ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

10 นักวิจัยที่ได้รับรางวัลผลงาน R2R ดีเด่นระดับทุติยภูมิ ซ้อมนำเสนอผลงาน ก่อนถึงวันจริง

         เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องประชุมสภาการพยาบาล ชั้น6 กระทรวงสาธารณสุข มีการประชุมนำเสนอผลงาน R2R ดีเด่นระดับทุติยภูมิ  โดยมี พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร และนพ.เฉลิมชัย ชูเมือง ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้ข้อเสนอแนะ แก่นักวิจัยที่ได้รับรางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ระดับทุติยภูมิทั้ง10 เรื่องโดยมีนักวิจัยที่ได้รับรางวัลระดับทุติยภูมิจำนวน 10 เรื่อง เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยกตัวอย่าง เช่น เรื่อง นวัตกรรม “ราวเสริมพลังแรงเบ่งคลอด” โดยคุณพัชราพร ตั้งสกุล จากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม และเรื่องรูปแบบใหม่ในการจัดระบบการดูแลเบาหวาน โดย คุณปัญจา ชมภูธวัช จากโรงพยาบาลหนองพอก เป็นต้น

          คุณทัศนีย์  ญาณะ นักวิชาการผู้ประสานและดำเนินการประชุมครั้งนี้กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมคือ เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงานงานวิจัยและทบทวนเนื้อหางานวิจัย แต่ที่สำคัญคือ ทั้งนักวิจัยและทีมงานจากส่วนกลางจะได้เรียนรู้งานวิจัยทั้ง 10 เรื่องด้วย สำหรับประเด็นที่ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะ คือ ในการนำเสนอ ควรกล่าวถึงประเด็นต่อไปนี้ 1.อะไรคือแรงจูงใจในการทำงานวิจัย 2.กระบวนการทำงานวิจัยทำอะไรบ้าง 3.เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอะไรบ้าง 4.คุณค่าที่ได้จากงานวิจัย ทั้งหมดนี้ ต้องนำเสนอให้คม ชัด เข้าใจง่าย
          นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยเกี่ยวกับการเตรียมการนำเสนอ เช่น การเตรียม Power point การใช้ขนาด สี และแบบตัวอักษรที่อ่านง่ายชัดเจน ข้อความบนสไลด์ที่สื่อความหมายชัดเจน ช่วยให้คนที่ไม่รู้เรื่องงานวิจัยนี้มาก่อนมีความเข้าใจและประทับใจงานวิจัย ชิ้นนี้ได้ภายในเวลา 10 นาที

          ด้าน นพ.เฉลิมชัย ได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยท่านอื่นๆ ด้วย เช่น “ถ้าบอกว่าเป็นนวัตกรรม เวลานำเสนอก็ต้องชี้ให้เห็นว่ามันแปลกใหม่ ต่างจากงานที่เคยมีมาก่อนที่ผ่านมาอย่างไร” และ พญ.สุพัตรา ได้ให้คำแนะนำเช่น  “ถ้าเล่าว่าเราทำกิจกรรม คือการมีคลินิก มีคู่มือผู้ป่วย เรามี อสม.มาช่วย ฟังอย่างนี้ก็ยังไม่เห็นอะไรเป็นนวัตกรรม เพราะฉะนั้นต้องเสนอให้ชัดก่อน ยกตัวอย่าง เวลาเราพูดถึง Easy Asthma Clinic คนอื่นเขาไม่รู้ว่ามันคืออะไรเราก็ต้องอธิบายให้เห็นภาพ ปูพื้นฐานความเข้าใจให้ตรงกันก่อน และต้องนำเสนอให้เห็นคุณภาพของงานจริง

         นอกจากการเสนอแนะด้านการนำเสนอแล้ว ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสองท่าน และผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการวิจัย และแนวทางต่อยอดงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบบริการ และการดูแลผู้ป่วย ซึ่งคำแนะนำทั้งหมดจากผู้ทรงคุณวุฒิในวันนี้ ได้ช่วยเติมเต็มความพร้อมให้กับนักวิจัยได้เป็นอย่างดี ก่อนที่จะไปนำเสนอผลงานจริงในงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงาน ประจำสู่งานวิจัย ครั้งที่3 “เครือข่าย R2R ก้าวไกล สาธารณสุขไทย ก้าวหน้า” ที่จะจัดขึ้น ณ อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี ในวันที่ 14-16 กรกฎาคม 2553 นี้

          “ดีมากเลยค่ะ ได้เห็นรูปแบบการนำเสนอที่มีความหลากหลาย ได้ความรู้ใหม่จากการเสนอนวัตกรรมและคิดว่าจะนำไปใช้ในโรงพยาบาลได้ และข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ก็ได้สะท้อนให้เห็นช่องว่างในแต่ละงานได้ดีมากๆ” คุณปัญจา ชมภูธวัช นักวิจัย R2R จากโรงพยาบาลหนองพอก อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด

          “ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรทางสาธารณสุขเกี่ยวกับเรื่อง R2R และสามารถนำความรู้ ข้อคิดเห็นที่ได้ไปปรับใช้ในโรงพยาบาลของตัวเองได้ และยังได้รู้จักกับเครือข่าย R2R เพื่อสอบถามแลกเปลี่ยนความรู้กันในภายหลังได้ รวมทั้งยังได้นำผลงานมาเผยแพร่ แลกเปลี่ยน และฟังข้อเสนอแนะที่หลากหลาย ทำให้สามารถนำไปปรับปรุง และต่อยอดให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป” คุณดำรงค์ ช่วยแก้ไข นักวิจัย R2R จากโรงพยาบาลพญาเม็งราย จ.เชียงราย

          “มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะคำแนะนำจากอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ทำให้มองเห็นแนวทางที่จะพัฒนางาน และนำมาทำ R2R เชิงคุณภาพต่อไป รวมทั้งยังทำให้มองเห็นประเด็นได้ชัดเจนขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนอจริง และทำให้รู้ว่าควรเตรียมอุปกรณ์อะไร และควรเพิ่มเติมเนื้อหาอะไรบ้างอีก” คุณสวรรค์ รุจิชยากูร นักวิจัย R2R จาก โรงพยาบาลพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้