ข่าว/ความเคลื่อนไหว
ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา เพียงแต่ว่าแต่ละคนอาจมองความสุขต่างกัน และมีวิธีการแสวงหาความสุขที่แตกต่างกันออกไป
ถ้าทบทวนดูให้ดี สิ่งต่างๆ ที่คนเราทำกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อให้ชีวิตของตนมีความสุข นโยบายต่างๆ ที่ชุมชนหรือประเทศจัดทำขึ้น เพื่อให้คนมีความสุข ความสุขจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และประเทศ
บัญญัติสุข 10 ประการนี้ พัฒนาขึ้นจากผลการวิจัยเรื่องความสุขคนไทย งานวิจัยความสุขจากต่างประเทศ และข้อคิดของปราชญ์ชาวบ้าน
แต่ละบัญญัติมีประโยชน์ในการเติมสุขในแง่มุมที่แตกต่างกัน ท่านจึงอาจเลือกปฏิบัติตามบัญญัติที่รู้สึกว่าเหมาะกับตัวเอง หรือเลือกบัญญัติที่ตนไม่คุ้นเคย เพื่อเรียนรู้วิธีเติมสุขในรูปแบบใหม่ๆ
เติมสุขด้วยการเพิ่มความรู้สึกที่ดี
1.ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ประโยชน์ของการออกกำลังกายมีมากมาย อาทิ เพิ่มความสามารถในการทำงานของสมอง ร่างกาย ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบภูมิคุ้มกัน การนอนหลับ สมรรถภาพทางเพศ ความทรงจำ ความคิดสร้างสรรค์ สมาธิ การตัดสินใจ เพิ่มทักษะทางสังคม ลดความวิตกกังวลและซึมเศร้า
เคล็ดลับสำคัญที่จะช่วยให้ออกกำลังกายเป็นประจำได้
1.อย่ารอจนกว่าจะพร้อม ทำได้แค่ไหนให้ทำแค่นั้น เริ่มต้นด้วยการเดินเร็ว เพียงวันละไม่กี่นาที
2.เลือกกิจกรรมที่รู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน หลากหลาย
3.เข้าร่วมกลุ่ม ชวนกันทำเป็นประจำ
4.เพิ่มการเคลื่อนไหวทุกครั้งที่มีโอกาส
5.เลือกวิธีที่เหมาะกับสภาพร่างกาย อย่าออกกำลังกายเกินตัว
2.ค้นหาจุดแข็ง ความถนัดและศักยภาพ พัฒนาจนเป็นความสำเร็จ
การค้นหาจุดแข็ง ความถนัด และศักยภาพ เป็นภารกิจสำคัญของชีวิต ที่จะช่วยเรานำสิ่งที่ดีที่สุดภายในตัวเราออกมาใช้ประโยชน์ พัฒนาเป็นความสำเร็จที่ภาคภูมิใจ ไม่ว่าเราจะมีอายุเท่าใดก็ตาม การค้นหาตัวเอง ค้นหาจุดแข็ง ความถนัด และศักยภาพ ยังคงเป็นภารกิจสำคัญที่ควรจะกระทำ เราทำได้โดย
1.หมั่นสังเกตตัวเอง ทบทวนดูว่าตนทำอะไรได้ดี เรียนรู้อะไรได้รวดเร็ว
2.สอบถามจากคนที่รู้จักเราดี
3.ทำแบบทดสอบเพื่อประเมินตัวเอง เติมสุขด้วยการลดความรู้สึกไม่ดี
4.ฝึกหายใจคลายเครียด และทักษะผ่อนคลายอื่นๆ (เช่น โยคะ ไท้เก๊ก)
การฝึกหายใจ
1.หายใจสบายๆ ไม่ต้องตั้งใจมาก
2.หายใจออกให้ยาวกว่าหายใจเข้า อาจใช้การนับเลขช่วยกำหนดจังหวะ โดยหายใจเข้า นับในใจ 1-2-3-4 กลั้นหายใจไว้ นับ 1-2 หายใจออก นับ 1-2-3-4-5-6
3.ขณะหายใจออกยาว ให้วางความรู้สึกไว้ที่ท้อง รับรู้ความรู้สึกเคลื่อนไหวของช่องท้อง (หายใจเข้า-ท้องพองออก หายใจออก-ท้องแฟบลง) อาจใช้ฝ่ามือวางบริเวณเหนือสะดือ กดเบาๆ ขณะหายใจออก ปล่อยมือออกเมื่อเริ่มหายใจเข้า ทำเช่นนี้ สัก 5 นาที จะพบว่า ร่างกายผ่อนคลาย จิตใจสงบมากขึ้น
ข้อมูลจาก น.พ.ประเวช ตันติพิวัฒนกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 หน้า 12
Attachment | Size |
---|---|
24ก.พ.57_บ้านเมือง_บัญญัติสุข10ประการ.pdf | 449.47 KB |
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้