4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

กินให้เป็น-ลดโรครักษาหัวใจ-ไม่อัมพาต

          โรคหัวใจ และอัมพาต เป็นหนึ่งในโรคร้ายที่พบบ่อย และคร่าชีวิตคนไทยใน อันดับต้นๆ ทั้งๆ ที่เป็นโรคที่เราหลีกเลี่ยงได้
          พญ.คุณสวรรยา เดชอุดม ประธานโครงการอาหารไทย หัวใจดี มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ บอกว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจพิบัติและอัมพาต ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนที่ป้องกันไม่ได้ ได้แก่ เพศ อายุ พันธุกรรม และส่วนที่เกิดจากการกระทำซ้ำๆ ที่เรียกว่า พฤติกรรม ซึ่งเป็นส่วนที่ป้องกันได้

          พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม นับเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจพิบัติและอัมพาต รวมถึงโรคร้ายต่างๆ ดังนั้นจึงต้องสร้างนิสัยใหม่
          แนวทางในการปรับพฤติกรรมเรื่องการกิน สำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูง อาหารที่ต้องลด คือ เกลือ ทั้งเกลือเค็ม และเครื่องปรุงรสหวาน เช่น ผงชูรสเพราะมีโซเดียม ลดน้ำตาล ผลไม้หวาน และของหวาน ลดมันที่เป็นไข เช่น เนยและเนื้อแดง และเนื้อสัตว์ติดมัน หอยนางรม เป็นต้น ส่วนอาหารที่ต้องเพิ่ม คือ ธัญชาติไม่ขัดขาว ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต ผักและผลไม้ไม่หวาน น้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดชา เนื้อปลา และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และอาหารจำพวกถั่ว

          ส่วนอาหารที่ต้องลดหรือหลีกเลี่ยง สำหรับคนที่มีไขมันในเลือดสูง คือ ลดมันที่เป็นไข เช่น เนยและเนยเทียม ลดอาหารทอด กินไข่แดงไม่เกินสัปดาห์ละ 3 ฟอง ลดเนื้อแดง และเนื้อสัตว์ติดมัน

          อาหารที่ต้องเพิ่มปริมาณ คือ น้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดชา อาหารนึ่งปิ้ง หรือย่าง ไข่ขาวได้ตามต้องการ เนื้อปลา และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาหารจำพวกถั่ว


          อาหารที่ต้องลดสำหรับคนที่มีน้ำตาลในเลือดสูง คือ ลดน้ำตาล ผลไม้หวาน และของหวาน มันที่เป็นไข เช่น เนยและเนยเทียม ลดอาหารที่ให้น้ำตาลสูงรวดเร็ว เช่น มันฝรั่งบด น้ำผลไม้แยกกาก ราดหน้า อาหารพวกน้ำแดง ขนมปังขาว ลดเนื้อแดง และเนื้อสัตว์ติดมัน หอยนางรม ปลาหมึก ส่วนอาหารที่ต้องเพิ่มปริมาณ คือ ผักและผลไม้ไม่หวาน น้ำมันพืช ธัญชาติไม่ขัดขาว เนื้อปลา และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน

          ที่สำคัญคือ หลักการกินแต่พอเพียง หากกินมากเกินไปก็จะอ้วน ที่อันตราย คือ อ้วนลงพุง เพราะไขมันเปลวในพุง มีผลต่อการตีบตันของหลอดเลือด ดังนั้นขนาดรอบเอวทำนายการเกิดโรคได้

          โรคร้ายอันตราย คือ หัวใจพิบัติ อัมพาต ไตพิการ ตาบอด เป็นต้น หรือดูได้จากการ วัดเส้นรอบพุง ให้วัดตรงบริเวณส่วนกลางระหว่างของชายโครง และกระดูกเชิงกราน เส้นรอบพุงชายไม่ควรเกิน 90 ซ.ม. หรือ 36 นิ้ว ส่วนเส้นรอบพุงหญิงไม่ควรเกิน 80 ซ.ม. หรือ 32 นิ้ว

          สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ควรปฏิบัติตัวดังนี้ ลดอาหารที่ให้พลังงานแคลอรีมากเกินต้องการ ลดน้ำตาล ผลไม้หวาน และของหวาน ลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน ส่วนอาหารที่ต้องเพิ่มปริมาณ คือ เพิ่มอาหารที่ให้พลังงานต่ำ มีใยอาหารมาก ได้แก่ ผักและผลไม้ที่ไม่หวาน น้ำมันพืช

          นอกจากการกินแต่พอเพียงแล้ว การออกกำลัง ก็ถือเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนด การกิน ถ้ากินเท่าใดใช้เท่านั้น ไม่มีอ้วน ไม่มีผอม ร่างกายสมส่วน สุขภาพดี
          ส่วนการกินเลี่ยงพิการ หมายถึงผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีระดับไขมันในเลือดสูง เป็นเบาหวาน อ้วนลงพุง ต้องรับการรักษาและกินยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ พร้อมๆ ไปกับการเลือกอาหาร หัดให้เป็นนิสัย
          สิ่งสำคัญคือ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดหรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และปรับอารมณ์ให้พ้นความเครียด เพื่ออยู่กับโรคได้อย่างมีคุณภาพ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หน้า 25

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้