4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สูบบุหรี่หนึ่งมวนระวังอายุสั้นลง 7 นาที

          แต่ละปีมีคนตายจากบุหรี่ 6 ล้านคนทั่วโลก และแต่ละปีคนไทย 50,710 คน ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเนื่องด้วยโรคจากการสูบบุหรี่ และสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา 52,200 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 0.5 ของจีดีพี
          นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวเนื่องในวันงดสูบ บุหรี่โลก 31 พ.ค.ของทุกปี บอกว่า การสูบบุหรี่ 1 มวน จะทำให้อายุสั้นลง 7 นาที และช่วง 2 ปี สุดท้ายจะเป็นช่วงที่ทรมานมากที่สุด เพราะจะป่วยหนักด้วยโรคเกี่ยวกับบุหรี่  การรณรงค์ให้ประชาชนลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดจากการสูบบุหรี่ลง ทั้งตัวผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง โดยเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ในปี'57 คือ ทำให้คนสูบบุหรี่ไม่เกินร้อยละ 18.7 ในขณะที่หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการตั้งเป้าไม่เกินกว่าร้อยละ 10 ให้ได้

          วันที่ 31 พ.ค.นี้ เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก โดยองค์การอนามัยโลกกำหนดประเด็นการรณรงค์ไว้ว่า Raise taxes on tobacco "บุหรี่ : ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด" เพื่อเน้นเชิญชวนให้นานาประเทศทั่วโลกเรียกร้องให้รัฐบาลตนเองขึ้นภาษียาสูบเพิ่มขึ้น  การคำนวณราคาภาษี มีด้วยกันหลายระบบ โดย รศ.ดร.อิศรา ศานติศาสน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ วิจัยเรื่องระบบทิศทางภาษีและราคายาสูบในภูมิภาคอาเซียนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าปัญหาจากการกำหนด ภาษีที่ไม่เหมาะสม เป็นส่วนสำคัญที่กระทบต่อการเพิ่มหรือลด จำนวนผู้บริโภคยาสูบอย่างชัดเจน ซึ่งพบว่าในประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ ได้ใช้มาตรการภาษีเป็นมาตรการสำคัญในการลดปริมาณ ผู้บริโภคยาสูบลง ทำให้บางประเทศราคาบุหรี่สูงถึงซองละเกือบ 200-300 บาท

          จากการศึกษาระบบภาษียาสูบของประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียน อินโดนีเซีย ใช้วิธีกำหนดราคาขายต่ำสุด ทำให้บริษัทบุหรี่มีแนวโน้มที่จะขายบุหรี่ในราคาที่สูงเพื่อเพิ่มกำไร ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มมาก สำหรับในอาเซียน อัตราการสูบบุหรี่มากที่สุด คือ ลาว ผู้สูบมากที่สุดยังอยู่ในเพศหญิง ส่วนการสูบบุหรี่ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี คือ ประเทศติมอร์ ส่วนประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำ
          แนวทางที่ไทยควรดำเนินการ คือ ต้องกำหนดราคาขั้นต่ำ ซึ่งราคานี้จะต้องคุ้มกับต้นทุนความสูญเสียด้านสุขภาพจากการบริโภคยาสูบ และต้นทุนการผลิต ซึ่งควรกำหนดอยู่ที่ประมาณ 50-60 บาทต่อซอง ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่แบบซองหรือยาเส้นก็ควรเก็บในราคาประมาณเท่าๆ กัน

          นอกจากนี้ จะต้องขึ้นภาษียาสูบราคาถูกด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้คนหันมาสูบยาสูบราคาถูกแทน หากอยากคุ้มครองคนกลุ่มนี้ ต้องสนับสนุนให้เลิกสูบบุหรี่
          ที่ผ่านมา กรมสรรพสามิต มีการปรับภาษีบุหรี่ เพิ่ม 2-3 ปี ครั้ง ปัญหาในการจัดเก็บภาษียาสูบ การปรับปรุงในเรื่องกฎหมายภาษียาสูบเพื่อลดการบิดเบือนราคา ต้องมีความชัดเจนเป้าหมายของการจัดเก็บภาษี แนวคิดระหว่างรายได้หรือสุขภาพ โดยหลักการภาษีที่ดีต้องโปร่งใส เรียบง่าย เท่าเทียมกัน นำมาผสมผสาน เพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพในการจัด เก็บภาษี

          สิ่งที่หน่วยงานรัฐ ยังต้องเร่งดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ 1.ต้องขึ้นภาษีทั้งยาสูบและยาเส้น 2.ยาสูบพันธุ์พื้นเมืองจะต้องนำเข้าสู่ระบบภาษีอย่างเร่งด่วนด้วย ต้องแก้มาตรการ ทางกฎหมายก่อน แต่ที่ต้องทำความเข้าใจให้ชัด คือ ผู้ประกอบการจะเป็นผู้เสียภาษี ไม่ใช่เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบพันธุ์พื้นเมือง และ 3.มาตรการทางภาษีต้องทำควบคู่กับการรณรงค์ให้ความรู้เรื่อง พิษของบุหรี่ซอง ภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ ซึ่งไทยดำเนินการแล้ว การขับเคลื่อนชุมชนปลอดบุหรี่ และช่วยให้ผู้สูบเลิกบุหรี่ให้ได้ เพื่อเป้าหมายหลัก คือ ลดผลกระทบสุขภาพจากการสูบบุหรี่

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หน้า 25

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้