ข่าว/ความเคลื่อนไหว
ทุกคนปรารถนาที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเช่น การเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน หรือ การออกกำลังกายแบบอื่น ๆ เชื่อว่าจะช่วยทำให้สามารถป้องกันโรคภัย บางชนิดได้ และชีวิตมีคุณภาพมากขึ้น ได้มีการศึกษาวิจัยถึงเรื่องสรีรวิทยาของการออกกำลังกายอย่างจริงจัง และทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ความรู้เหล่านี้ถูกนำมาใช้ปรับปรุงวิธีการ หรือสร้างอุปกรณ์สำหรับใช้ออกกำลังกายเพื่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ในบรรดาวิธีการออกกำลังกายใหม่ ๆ เหล่านี้ มีการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ได้รับการเผยแพร่และเป็นที่นิยมมากขึ้นตามลำดับ คือ การออกกำลังกายในน้ำ (Aquatic Exercise) ซึ่งในต่างประเทศเริ่มให้ความสนใจมาเป็นเวลานับ10 ปีแล้ว และแพร่หลายออกไปเรื่อย ๆ และคาดว่าในอนาคตจะเป็นที่นิยมมากขึ้น
จากการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของการฝึกโยคะในน้ำและการฝึกโยคะบนบกที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและจิตในสตรี อายุ 50–59 ปี พบว่า ก่อนการฝึกและหลังการฝึก 8 สัปดาห์กลุ่มฝึกโยคะในน้ำมีสมรรถภาพทางกายในด้านความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายและความอ่อนตัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ก่อนการฝึกและหลังการฝึก 8 สัปดาห์กลุ่มฝึกโยคะบนบกมีสมรรถภาพทางกายในด้านเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และความอ่อนตัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มฝึกโยคะในน้ำและกลุ่มฝึกโยคะบนบก พบว่าสมรรถภาพทางกายในด้านของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับสมรรถภาพทางจิตในด้านของความเครียด แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
นอกจากนี้ได้มีการออกแบบอุปกรณ์เพื่อใช้สำหรับการออกกำลังกายในน้ำ คือ รองเท้า ซึ่งทำการเพิ่มพื้นที่โดยใช้แผ่นโฟมรองด้านใต้เพื่อเพิ่มแรงต้านทานขณะออกกำลังกาย และได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของการก้าวขึ้นลงในน้ำลึกด้วยรองเท้าที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ต้นขาและการทรงตัวในผู้สูงวัยเพศหญิงอายุ 56-65 ปี พบว่า ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มฝึกก้าวขึ้นลงในน้ำลึกด้วยรองเท้าและกลุ่มฝึกก้าวขึ้นลงในน้ำลึกด้วยเท้าเปล่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ดังนั้น จากผลการวิจัยสามารถนำโปรแกรมการออกกำลังกายในน้ำทั้งสองรูปแบบนี้ ไปประยุกต์ใช้กับหญิงวัยผู้ใหญ่ได้ ทั้งนี้จากคุณสมบัติของน้ำก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการออกกำลังกายหลายประการ ได้แก่
จากคุณสมบัติของน้ำข้างต้น ทำให้การออกกำลังกายในน้ำมีข้อดีหลายประการพอสรุป ได้ดังนี้คือ
ซึ่งคุณสมบัติทั้งสามประการนี้เป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้การออกกำลังกายในน้ำไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเอ็นและข้อเนื่องจากสภาพไร้น้ำหนัก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการออกกำลังกายในน้ำมีความเหมาะสมที่จะเป็นการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
คณะผู้วิจัย : ราตรี เรืองไทย, จรรยา สมิงวรรณ, รจนา อาภรณ์รัตน์, สุริยา ณ นคร, สิริพร ศิมณฑลกุล และ อนันทศิลป์ รุจิเรข
หน่วยงาน : คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 02-9428675
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้