4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ใช้จักรยานเพื่อการเดินทางโอกาสอยู่แค่เอื้อมหากทำจริง

          เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย จัดงานประชุมวิชาการ การส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2 : การเดินและจักรยาน ปฏิบัติได้ ปฏิบัติจริง ในบริบทไทย
          เป้าหมายไม่ใช่เพียงปลุกกระแสรณรงค์ให้คนไทย หันมาเดิน และปั่นจักรยานเท่านั้น แต่ตอนนี้หลายๆ คน ต่างให้ความสำคัญ และ พร้อมที่จะร่วมกันส่งเสริมให้การเดิน การใช้จักรยานกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และสามารถปฏิบัติได้จริงในเมืองไทย
          ความฝันจะเป็นไปได้หรือไม่ คงต้องอยู่ที่ความตั้งใจจริง เพราะปัจจัยที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จนั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบมากมาย ทั้งด้านการจัดการวิศวกรรมและผังเมือง และ การปลูกฝังค่านิยมให้เกิดขึ้นในจิตวิญญาณของคนไทยส่วนใหญ่

          ความสำคัญในด้านการจัดการทางวิศวกรรมและผังเมือง ถือเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้ทางเดินและปั่นจักรยานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลไปถึงค่านิยมให้คนในพื้นที่เกิดความสนใจที่จะปฏิบัติมากขึ้น จนกลายเป็นปัจจัยหลักที่ทุกคนต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

          คุณเพ็ญนภา สุขบุญพันธ์ นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า การพัฒนาระบบจักรยานเลียบคลองในเมือง เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะส่งเสริมให้คนเมืองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง เช่น ทางเดินและทางจักรยานเลียบคลองแสนแสบ โดยปัจจุบันยังมีผู้ใช้เส้นทางนี้แต่ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะใช้เดินทางระยะสั้น ออกกำลังกายและจัดกิจกรรมนันทนาการเท่านั้น เนื่องจากเส้นทางไม่ต่อเนื่อง มีทางต่างระดับ เส้นทางชำรุด และบางจุดผู้พักอาศัยริมคลอง จะวางของกีดขวางเส้นทาง ทำให้ไม่สะดวกในการเดินทาง ซึ่งจากการสอบถาม พบว่า ประชาชนต้องการที่จอดจักรยานในที่ปลอดภัยบริเวณท่าเรือมากที่สุด ถัดมาคือ ไฟส่องสว่าง และความปลอดภัยในการสัญจรไปมา

          ผศ.ดร.สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้นำเสนองานวิจัย อิทธิพลของปัจจัยแฝงต่อความตั้งใจใช้จักรยานของชุมชนเมืองชายทะเล ว่า ในสมัยก่อน นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา นิยมใช้จักรยานเดินทางไปเรียนหนังสือ แต่เมื่อเวลา ผ่านไปปัจจัยทางกายภาพ ทั้งด้านอากาศ ทัศนคติ และ ค่านิยมที่เปลี่ยนไป ทำให้ปัจจุบันนิสิตใช้รถจักรยานยนต์มากขึ้นถึงร้อยละ 90
          "เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยบูรพาต้องการให้นิสิตหันมาใช้จักรยานกันอย่างจริงจัง จึงได้มีการสำรวจถนนสายหลักของเทศบาลเมืองแสนสุขทั้ง 21 สาย เพื่อสร้างแรงจูงใจ และ พัฒนาให้เป็นถนนสำหรับการขับขี่จักรยาน พบว่า สามารถพัฒนาให้เป็นเส้นทางจักรยานได้อย่างดี และบางเส้นใช้สัญจรได้จริงในปัจจุบัน อีกทั้งที่นี่เป็นเมืองชายทะเล จึงเหมาะสมที่จะเป็นตัวเลือกและแนวทางใหม่ๆ ให้นิสิตและประชาชนทั่วไป ได้เป็นอย่างดีในการใช้จักรยานเป็นพาหนะในการเดินทาง นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้นี้ทางมหาวิทยาลัยบูรพาจะนำจักรยานเก่าที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย มาซ่อมและให้นิสิตนำมาใช้ในมหาวิทยาลัยโดยไปไม่ต้องซื้ออีกด้วย" อาจารย์สุรเมศวร์ กล่าว
          ไม่ว่าจะมองในรูปแบบของการเดินเพื่อการสัญจรในชีวิตประจำวัน หรือการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว หากโครงสร้างและผังเมืองสามารถเอื้ออำนวย ต่อทางเดินด้วยจักรยานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกไม่นานนัก การเดินและปั่นคงเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของสังคมไทยเป็นแน่

ปานมณี

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557 หน้า 21
      

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้