4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

กรมอุทยานฯระวังเข้มโรคอุบัติใหม่เตือน'เปิบพิสดาร'เสี่ยงติดเชื้อสู่คน

           นายนิพนธ์ โชติบาล รองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า จากสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในปัจจุบัน ซึ่งแม้จะไม่พบการระบาดในประเทศไทยมาตั้งแต่ ปี 2551 แต่สำหรับประเทศเพื่อนบ้าน องค์การอนามัยโรค ได้ยืนยันการพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H 7 N 9 ซึ่งกลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ H5 N1 จำนวน 238 ราย เสียชีวิต 52 ศพ ในไต้หวัน ฮ่องกง และจีน นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบการกลายพันธุ์เป็นเชื้อ H10N8 ที่มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจขึ้นเพื่อป้องกันและควบคุมโรคอุบัติใหม่ ในสัตว์ธรรมชาติ โดยมีนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจ

          นายธีรภัทร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตวป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่าจากปัญหาการอพยพข้ามถิ่นของสัตว์ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการลักลอบค้าสัตว์ป่า การนำสัตว์ต่างถิ่นหรือสัตว์แปลกหายากมาเลี้ยง การขนส่งสัตว์ ล้วนมีความเสี่ยงต่อการนำโรคอุบัติใหม่ให้แพร่ระบาดออกไปได้ และที่สำคัญในกลุ่มประชาชนที่นิยมการ "เปิบพิสดาร" อาจมีโอกาสติดเชื้อจากสัตว์สู่คนได้ง่าย นอกจากนี้ยังเฝ้าระวังโรคไวรัสไข้สมองอักเสบ ซึ่งมีค้างคาวเป็นพาหะโรคระบาดจากเชื้อราไคทริดในสัตว์ประเภทสะเทินบกสะเทินน้ำ เช่น กบ หรือแม้กระทั่งกรณีล่าสุด คือ การเสียชีวิตของกระทิงจำนวนมากในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจากการตรวจสอบพบเชื้อคอสตริเดียม โนวิไอ ที่สามารถทำให้สัตว์ตายแบบเฉียบพลันได้ แต่ในประเทศไทยไม่เคยมีรายงานการพบโรคนี้มาก่อน จึงต้องมีการศึกษาต่อไปว่าเชื้อดังกล่าว เป็นสาเหตุที่ทำให้กระทิงตายได้หรือไม่ เพื่อทำการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกทิศทางต่อไป


          "โรคอุบัติใหม่ แตกต่างไปจากโรคที่มีอยู่เดิม เราต้องมาเรียนรู้ใหม่เกี่ยวกับโรคเหล่านี้ โดยเฉพาะแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหา ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติฯ ตระหนักดีถึงเรื่องดังกล่าว จึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการเพื่อให้เกิดการตรียมการเพื่อเฝ้าระวัง ซึ่งเราก็ไม่ได้ทำงานแค่ในประเทศไทยประเทศเดียว แต่ยังทำงานร่วมกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยมีโครงการร่วมกัน คือ โครงการสุขภาพที่เป็นหนึ่งเดียว เพราะหากเกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมในบ้านเมือง"

          "อย่างไรก็ตาม อยากขอฝากเตือนไปยังประชาชน เมื่อเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ ขอให้มีความระมัดระวังอย่าเข้าใกล้สัตว์หรือสัตว์ป่ามากเกินไป และไม่ควรเข้าไปสัมผัสโดยไม่จำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่อาจอยู่ในตัวสัตว์มาสู่ตัวเราได้ และหากพบเห็นการเสียชีวิตหรืออาการผิดปกติของสัตว์ต่าง ๆ ขอให้ โทรฯแจ้งสายด่วนกรมอุทยานแห่งชาติฯ หมายเลข 1362 เพื่อส่งเจ้าหน้าที่เข้า ไปตรวจสอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง" นาย ธีรภัทร กล่าวในที่สุด.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557 หน้า 28

AttachmentSize
4มี.ค.57_เดลินิวส์_กรมอุทยานระวังเข้มโรคอุบัติใหม่สี่ยงติดเชื้อสู่คน.pdf707.9 KB
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้