4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

“วิจัยและพัฒนา (R&D)” หัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ

 

          “การวิจัยและพัฒนา” นับได้ว่าเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของการพัฒนาในแทบทุกเรื่อง  รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในเชิงพาณิชย์ของภาคธุรกิจด้วย  ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาและควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ดังนั้นองค์กรภาควิชาการอย่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จึงมีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงงานวิจัยและการพัฒนา โดยจับมือกับภาคเอกชนต่อยอดผลงานวิชาการสู่การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์  โดยมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ได้มาตรฐาน และคุณภาพในระดับสากล อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริโภคในประเทศ  ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันในตลาดโลกของภาคธุรกิจของประเทศ  ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) จนสามารถก้าวข้ามผ่านจากกับดักการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (Middle income trap) ไปสู่กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง (High income countries) ได้ในที่สุด

 

          ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผู้อำนวยการ สวรส. ย้ำว่า  สวรส.เล็งเห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นอย่างมาก  ที่ผ่านมาเรามักพูดเรื่องการวิจัยและพัฒนาในงานของภาครัฐหรือในงานวิชาการต่างๆ แต่ความจริงแล้วในภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจ  โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ต้องมีการผลิตวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  เช่น วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ  ยิ่งจำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาในแต่ละขั้นตอน  เพื่อการควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐาน และผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด  โดยช่วงที่ผ่านมา สวรส.ได้มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ  ภายใต้สังกัดจากกระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงอุตสาหกรรม  กระทรวงวิทยาศาสตร์  และหน่วยงานจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ผู้แทนจากบริษัทต่างๆ  สมาคมเครื่องมือแพทย์  เป็นต้น  เพื่อร่วมกันระดมข้อมูลปัหาที่เกิดขึ้นและความเห็นที่สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่าง (gap)  ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือแพทย์ในเชิงพาณิชย์  และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเสนอโจทย์วิจัยที่จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอดให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง
“สำหรับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย  เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย  รวมทั้งหากพัฒนาถึงขั้นไปสู่ตลาดโลกได้ ก็จะส่งผลต่อตัวเลข GDP ของประเทศที่สูงขึ้นด้วย  

          ดังนั้น สวรส.จึงเป็นโต้โผหลักในการเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล และเติมเต็มช่องว่างของการพัฒนา เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของประเทศ  โดยใช้ความรู้เป็นฐานที่สำคัญในการพัฒนางานวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ  สู่การส่งออกไปยังตลาดโลกในเวลาอันใกล้นี้” ศ.นพ.สมเกียรติ กล่าว
โดยเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ไปศึกษาดูงานที่ บริษัท แวสคิวลาร์ อินโนเวชั่นส์ จำกัด (Vascular innovations Co.Ltd.) ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวกับการรักษาโรคหัวใจ ที่ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุกประเภทของบริษัทฯ  ซึ่งมี คุณสุธรรมา กิมทรง กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ  ให้การต้อนรับและร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ของวงการอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในปัจจุบัน  การดำเนินงานของบริษัท และปัญหาอุปสรรคต่างๆ  ซึ่งทำให้เห็นถึงช่องว่างในระบบที่ภาครัฐควรเข้าไปมีส่วนให้การสนับสนุน เพื่อปิดช่องว่าง (Fill the gap) ที่เป็นตัวขัดขวางการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศ

          ด้านคุณสุธรรมา กิมทรง  กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ เปิดเผยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ จะให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาในผลิตภัณฑ์ทุกประเภท  โดยมีการทำงานร่วมกับคณาอาจารย์จากมหาวิทยาลัย เช่น คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล  และคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการทำวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก ทั้งในสัตว์และในมนุษย์  รวมถึงการทำวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกในต่างประเทศด้วย พร้อมมีการตรวจสอบคุณภาพแบบ 100 %  เพื่อจะได้สามารถผ่านการรับรองระดับต่างๆ ได้ เช่น มาตรฐาน ISO13485  CE mark ฯลฯ  ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของบริษัทเน้นไปที่ตลาดต่างประเทศ  โดยมียอดในการส่งออกปีละประมาณ 80 % ขายในประเทศ 20 %  โดยในปัจจุบันบริษัทฯ เน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครสร้างหัวใจ (structural heart disease) เช่น “Cocoon” อุปกรณ์อุดรอยรั่วหัวใจชนิดปลอดสารนิกเกิล ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ด้านสังคม จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมระดับโลกแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น ยังมีราคาที่ต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศอีกด้วย


          การดูงานครั้งนี้นับเป็นโอกาสดีที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของภาครัฐและเอกชน  ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมของประเทศ เช่น การกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชนเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ  การพัฒนามาตรฐานของห้องปฏิบัติการทดสอบเพื่อรับรองคุณภาพ และการทำแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีความสะดวกในการยื่นขอการรับรองคุณภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการผลิตนวัตกรรมที่ได้มาตรฐาน  เกิดการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์จนไป

          ถึงการได้รับรองคุณภาพระดับสากล  และอีกการผลักดันหนึ่งที่สำคัญในอนาคตคือ รัฐบาลควรหันมาสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ที่ผลิตโดยคนไทย และในประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้คนไทยมีความรู้และศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ นอกเหนือจากการส่งออกวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว  ดังนั้น สวรส.จึงเห็นความสำคัญของการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับภาคเอกชน  และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการสร้างงานวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ ตลอดจนส่งผลต่อการพัฒนาในภาพรวมของประเทศต่อไป

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้