4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

มองอินโดแล้วย้อนมองไทย

Teaser: 
หลายเดือนก่อนหน้านี้ ผมได้รับการติดต่อจากอาจารย์ท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (University of Indonesia) เพื่อไปร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศ ไทยกับผู้บริหารระดับสูงของอินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคม 2553 เพราะประเทศอินโดนีเซียมีกฎหมาย (National Social Security Law)

          หลายเดือนก่อนหน้านี้ ผมได้รับการติดต่อจากอาจารย์ท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (University of Indonesia) เพื่อไปร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศ ไทยกับผู้บริหารระดับสูงของอินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคม 2553 เพราะประเทศอินโดนีเซียมีกฎหมาย (National Social Security Law) ที่ใช้บังคับในปี 2004 ที่กำหนดเป้าหมายให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2014 หรืออีก 4 ปีต่อจากนี้ไป เขาอยากเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศไทยว่า เราทำอย่างไรจนประสบความสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น

           ผมรับปากว่าจะเดินทางไปร่วมแลกเปลี่ยนด้วย เพราะขณะนั้นยังไม่มีสัญญาณบ่งบอกว่าจะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในประเทศ ไทย แต่พอเหตุการณ์ประท้วงขึ้นในเดือนมีนาคม 2553และต่อเนื่องเรื่อยมา จนไม่มีทีท่าว่าจะยุติเมื่อไร ผมก็แจ้งไปว่าผมอาจจะเดินทางไปร่วมประชุมด้วยไม่ได้เพราะเหตุผลความไม่สงบ ทางการเมือง ทางเขาก็ตอบกลับมาว่า เขาเข้าใจและการเมืองบ้านเขาก็มีลักษณะไม่แตกต่างจากประเทศไทย ผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเมือง จึงไม่อาจเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งว่า ประเทศอินโดนีเซียกับเราเหมือนกันอย่างไรในแง่พัฒนาการทางการเมือง โดยสรุปการขอคืนพื้นที่ในวันที่ 19 พ.ค. 2553 โดยมีผลแทรกซ้อนอย่างที่เห็น ทำให้ผมสามารถเดินทางไปร่วมประชุมที่ประเทศ อินโดนีเซียในระหว่างวันที่ 26-28 พ.ค. 2553 ได้

           ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรทั้งประเทศประมาณ 230 ล้านคน ปัจจุบันมีระบบประกันสุขภาพหลายระบบครอบคลุมประชากรประมาณร้อยละ 46 (เพิ่มขึ้นจากปี 2004 ซึ่งมีหลักประกันสุขภาพครอบคลุมเพียงร้อยละ 10-15) ระบบประกันสุขภาพที่ครอบคลุมประชากรมากที่สุด (ประมาณ 76 ล้านคน) คือ ระบบประกันสุขภาพสำหรับคนจน  (Jamkesmas) เมื่อคิดถึงความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพที่มีปัจจุบันที่มีไม่ถึงร้อยละ 50 กับเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในอีก 4 ปี ผมต้องบอกว่า มันเป็นงานที่ท้าทายมากเลยครับ

          ผมได้ร่วมประชุมและพบปะกับผู้คนต่างๆ ในวงการสุขภาพของอินโดนีเซีย ในช่วงเวลาสั้นๆ คือ 2 วัน ได้เรียนรู้และมีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของประเทศไทยดังนี้ครับ

  1. ทุกภาคส่วนในประเทศอินโดนีเซีย มีความกระตือรือร้นที่จะผลักดันให้ประเทศมีหลักประกันสุขภาพตามเป้าหมาย แตกต่างจากประเทศไทยที่ในระยะแรก ประเด็นนโยบายนี้ยังไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควร มีหลายฝ่ายคัดค้าน โดยเห็นว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย

  2. กลุ่มองค์กรวิชาชีพ โดยเฉพาะสมาคมแพทย์ (Medical Association ซึ่งในประเทศอินโดนีเซียเรียกย่อๆ ว่า ED) ให้การสนับสนุนนโยบายนี้อย่างเต็มที่ และเห็นว่ารัฐบาลมีความล่าช้าในการดำเนินการตามกฎหมาย

  3. ประเทศไทยเราเริ่มดำเนินการสร้างหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2544 ขณะที่ยังไม่มีกฎหมาย (พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกาศใช้บังคับเดือนพฤศจิกายน 2545) ขณะนี้ประเทศอินโดนีเซียมีกฎหมายแล้ว แต่ยังละล้าละลังที่จะดำเนินการเพราะไม่แน่ใจว่าควรจะใช้รูปแบบใด

  4. ประเด็นความเห็นแตกต่างในเรื่องรูป แบบของระบบหลักประกันสุขภาพ ได้แก่ ควรจะเป็นกองทุนประกันสุขภาพเดียวหรือหลายกองทุน ควรมีการร่วมจ่ายหรือไม่ หน่วยบริหารกองทุนควรเป็นหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรอิสระ จะจ่ายเงินผู้ให้บริการอย่างไร ฯลฯ โดยนักวิชาการที่เห็นแตกต่างกันก็จะแยกเป็นค่ายๆ ไม่ค่อยประสานงานกัน จะเห็นว่าประเด็นต่างๆ เหล่านี้ก็เคยถกเถียงกันมากในประเทศไทยเช่นกัน

  5. ระบบควรมีความพร้อมแค่ไหนจึงจะเริ่ม ดำเนินการ ตรงนี้บางทีก็เป็นประเด็นปัญหา “ไก่กับไข่ (chicken and egg)” อะไรมาก่อนกันครับ ผมได้ยกตัวอย่างว่า เราเริ่มดำเนินการระบบ DRG (Diagnostic Related Group) เมื่อระบบข้อมูลมีเฉพาะข้อมูลของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ แต่หลังจากดำเนินการโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน โรงพยาบาลต่างๆ ทยอยส่งข้อมูลเข้ามาเรื่อยๆ โดยมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันระบบข้อมูลผู้ป่วยในของเราจึงมีความพร้อมมากขึ้นในการพัฒนาระบบ DRG ให้เป็นเครื่องมือในการจ่ายเงินผู้ให้บริการที่มีประสิทธิภาพ โดยสรุปคือ บางเรื่องต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กับการพัฒนา เพราะไม่มีทางพัฒนาให้แล้วเสร็จแล้วจึงดำเนินการ

  6. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกำลังคน และระบบ (system capacity building) อย่างต่อเนื่อง มีความจำเป็นและเป็นจุดชี้ขาดความสำเร็จในการผลักดันหรือดำเนินการนโยบายใดๆ

โดยสรุปประเทศไทยได้รับคำชื่นชมอย่างมาก ในความสำเร็จในการพัฒนาระบบสุขภาพ ไม่รู้ว่าเมื่อไร ระบบการเมืองของเราจะได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับกันได้เช่นกัน

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข
3 มิถุนายน 2553
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้