทางคลินิก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการรับรองความถูกต้องและความปลอดภัยของการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ การอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นการปฏิบัติตามหลักการ ICH Good Clinical Practice Guideline (GCP) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับในวงการวิจัยทั่วโลก โดย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้ร่วมกล่าวปราศัยถึงศักยภาพด้านทางการแพทย์ และการวิจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพด้านการรักษา ทั้งการการลงทุนด้านการวิจัย กาบริหารทุนวิจัยที่นำไปสู่รูปธรรมต่อการปฎิรูประบบการวิจัยของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ พร้อมกันนี้ได้กล่าวเปิดงานอบรม ICH Good Clinical Practice Guidelines ต่อมา เวลา 9.30-12.00 น.ช่วงเช้า ศ.เกียรติคุณ ดร.พญ.จันทรา เหล่าถาวร ประธานมูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจริยธรรมในการทำวิจัยในมนุษย์ บรรยายหัวข้อ "หลักจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ และหลักปฏิบัติทางคลินิกที่ดี (ICH Good Clinical Practice Guideline - GCP)โดยเน้นที่ การปฏิบัติตามเกณฑ์มาตราฐานคุณภาพสากล ที่เป็นการรับประกันต่อสาธารณชนว่า สิทธิ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครได้รับการคุ้มครองตามหลักการแห่งคำประกาศเฮลซิงกิ และผลการวิจัยเป็นที่เชื่อถือได้ โดยได้อธิบายบทบาทความรับผิดชอบของผู้สนับสนุนทุนวิจัย ที่ต้องมีความรับผิดชอบในการดาเนินการและดูแลรักษาระบบการประกันคุณภาพและการควบคุมคุณภาพ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP) เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การดำเนินการวิจัย การได้ข้อมูล การจดบันทึก และการรายงานการวิจัย เป็นไปตามที่กำหนดในโปรโตคอลหลักการปฏิบัติทางคลินิกที่ดี (GCP) และข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในช่วงบ่ายเวลา 13.00-14.00 น. เนื้อหายังเข้มข้น โดย ศ.เกียรติคุณ ดร.พญ.จันทรา เหล่าถาวร บรรยายหัวข้อ "การกำกับดูแลการวิจัยทางคลินิก ในบทบาทของผู้ให้ทุน (Sponsor)" ในบทบาทด้านความรับผิดชอบของผู้สนับสนุน (Trial design) ซึ่งผู้สนับสนุนควรใช้บุคคลหรือบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม (เช่น นักสถิติกำรแพทย์,นักเภสัชศำสตร์คลินิก,และแพทย์) ตลอดทุกขั้นตอนของกระบวนการทดลอง ตั้งแต่การออกแบบโปรโตคอลและแบบฟอร์มรายงาน (CRFs) การวางแผนการวิเคราะห์ จนถึงกำรวิเคราะห์และจัดเตรียมรายงำนกำรทดลองทางคลินิกชั่วคราวและสุดท้ำย เวลา 14.00-15.30 น. ผศ.ดร.พญ.พรรณทิพา ว่องไว คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น บรรยายหัวข้อ "แนวทางการจัดทำเอกสารและวิธีการมาตรฐานงานวิจัย (SOPs)" ได้อธิบายแนวทางการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อกระบวนการวิจัยในมนุษย์ที่มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยผู้เข้าร่วมงานวิจัย ที่ต้องคำนึงถึง ความถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ และความถูกต้องตามหลักจริยธรรมต่อการติดตามข้อมูลตามเอกสารที่นักวิจัยได้จัดทำรายงานต่อผู้สนับสนุนทุนวิจัย โดยผู้สนับสนุนทุนวิจัยต้องมีความรู้ความเข้าใจต่อเอกสาร SOPs และการจัดการข้อมูลที่มี ให้สามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดการมาตราฐานของงานวิจัยให้เป็นไปตามเป้าหมายของงานวิจัย ได้อย่างคุณภาพ และช่วงเวลา 15.30-16.30 น. ภญ.ดร.นพคุณ ธรรมธัชอารี ผู้จัดการงานวิจัยอาวุโส ได้ยกตัวตัวอย่างการเก็บข้อมูลงานวิจัยที่ได้ดำเนินการ โดยมีกระบวนการที่เป็นไปตามขั้นตอนแนวทางการวิจัยทางคลินิก ตามหลักการ ICH Good Clinical Practice Guideline โดยตลอดการบรรยายได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้บรรยายและผู้ร่วมอบรมเพื่อนำไปสู่วิธี และแนวทางการกำกับงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การนำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้องต่อไป ทั้งนี้ การอบรมดังกล่าว จะเป็นแนวทางต่อการบริหารจัดการงานวิจัยสำหรับบุคลากร สวรส. ในบทบาทของผู้ให้ทุน (Sponsor) เพื่อให้การวิจัยทางคลินิกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
23.08.2024
708 Views

สวรส. จัดประชุมวิชาการ “ร่วมพลิกระบบสุขภาพไทย ด้วยงานวิจัยคุณภาพ” พร้อมผนึก 24 องค์กร ร่วมเคลื่อนวิจัย รองรับวิกฤตประเทศ และปัญหาสุขภาพประชาชน

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดการประชุมวิชาการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ปี 2567 “ร่วมพลิกระบบสุขภาพไทย ด้วยงานวิจัยคุณภาพ” ระหว่างวันที่ 22-23 ส.ค. 2567 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการนำผลงานวิจัยระบบสุขภาพไปใช้ประโยชน์ รวมถึงมุ่งส่งเสริมให้ประเทศไทยมีนโยบายสำคัญด้านระบบสาธารณสุขที่เกิดจากงานวิจัยคุณภาพ โดยมีเครือข่ายนักวิจัย บุคลากรสาธารณสุข รวมทั้งภาคส่วนต่างๆ ที่สนใจเข้าร่วมงานกว่า 500 คน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้