4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ค้นช่องว่าง “อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์” เตรียมสังเคราะห์ข้อเสนอ หนุนพัฒนาเชิงพาณิชย์

<p>
    <strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์กว่า 20,000 ล้านบาท โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10% ต่อปี ขณะเดียวกันหากดูตัวเลขการส่งออกวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์พบว่า ประเทศไทยก็มีความสามารถในการส่งออกกว่าปีละ 17,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไทยใช้ผลิตส่วนใหญ่เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับที่ไม่สูงมากนัก โดยเน้นการใช้วัตถุดิบที่มีในประเทศ เช่น ยางและพลาสติก ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพให้ได้รับการยอมรับในวงการแพทย์และพร้อมจัดจำหน่าย</strong></p>

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) </strong>จึงได้เป็นตัวกลางที่เชื่อมประสานหน่วยงานและองค์กรต่างๆ โดยเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันพลาสติก สมาคมยางพาราไทย สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการคลัง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ม.มหิดล บริษัท SCG บริษัท ปตท. เป็นต้น เป้าหมายการหารือเพื่อระบุปัญหาหรือช่องว่างในการส่งเสริมศักยภาพนวัตกรรมจากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์</p>

เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2557 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จัด<strong>ประชุมหารือการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย ครั้งที่ 5/2557</strong> โดยมี <strong>ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) </strong>เป็นประธานพร้อมด้วย <strong>นายปรีชา พันธุ์ติเวช นายชัยณรงค์ หมั่นดี นายกิตติโชติ ศรีมโนรถ ดร.จันทรวิภา ชนะโสภณ นางยศวดี อึ้งวิเชียร นายเปรมวิทย์ จุรีเวฬุโรจน์ </strong>ฯลฯ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสุปัญญา ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ</p>

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ทางศูนย์ทดสอบมาตรฐานของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย <strong>ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว.</strong>&nbsp;นำเสนอว่า ทาง วว. พร้อมร่วมการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ เพื่อให้เกิดการผลิตในประเทศและลดการนำเข้า สำหรับในส่วนที่ทาง วว. มีความพร้อมคือ 1.การเป็นผู้ให้บริการ ในด้านการวิจัยและพัฒนาในการหาต้นแบบการผลิต ผลงานที่ผ่านมาอาทิ การวิจัยและพัฒนา R&amp;D กาวฟันปลอม เครื่องงอเข่า เป็นต้น 2.การให้บริการ Lab ในการสอบเทียบเครื่องมือ และ 3.การให้การรับรองอุปกรณ์ในเรื่องที่ทาง วว. รับผิดชอบ

นายชัยณรงค์ หมั่นดี สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์</strong> กล่าวว่า ประเทศไทยมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์มากว่า 30 ปี แต่ทุกวันนี้ ก็ยากที่จะเห็นชื่อแบรนด์ของคนไทย ถึงเวลาที่จะต้องมาเริ่มต้นก้าวใหม่ และทำการบ้านให้พร้อม เช่น ความพร้อมหากมีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ซึ่งต้องเป็นพื้นที่เฉพาะมีการควบคุมที่เข้มงวด มาตรฐานในการควบคุม รวมถึงความพร้อมในการส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็กๆ หน่วยงานภาครัฐพร้อมสนับสนุนเพียงใด เป็นต้น

นายปรีชา พันธุ์ติเวช สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์</strong> กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการแพทย์ไทย ยังขาดการพัฒนาด้านนวัตกรรม ขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ทำให้ยังไม่มีการพัฒนามากนัก จึงมีประเทศที่พัฒนาอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นที่ครองตลาดอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ มองว่าควรหาช่องทางในการชวนประเทศเหล่านี้ เข้ามาร่วมลงทุน แม้ที่ผ่านมาจะมีการเดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศแต่ก็ยังไม่เห็นภาพของการจับคู่ทางธุรกิจมากนัก

<p>
    &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้นำเสนอร่างการคาดการณ์รายได้ของผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนในการลดอัตราภาษีนำเข้าวัสดุวัตถุดิบสำหรับการผลิตเครื่องมือแพทย์ สถานการณ์การรับรองมาตรฐานสำหรับบริษัทเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย รวมถึงการนำเสนอข้อมูลมาตรฐานยางและพลาสติกด้วย</p>

<p>
    &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ศ.นพ.สมเกียรติ</strong> กล่าวว่า จากการประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านมา ทาง สวรส. จะทำการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุช่องว่างระหว่างสายพานการนำงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ และดำเนินการปิดช่องว่าง (Fill the gap) ในเบื้องต้นควรเริ่มต้นที่อุตสาหกรรมพลาสติกและยางพาราในเครื่องมือแพทย์เพราะมีความเสี่ยงต่ำ-ปานกลาง (Low-medium risk) เนื่องจากไทยมีวัตถุดิบ รวมทั้งการจัดทำข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณาภาษีนำเข้าจากวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เข้ามาในประเทศ 1% จากรายได้เฉลี่ย 1.4 แสนล้านบาทต่อปี มาจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในอนาคต หรือขอการสนับสนุนจากภาครัฐในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อปูทางสู่เวทีการค้าโลกได้ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างการพัฒนา</p>

<p>
    &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<em>“เชื่อว่าอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย มีศักยภาพเพียงพอ เพราะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทยหลายรายเป็นผู้รับจ้างผลิต (OEM) ให้กับต่างประเทศ และแนะนำให้ประเทศไทยควรกำหนดเครื่องหมายการค้า (Trade Mark) ที่เป็นมาตรฐานสากลและเป็นของเราเอง” </em>ศ.นพ.สมเกียรติ กล่าว</p>

 

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้