4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ความเท่าเทียมในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว

Teaser: 
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ข้อ 53 (2) ระบุว่า ให้ส่งเสริมการแพทย์ทุกระบบอย่างเท่าเทียมกันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของระบบสุขภาพ และให้สิทธิ์ประชาชนไว้ใน (3)ว่า "ให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกใช้และเข้าถึงการแพทย์ระบบต่างๆ อย่างเท่าเทียมเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว" ทั้งนี้ต้องมีความสอดคล้องกับวิถีชุมชน วัฒนธรรมจารีตประเพณีความเชื่อและศาสนาและนำไปสู่การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ตามข้อกำหนดใน(1) เพื่อให้เกิดการส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน สุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หมวด 5 มาตรา 46(7)

Download แผนยุทธศาสตร์ของ สสว. ได้จากที่นี่

          ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ข้อ 53 (2) ระบุว่า ให้ส่งเสริมการแพทย์ทุกระบบอย่างเท่าเทียมกันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของระบบสุขภาพ และให้สิทธิ์ประชาชนไว้ใน (3)ว่า
"ให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกใช้และเข้าถึงการแพทย์ระบบต่างๆ อย่างเท่าเทียมเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว" ทั้งนี้ต้องมีความสอดคล้องกับวิถีชุมชน วัฒนธรรมจารีตประเพณีความเชื่อและศาสนาและนำไปสู่การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ตามข้อกำหนดใน(1) เพื่อให้เกิดการส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน สุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หมวด 5 มาตรา 46(7)

         ในด้านการส่งเสริมสนับสนุนการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆมีปรากฎให้เห็นทั้งก่อนและหลังการมีธรรมนูญว่าด้วย ระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับนี้ มีทั้งการส่งเสริม การพัฒนาอย่างชัดเจนในระบบบริการสุขภาพของภาครัฐกับการแพทย์แผนไทย ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์แผนไทยอย่างเดียวหรือการแพทย์แผนไทยประยุกต์ จนประชาชนสามารถเข้าถึงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วยกองทุนการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแต่ก็ยังคงจำกัดอยู่ในระเบียบ กฎเกณฑ์ ที่คณะกรรมการกำหนด ส่วนการแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ที่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการดูแลสุขภาพในระดับปัจเจก ครอบครัวและชุมชน ก็มีความพยามยามที่จะศึกษาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาต่อยอดโดยหน่วยงานภาครัฐ แต่ยังไม่เห็นความชัดเจนว่าเมื่อได้องค์ความรู้มาแล้วจะดำเนินการให้ประชาชน มีสิทธิ์เลือกใช้และเข้าถึงอย่างเท่าเทียมเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองและ ครอบครัว สอดคล้องกับวิถีชุมชน วัฒนธรรมจารีตประเพณีความเชื่อและศาสนาและนำไปสู่การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ตามที่ธรรมนูญกำหนดอย่างไร ที่พอจะเห็นได้บ้างก็จากการเคลื่อนนโยบายสาธารณะในมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 มติ 7 ว่า จะ
พัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ให้เป็นระบบบริการสุขภาพหลักของประเทศคู่ขนานกับการแพทย์แผนปัจจุบัน มีการระบุถึงการแพทย์พื้นบ้านไว้ในข้อต้นๆ เรื่องการสร้างกลไกระดับจังหวัด เพื่อส่งเสริมสนับสนุน การมีส่วนร่วมของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาการแพทย์พื้นบ้าน การสนับเครือข่ายหมอพื้บ้าน ส่วนเรื่องการแพทย์ทางเลือกยังมีการพูดถึงกันน้อยมากในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

          แม้จะมีความพยายามที่จะส่งเสริมพัฒนา แต่ก็ยังไม่เห็นรูปธรรมว่า ระบบการแพทย์พื้นบ้านจะได้รับการส่งเสริมอย่างเท่าเทียมเพื่อเสริมสร้างความ เข้มแข็งของระบบสุขภาพได้อย่างไร เช่นเดียวกับการแพทย์ทางเลือกที่ประชาชนมีการใช้อยู่ในวิถีชุมชน ที่ไม่เกี่ยวกับศาสตร์การแพทย์ทางเลือกที่ต้องอาศัยนักวิชาชีพ แต่เป็นการใช้เพื่อดูแลกันเองในกลุ่มต่างๆ เช่นกลุ่มมะเร็ง กลุ่มเอดส์ กลุ่มผู้ปกครองเด็กออทิสติก เหล่านี้จะได้รับความเท่าเทียมในการใช้และเข้าถึงได้อย่างไร จะต้องมีมาตรฐาน ขอบเขตอะไรแค่ไหน ทิศทางการส่งเสริมสนับสนุนจะเป็นอย่างไร ใครจะเป็นผู้ที่ต้องมาดูแลหรือตอบคำถามเหล่านี้ และทำอย่างไรจึงจะเชื่อมร้อยความรู้สู่นโยบายและนำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่าง เท่าเทียม สอดคล้องกับวิถีชุมชน วัฒนธรรมจารีตประเพณีความเชื่อและศาสนาและนำไปสู่การพึ่งตนเองด้านสุขภาพของ ประชาชนและประเทศได้อย่างเป็นจริง

 

ดารณี อ่อนชมจันทร์
ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพวิถีไทย

Download แผนยุทธศาสตร์ของ สสว. ได้จากที่นี่
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้