4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

อ.อาหารสำคัญแค่ไหน

          เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า เคล็ดไม่ลับไปสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดีประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ อาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์ ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้ เป็นประโยชน์ทั้งในผู้ที่ยังแข็งแรง และผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ

          วันนี้จะมาเจาะลึกลงไปในเรื่องของอาหาร ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย เพราะเป็นเรื่องที่พวกเราประสบกับตัวเองมาทุกวันตลอดชีวิต แต่กลับกลายเป็นเรื่องที่ปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมได้ยาก ซึ่งถ้าจะพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้ว ก็จะเข้าใจได้ว่า ปฏิบัติตามไม่ง่ายจริงๆ ไม่เช่นนั้น เราจะไม่พบผู้ป่วยที่ทั้งขาดอาหารและทั้งน้ำหนักเกิน รวมทั้งเป็นโรคเรื้อรังที่มีเรื่องของอาหารเป็นส่วนประกอบ เช่น โรคเบาหวานเป็นต้น

          ประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ป่วยมักมีคำถามในทางปฏิบัติในเรื่องนี้จำนวนมาก ที่สมควรนำมาเผยแพร่ และอธิบายให้เข้าใจ เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง เช่น เราจะเลือกรับประทานอย่างไร มื้อไหนมาก มื้อไหนน้อย อาหารประจำวันควรรับประทานอะไรเพื่อให้สุขภาพดี ฯลฯ เพื่อจะตอบคำถามเหล่านี้ให้ผู้อ่านหรือรับฟังเข้าใจได้ จะขอปูพื้นฐานสั้น ๆ ที่คิดว่า ถ้าเข้าใจแล้ว จะเป็นการตอบคำถามต่าง ๆ เหล่านั้นไปในตัวด้วย
          มนุษย์เราต้องรับประทานอาหารไปเพื่อ 1) เป็นเชื้อเพลิงไปสร้างพลังงานให้อวัยวะทุกชิ้นทำงานได้  2) อาหารจะไปเสริมสร้างร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กและหนุ่มสาวจะเห็นชัดเจน  3) ในวันสูงอายุและวัยอื่นๆ อาหารถูกใช้ไปเพื่อทดแทน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อาหารที่เราแบ่งเป็น 5 หมู่นั้น ต่างมีบทบาทในการทำหน้าที่ในทั้ง 3 หน้าที่แตกต่างกัน ทั้ง 5 หมู่ จึงล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น ถ้ามนุษย์รับประทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม อาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็จะเป็นประโยชน์เต็มที่ แต่ถ้าบางส่วนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็อาจทำให้การทำงานของร่างกายรวนเร ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคได้

          ด้วยพื้นฐานข้างต้น นำไปสู่เหตุผลของคำแนะนำให้รับประทานมื้อเช้าและกลางวันให้มากเพียงพอ เพื่อใช้เป็นพลังงานในการปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งต้องใช้พลังงานจำนวนมาก สำหรับอวัยวะต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อและสมอง ฯลฯ อาหารไทย-จีนที่เป็นอาหารประจำวันของคนไทย ล้วนแล้วแต่ประกอบด้วยอาหารทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารจานด่วนของไทย เช่น ข้าวราดแกง ยำ ผักจิ้ม อาหารประเภทเส้นต่าง ๆ สามารถหาเลือกรับประทานได้ง่ายโดยทั่วไป แม้ชีวิตในเมืองจะเร่งรีบ สำหรับมื้อเย็นเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายกำลังจะพักผ่อน จึงควรรับประทานที่ปริมาณไม่มาก ไม่สร้างพลังงานสูงและย่อยง่าย เช่น ผัก สลัด ผลไม้ น้ำซุป แกงจืด หรืออาจเสริมข้าวหรือแป้งจำนวนไม่มาก เพื่อให้ระบบย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนักในช่วงที่ร่างกายต้องพักผ่อน และไม่มีพลังงานส่วนเกินจากอาหาร ซึ่งถ้ามีพลังงานส่วนเกิน ร่างกายจะนำไปเก็บไว้ในรูปของไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันที่เก็บไว้ในเนื้อเยื่อในช่องท้อง ซึ่งสังเกตง่ายในคนที่อ้วนลงพุง หรืออ้วนบริเวณกลางลำตัว ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด|

          ความเชื่อตามคำสั่งสอนในพุทธศาสนาที่ให้ยืดทางสายกลาง และคำว่า "พอเพียง" ยังคงนำมาใช้ได้ดีในเรื่องของการรับประทานอาหาร  นอกจากนี้ ยังต้องมีสติรู้ตัวตลอดเวลาที่รับประทานอาหาร  ที่สำคัญ อาหารที่รับประทานแต่ละวันควรประกอบด้วย "ผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง" ตามที่กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการมีสุขภาพดีครับ

นพ.สราวุฒิ สนธิแก้ว

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 หน้า 22
  

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้