4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ไทยเข้าสู่สังคมวัยชราทั่วประเทศมีคนแก่7.3ล้าน

คน ไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นกว่า 7.3 ล้านคน คาดอีก 15 ปี อายุเกิน 60 ปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 โดยจะมีปัญหาตามมาในเรื่องโรคอ้วน ลงพุง ไขมัน โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เกิดความเสื่อมด้านการมองเห็น ได้ยิน การบดเคี้ยว ข้อ ภาวะสมอง และการหกล้ม

          นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการเสวนาเรื่อง "สูงแล้วเสื่อม ผู้สูงอายุไทยจะมีความสุขได้อย่างไร" ว่าปัจจุบันทั่วประเทศมีผู้สูงอายุ 7.3 ล้านคน และคาดว่าอีก 15 ปี หรือในปี 2568 สัดส่วนจำนวนผู้สูงอายุไทยอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็นร้อยละ 20 โดยจะพบผู้สูงอายุได้ 1 คนในประชากรไทยทุกๆ 5 คน ที่สำคัญขณะนี้มีผู้สูงอายุ 130,000 คนที่ยังขาดคนดูแล ทั้งนี้จะ มอบหมายให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เข้าไปให้ความรู้และนำผู้สูงอายุเข้ามาอยู่ในระบบส่งเสริมสุขภาพของ สธ. โดยเน้นให้ผู้สูงอายุดูแลตัวเองได้ในลักษณะ Home health care เพราะในโรงพยาบาลไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง

          ล่าสุดสำนักงาน สำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ทำการสำรวจสุขภาพผู้สูงอายุไทยครั้งที่ 4 ระหว่างปี 2551-2552 สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 30,000 คน ใน 21 จังหวัด โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มโรคเรื้อรัง กลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะ และโรคเกี่ยวกับด้านสุขภาพจิต โดยพบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะอ้วน อ้วนลงพุง และไขมัน โคเลสเตอรอลในเลือดสูง ทั้งนี้ จากการสำรวจในกลุ่มโรคเรื้อรัง พบผู้สูงอายุเกือบครึ่งมีความดันโลหิตสูงกว่าปรกติ และมีเพียงร้อยละ 3 รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ในจำนวนนี้ร้อยละ 55 ได้รับการดูแลรักษา

          นางพรรณสิริกล่าวอีกว่า ส่วนกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะ 6 ปัญหา ได้แก่ ต้อกระจก การได้ยิน การบดเคี้ยว ข้อเสื่อม ภาวะสมองเสื่อม และการหกล้ม มีตัวเลขที่น่าตกใจคือพบผู้สูงอายุไทยเป็นโรคข้อเสื่อมค่อนข้างสูงเฉลี่ย ร้อยละ 19 หรือประมาณ 1,400,000 กว่าคน ซึ่ง โรคนี้จะมีอาการปวดข้อ ข้อบวมเรื้อรัง ส่วนภาวะสมองเสื่อมพบร้อยละ 12 หรือประมาณ 880,000 คน พบมากในเขตชนบท โดยจำนวนนี้พบเป็นผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวถึง 69,000 คน ขณะที่ปัญหาสายตาพบเป็นต้อกระจกร้อยละ 21 ในด้านการบดเคี้ยวพบว่า ชายและหญิงร้อยละ 53 เหลือฟันในปากน้อยกว่า 20 ซี่ โดย 1 ใน 5 ใส่ฟันปลอมมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุใน กทม. ต่ำสุดคือภาคอีสาน

          สำหรับผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการหกล้มมาก พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 18 เคยหกล้มใน 6 เดือนที่ผ่านมา เฉลี่ยผู้สูงอายุเคยหกล้มคนละ 2 ครั้ง โดยผู้สูงอายุชายส่วนใหญ่หกล้มนอกบ้าน ผู้สูงอายุหญิงหกล้มภายในบริเวณบ้านมากกว่า สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากพื้นลื่นร้อยละ 42 รองลงมาคือ สะดุดสิ่งกีดขวางร้อยละ 35 และพื้นต่างระดับร้อยละ 25 ส่วนโรคเกี่ยวกับสุขภาพจิตพบมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 5


ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้ ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 หน้า 4A
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้