4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

เร่งงานวิจัย เน้นสร้างเสริมสุขภาพควบคู่การกระจายอำนาจด้านสุขภาพของ อปท.

          เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา โครงการ ศึกษาบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานวิจัยและพัฒนาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ  สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้จัดประชุมหารือการพัฒนา คู่มือบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพและทางเลือก รูปแบบการกระจายอำนาจการจัดบริการสุขภาพที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี โดยมีนักวิชาการที่สนใจเข้าร่วมประชุมหารือ รวมทั้งผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

          นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการ สวรส. ประธานการประชุมกล่าวว่า การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าการรักษาพยาบาล คู่มือที่เกิดขึ้นต้องมาจากฐานความคิดว่าท้องถิ่นต้องการอะไร เพื่อหาแนวคิดร่วมที่จะดำเนินความต้องการของรัฐและท้องถิ่นไปในแนวทาง เดียวกัน ต้องเน้นว่าสถานการณ์ขณะนี้เป็นอย่างไร มีคู่มือเป็นแนวทางในแต่ละเรื่อง และทำแต่ละเรื่องอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนหาช่องว่างเติมเต็ม เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายในที่สุด

          ด้าน ทพญ.ดร.ศิริวรรณ  พิทยรังสฤษฎ์ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) หัวหน้าโครงการศึกษาฯ กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องแนวคิดและ รูปแบบการกระจายอำนาจด้านบริการสุขภาพ ปัญหาทางด้านสุขภาพในปัจจุบันมีมากขึ้นจากเดิม ยิ่งการพัฒนาทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีมากขึ้นเท่าใดปัญหาสุขภาพรูปแบบใหม่ก็ยิ่งเพิ่ม มากขึ้นจนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยกระบวนการทางการแพทย์ที่มีอยู่ได้ทั้งหมด การสร้างเสริมสุขภาพเป็นยุทธวิธีที่จะแก้ปัญหาในเชิงรุกได้อีกทางหนึ่ง

          นับว่าการประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือที่ดีจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และอีกหลากหลายภาคีที่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม ซึ่งทุกคนต่างให้ความสำคัญกับคู่มือหรือแนวทางบทบาทของ อปท. แต่ละระดับในการสร้างเสริมสุขภาพที่ผู้วิจัยร่างขึ้น ตลอดจนได้ให้ความเห็นที่สำคัญ แลกเปลี่ยนบทเรียนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทีมวิจัยได้นำความเห็นไปพัฒนาคู่มือเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้าง เจตคติและวิธีปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและชุมชนต่อไป

          สำหรับทางเลือกในการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นด้านการจัดบริการสุขภาพ คณะผู้วิจัยได้มีแนวทาง ห้าแพร่ง หรือ ห้ารูปแบบการกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่ท้องถิ่น ดังนี้

1.    ถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ อบต. หรือเทศบาลตำบล (ถ่ายโอนแบบแยกส่วน)
2.    ถ่ายโอนสถานบริการปฐมภูมิในจังหวัดให้ อบจ.
3.    ถ่ายโอนสถานพยาบาลทั้งปฐมภูมิและโรงพยาบาล ไปสู่ อบจ.
4.    มอบอำนาจให้องค์กรมหาชนบริหารพวงสถานพยาบาลแต่ละระดับ
5.    รูปแบบอื่นๆ

          โดยแต่ละรูปแบบต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป นักวิชาการรวมทั้งตัวแทนจากพื้นที่ต่างให้คำเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการ ทำงานของทีมวิจัย ทั้งนี้เรื่องการกระจายอำนาจเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกับ หลายฝ่าย หลายบุคคล ดังนั้นจึงต้องใช้องค์ความรู้รอบด้านเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจว่า ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องการกระจายอำนาจในรูปแบบใด

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้