4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

7 อาการ สัญญาณโรคหืด

          โรคหืดเป็นโรคที่พบบ่อย และมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นทั่วโลก(3) ประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโรคหืดถึง 10-12% ในเด็ก และ 6.9% ในผู้ใหญ่ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่เข้านอนรับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากโรคหืดเพิ่มขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ 66,679 คน ในปี พ.ศ. 2538 เป็น102,245 คน ในปี พ.ศ.2545 และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหืด 806 คนในปี พ.ศ. 2540 เพิ่มเป็น 1,697 คน ในปี พ.ศ.2546

          นพ.ธนสิษฐ์ หงส์พนัส อายุรแพทย์โรคปอด รพ.เจ้าพระยา อธิบายว่า โรคหืด เป็นอาการของโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และภาวะภูมิแพ้ ซึ่งเกิดจากหลอดลมมีการอักเสบเรื้อรัง และก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองกับสารก่อภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้มากกว่าคนปกติ เมื่อผนังหลอดลมอักเสบจะทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมหนาขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อหลอดเกิดการหดและเกร็งตัว เมื่อถูกสิ่งกระตุ้น หลอดลมที่อักเสบเรื้อรัง ในผู้ป่วยโรคหืด จะมีความไว มากกว่าปกติ ทำให้เมื่อได้รับการกระตุ้นหลอดลมจะหดเกร็งตัว ส่งผลให้ผู้ป่วยหอบหืด

          "อาการของโรคหืด มักจะประกอบไปด้วยอาการดังต่อไปนี้ คือ 1.หายใจลำบาก  2.ไอ  3.หายใจเสียงวี้ด  4.เหนื่อยง่าย  5.หลังการเป็นหวัด ไอนาน  6.เวลาออกกำลังกาย เหนื่อยง่ายผิดปกติ"
          ส่วนปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคหืดได้ ประกอบ ไปด้วย สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น, เชื้อรา, แมลงสาบ, สัตว์เลี้ยง, ละอองเกสรหญ้าหรือวัชพืช บุหรี่, ควัน, มลพิษในอากาศ, กลิ่นฉุนแรงๆ
          "สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีเรื่องอาหารเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในกรณีที่แพ้อาหารชนิดนั้นอยู่แล้ว เช่น ถั่วลิสง, ไข่, ช็อกโกแลต, อาหารทะเล, ไวน์แดง, อัลมอนด์, เฮเซลนัท แต่ผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานอาหารเหล่านี้โดยไม่มีอาการรุนแรง

          "นอกจากนี้ยังมีเรื่องของอารมณ์ซึ่งรุนแรง ไม่ว่าจะดีใจมาก เสียใจมาก หรือเครียดมาก การออกกำลังกายหักโหมในสภาวะที่ไม่เหมาะสม ร้อนจัด  เย็นจัด ขณะที่ถ้าอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ก็สามารถเป็นปัจจัยให้โรคหืดกำเริบได้เช่นกัน"

          แนวทางการรักษา นพ.ธนสิษฐ์ หงส์พนัส กล่าวว่า แบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ ใช้ยา กับไม่ใช้ยา
          "การไม่ใช้ยาก็คือ หลีกเลี่ยงสิ่งที่เราแพ้ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ ออกกำลังกายให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงควันบุหรี่หรือไม่สูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่ ทำให้โรคหืดแย่ลง
          ส่วนเรื่องของการใช้ยา มีสองประเภท คือยาที่ใช้ควบคุม กับยาที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินตอนมีอาการ ซึ่ง นพ.ธนสิษฐ์ หงส์พนัส แนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน
         
ขอบคุณข้อมูล : รายการ "Health Line สายตรงสุขภาพ" รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 07.00-08.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์ เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หน้า 9

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้