ข่าว/ความเคลื่อนไหว
ในช่วงฤดูร้อนประชาชนส่วนใหญ่ นิยมกินน้ำใส่น้ำแข็งน้ำ ทั้งน้ำเปล่าและน้ำอัดลม รวมทั้งน้ำผลไม้ปั่น เพื่อคลายร้อนและดับกระหาย แต่ปัจจุบันพบว่ากระบวนการผลิตน้ำแข็ง ส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร เมื่อประชาชนบริโภคน้ำดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำแข็งที่ไม่สะอาด จะเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อจุลินทรีย์จนนำไปสู่การเกิดโรคอุจจาระร่วง โดยพบมากที่สุดในกลุ่มเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 5 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากภูมิต้านทานไม่ดี
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย บอกว่า จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2557 มีผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง จำนวน 14,000 ราย จาก 66 จังหวัด ไม่พบผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคืออายุ 1 ปี รองลงมาคือ อายุมากกว่า 65 ปี พบอัตราป่วยสูงสุดในภาคเหนือ รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนสถานการณ์โรคอหิวาตกโรคในปี 2555 พบว่า มีผู้ป่วยจำนวน 29 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยสูงสุดในภาคเหนือ รองลงมาคือ ภาคใต้ และภาคกลาง
มาตรการในการควบคุมมาตรการผลิตน้ำแข็งนั้น ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 78 (พ.ศ.2527) เรื่องน้ำแข็ง กำหนดให้ผู้ผลิตน้ำแข็ง นำน้ำที่สะอาดผ่านกระบวนการปรับปรุงน้ำดิบให้มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำบริโภคมาผลิต ต้องไม่มีสี กลิ่น ความขุ่น ค่าความเป็นกรดด่างรวมทั้งค่าทางเคมีต้องได้มาตรฐาน ขณะที่ผู้จำหน่ายน้ำแข็งต้องคำนึงถึงความสะอาดและปลอดภัย โดยเฉพาะการเก็บรักษาความเย็นและภาชนะสำหรับบรรจุน้ำแข็ง ห้ามใช้แกลบ ขี้เลื่อย กระสอบ กาบมะพร้าว เสื่อ ในการห่อหรือปกคลุมน้ำแข็งเด็ดขาด สถานที่เก็บรักษาน้ำแข็งเพื่อจำหน่ายหรือที่จำหน่ายน้ำแข็งต้องสะอาดและมีระดับสูงกว่าทางเดิน ภาชนะบรรจุที่ใช้บรรจุน้ำแข็งต้องสะอาดไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557 หน้า 15
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้