ข่าว/ความเคลื่อนไหว
ในช่วงปี 2553 ผมมีโอกาสได้เดินทางไปเยือนประเทศอินโดนีเซียหลายครั้ง แต่ละครั้งด้วยภารกิจที่แตกต่างกัน ครั้งหลังสุดคือเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นับเป็นโชคดีของผมที่ได้มีโอกาสเรียนรู้วงการสาธารณสุขของประเทศนี้ในแง่มุม ที่แตกต่างกัน
ผมเดินทางไปอินโดนีเซียครั้งหลังสุดนี้ เพื่อไปเข้าร่วมการประชุมประจำปีของ AAAH (Asia Pacific Action Alliance on Human Resources for Health) ครั้งที่ 5 ในหัวข้อเรื่อง “HRH Challenges for Achieving MDG“ (Link) โดยผมต้องเป็นผู้ดำเนินการประชุม (moderator) ในช่วงเช้าวันแรกของการประชุม แต่ที่น่าสนใจมากกว่าการประชุมคือ การศึกษาดูงานในช่วงบ่ายวันแรกที่เจ้าภาพจัดเตรียมไว้หลายแห่ง ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเลือกไปดูงานได้ตามสมัครใจ
ผมเลือกไปดูงานที่ Tabanan Hospital ซึ่งเขาแจ้งว่าเป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ (public autonomous hospital) คล้ายๆ กับโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
ของบ้านเรา โดยที่นี่เขาจัดให้มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้วย โรงพยาบาล Tabanan ตั้งมานานเกือบ 50 ปี เป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง มีเจ้าหน้าที่รวม 700 คน จำนวนนี้เป็นแพทย์ทั่วไป 25 คน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 31 คน ทันตแพทย์ 4 คนและพยาบาล 277 คน มีผู้ป่วยนอกเฉลี่ยวันละ 500 คน และอัตราครองเตียงประมาณ 95% โรงพยาบาลนี้ออกนอกระบบในปี 2002 โดยทรัพย์สินทั้งหมดเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ผู้บริหารมีอิสระที่จะบริหารโรงพยาบาล เนื่องจากโรงพยาบาลตั้งมาเป็นเวลานาน สภาพโครงสร้างจึงค่อนข้างเก่า แต่เขาก็ดูแลเป็นอย่างดี โรงพยาบาลสะอาดสะอ้าน และไม่มีกลิ่นของน้ำยาฆ่าเชื้อที่เรามักจะรู้สึกได้เมื่อเดินเข้าโรงพยาบาล ทั่วๆ ไป นอกจากนี้เขายังอนุรักษ์ส่วนที่สะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นไว้ได้ อย่างกลมกลืนด้วย
ผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาล ร้อยละ 34 ที่ไม่มีประกันสุขภาพใดๆ และสร้างรายได้เกือบร้อยละ 60% ของรายได้ทั้งหมด ข้อมูลนี้ดูค่อนข้างขัดแย้งกับข้อมูลของฝ่ายสาธารณสุขในพื้นที่ที่บอกว่า ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยรัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้สำหรับคนที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ใดๆ (เขาเรียกว่า JKBM: Jaminan Kesebatan Bali Mandawa) ในอัตรา 6,572 รูปี/คน/เดือน (ประมาณ 20 บาท) อาจเป็นเพราะว่า JKBM มีการจำกัดสิทธิในการรักษาพยาบาลค่อนข้างมาก เช่น ไม่รวมการรักษากรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถ การพยายามฆ่าตัวตาย การตรวจสุขภาพ การแพทย์ทางเลือก การผ่าตัดหัวใจ การทำฟันปลอม ฯลฯ ซึ่งบางอย่างก็คล้ายๆ กับบ้านเราในช่วงแรก
ผู้บริหารโรงพยาบาลและทีมงานนำเสนอผลงานด้วยความภาคภูมิใจ โดยเขาตั้งเป้า (VISION) ว่าจะทำให้โรงพยาบาลเป็น International hospital ได้ภายในปีนี้ (2010) มีการนำเสนอยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลโดยใช้ Balanced scorecard (BSC) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ฮิตติดตลาดที่อินโดนีเซียเหมือนกัน ผมพยายามพูดคุยซักถามกับแพทย์ที่นั่นว่า การเป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐของเขามันดีอย่างไรเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลของ รัฐโดยทั่วไป เขาบอกว่าโรงพยาบาลของเขามีอิสระทางการเงิน (financial autonomy) รายได้ของโรงพยาบาลไม่ต้องส่งคืนคลัง สามารถนำมาบริหารเองได้ สามารถกำหนดอัตราเงินเดือนบุคลากรเองได้ แต่อัตราปัจจุบันยังไม่สามารถเทียบเคียงกับอัตราจ้างของภาคเอกชนได้ ผมพยายามสอบถามถึงระบบบริหารอื่นๆ เช่น มีคณะกรรมการบริหารเหมือนโรงพยาบาลบ้านแพ้วหรือไม่ ฯลฯ แต่รู้สึกว่าจะสื่อสารกันไม่ค่อยเข้าใจ จึงไม่ได้รายละเอียดในส่วนอื่นๆ มา
โดย สรุป การปฏิรูปโรงพยาบาลของรัฐให้เป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐนั้น เป็นแนวโน้มที่หลายๆ ประเทศกำลังดำเนินการ ประเทศไทยมีดำเนินการแห่งเดียวคือ ที่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ซึ่งปัจจุบันดำเนินงานมาได้ครบ 10 ปี สวรส. กำลังให้ทีมนักวิชาการประเมินผลรูปแบบโรงพยาบาลบ้านแพ้ว เพื่อพิจารณาเป็นทางเลือกการปฏิรูปโรงพยาบาลของรัฐในโอกาสต่อไป
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้