4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ระบบบริการสุขภาพกึ่งเฉียบพลัน : ระบบที่(ถูกทำให้)ขาดหายไป

          ระบบที่ขาดหายไปคืออะไร...คำถามที่ว่าด้วยเรื่องพื้นที่สีเทา ช่องว่าง และรอยต่อต่างๆ ของระบบสุขภาพที่ถูกหยิบยกมาพูดคุยกันในเวทีวิชาการห้องย่อยของงาน HA Forum ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นโต้โผหลักในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองความเห็นจากผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบ ไม่ว่าจะเป็น พญ.วัชรา  ริ้วไพบูลย์ (สวรส.) นพ.ธีรวัฒน์  กรศิลป์และพญ.สุกัญญา  หังสพฤกษ์ (รพ.ระโนด) นพ.สิริชัย  นามทรรศนีย์ (รพ.กุฉินารายณ์) พญ.ลลิตยา  กองคำ (รพ.มหาราช) โดยมี พญ.ลัดดา  ดำริการเลิศ ผู้จัดการงานวิจัย สวรส. เป็นผู้ดำเนินรายการ

 


          จากแนวคิดเดิมๆ ที่มักจะมองว่างานฟื้นฟูควรเป็นงานที่อยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การฟื้นฟูเฉพาะในโรงพยาบาลไม่ได้ทำให้งานฟื้นฟูมีทิศทางที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ โดยขยายงานฟื้นฟูไปสู่ครอบครัวและชุมชน เพราะส่วนหนึ่งของผู้ป่วยที่หายไปจากระบบ เหตุมาจากข้อจำกัดต่างๆ เช่น การเดินทาง ฐานะทางเศรษฐกิจ สภาพจิตใจ คนดูแล ฯลฯ เพราะฉะนั้นระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลจะต้องเชื่อมต่อกับครอบครัวและชุมชน เพื่อให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่องและการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียมกัน ผ่านรูปแบบการทำงานในลักษณะของสหวิชาชีพที่มีการวางแผนร่วมกัน แลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อมูล มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ดังจะเห็นได้จากกรณีตัวอย่างของโรงพยาบาลกุฉินารายณ์ โรงพยาบาลระโนด และโรงพยาบาลมหาราช ที่มีการทำงานแบบสหวิชาชีพ เน้นการทำงานเชื่อมโยงกับบุคคลและหน่วยงานในพื้นที่ และการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้พบว่าผู้ป่วยในระบบได้รับการดูแลที่ดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่สะดวกมารับการบริการที่โรงพยาบาล

          จริงๆ แล้วระบบที่เรากำลังพูดกันอยู่ว่ามันขาดหายไป แท้จริงแล้วมันถูกทำให้ขาดหายไปหรือไม่ อาจเป็นคำถามที่ต้องช่วยกันคิด เพื่อช่วยกันอุดช่องโหว่ต่างๆ ที่ทำให้บางอย่างขาดหายไปจากระบบ โดยเฉพาะการเชื่อมรอยต่อต่างๆ ที่เกิดจากการแบ่งการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นหลายระดับให้มีช่องว่างน้อยที่สุด รวมทั้งควรมอบหมายงานให้ชัดเจนว่าบุคคลหรือหน่วยงานใดดูแลพื้นที่ใด เพื่อการประสานงานที่ชัดเจน เป็นระบบ และเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยมากที่สุด นอกจากนั้นการไหลของข้อมูลและการส่งต่อผู้ป่วยที่ผู้ให้บริการทุกระดับควร ส่งต่อข้อมูลไปมา เพื่อการรู้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของผู้เกี่ยวข้องทุกส่วน ทั้งนี้สุขภาพของคนในสังคมจะดีหรือไม่ อาจไม่ใช่เพราะระบบบริการเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมีเรื่องปัจเจกบุคล และสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นระบบบริการสุขภาพควรคำนึงถึงเรื่องสุขภาวะมากกว่าแค่เรื่องการให้ บริการสุขภาพเท่านั้น

          ที่ผ่านมาการดูแลรักษาผู้ป่วยมักมุ่งเน้นแค่เพียงการรักษาเยียวยาโรคหรือ ภาวะทางด้านร่างกายที่เกิดขึ้น แต่ภาวะอื่นๆ ในระยะยาว เช่น โรคเรื้อรัง ความเสื่อมของอวัยวะ ความพิการ ฯลฯ ยังค้างคาไม่สามารถเยียวยาได้ตามที่ควรจะเป็น ดังนั้นระบบบริการสุขภาพจึงควรให้ความสำคัญกับการเข้าถึงบริการ และการตอบสนองปัญหาความจำเป็นด้านสุขภาพที่หลากหลายมากขึ้นของคนทุกกลุ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยที่เข้ามาในระบบมีศักดิ์ศรี สามารถกลับไปมีสุขภาวะและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความหมาย ทั้งนี้การเติมเต็มระบบส่วนที่ขาดหายไป จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากการออกแบบระบบบริการที่ปฏิบัติการได้ จริงในพื้นที่ มาสังเคราะห์เป็นข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ในฐานะที่ สวรส. เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ จึงต้องพยายามผลักดันให้เกิดกระบวนการสร้างและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้อย่าง กว้างขวาง เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่ส่งผลให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนต่อไป

          อย่างไรก็ดี เชื่อว่าระบบบริการที่ขาดหายไป กำลังก่อร่างขึ้นมาในหลายๆพื้นที่ หากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมกันประสานเติมเต็มช่องว่างแต่ละจุดโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ทั้งที่เป็นการพัฒนาที่ยืดหยุ่นในพื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเพื่อความยั่งยืนในระดับนโยบาย ก็จะทำให้เราสามารถสร้างระบบบริการที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรมได้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้