ข่าว/ความเคลื่อนไหว
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานวิจัยและพัฒนาธรรมาภิบาลในระบบสุขภาพขึ้น เพื่อเป็นการนำเสนอผลการศึกษาในโครงการพัฒนาดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของ ประชาชนต่อระบบสุขภาพ และนำเสนอโครงร่างการวิจัยเรื่องการศึกษาพัฒนาการและบทเรียนการจัดตั้งหน่วย งานที่มีกฎหมายเฉพาะและองค์การมหาชนในระบบสุขภาพไทย โดยมี นพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธานการประชุม
อ.ทวีศักดิ์ รักยิ่ง นักวิจัย สวรส. และศูนย์บริการวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เสนอผลการทดสอบเบื้องต้นในการจัดทำดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ ระบบสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง 434 คนในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นต่อระบบสุขภาพ ทั้ง 4 ระบบ ได้แก่ ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ระบบการป้องกันและควบคุมโรค ระบบการบริการสาธารณสุข และระบบการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านความเชื่อมั่นต่อหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการ ระบบหลักประกันสุขภาพ เช่น บัตรทอง บัตรประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น แต่กลุ่มที่ใช้ประกันสุขภาพเอกชน มีความเชื่อมั่นลดลง
จากการศึกษาครั้งนี้ยังพบอีกว่า การตอบแบบสอบถามของ ประชาชนในระดับรากหญ้าจะมีปัญหาความเข้าใจในการตอบแบบสอบถามบ้าง ดังนั้นเมื่อจะดำเนินงานจริง ควรใช้วิธีการสอบถามโดยมีผู้สัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็น จริงมากกว่า นอกจากนั้นจำนวนคำถามในแบบสอบถามมีจำนวนมาก ต้องใช้เวลาตอบนาน อาจทำให้ผู้ตอบไม่สามารถตอบแบบสอบถามได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามการจัดทำดัชนีดังกล่าวจะต้องดำเนินงานและมีการพัฒนาให้ เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการจัดทำดัชนีวัดความเชื่อมั่นอื่นๆ
นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการ สวรส. ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากในระบบสุขภาพที่ยังไม่ได้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผู้บริหารอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารขาดข้อมูลที่จะสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายเรื่องต่างๆ ข้อมูลดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และมีการบริหารจัดการแยกส่วนกันตามกองทุนต่างๆ ทำให้ข้อมูลกระจัดกระจาย ตลอดจนขาดการเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลให้สามารถวิเคราะห์ภาพรวมสถานการณ์ ระบบสุขภาพได้ สวรส. จึงเริ่มพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลและระบบการรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพขึ้น โดยกำหนดให้มีการรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพต่อสาธารณะ ทั้งที่มาจากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดหลักสำหรับการกำกับติดตามระบบบริการ สุขภาพ และข้อมูลจากสามกองทุน ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ รวมถึงให้ความสำคัญกับมุมมองของภาคประชาชนที่มีต่อระบบสุขภาพด้วย ซึ่งจะเริ่มดำเนินการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนทั่วประเทศต่อระบบสุขภาพ ภายในเดือนสิงหาคมนี้ และคาดว่าน่าจะเสร็จทันการรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพปลายปี
นอกจากการจัดทำดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสุขภาพแล้ว สวรส. ยังได้มอบให้ รศ.ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีม ศึกษาเรื่องพัฒนาการและบทเรียนการจัดตั้งหน่วยงานที่มีกฎหมายเฉพาะและ องค์การมหาชนในระบบสุขภาพควบคู่ด้วย เนื่องจากปัจจุบันมีหน่วยงานในระบบสุขภาพที่เป็นองค์การอิสระและองค์การ มหาชน เกิดขึ้น จำนวนไม่น้อย เช่น สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ฯลฯ เพื่อให้เห็นบทเรียนของการจัดตั้งหน่วยงานที่มีกฎหมายเฉพาะในระบบสุขภาพ
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้