4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

'หนูบ้าน'ตัวการแพร่เลปโตฯสธ.แนะเก็บกวาดอาคารที่พัก

          เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนูว่า โรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นของไทย ปัจจุบันพบได้ทั้งในเขตเมืองและชนบท พบผู้ป่วยได้ตลอดปี แต่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าโรคนี้พบได้เฉพาะในทุ่งนา หรือพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงหนูที่อาศัยอยู่ตามอาคารบ้านเรือน หรือสำนักงานต่างๆ หรือที่เรียกว่า "หนูบ้าน" ก็เป็นพาหะนำโรคนี้มาสู่คนได้เช่นกัน ล่าสุด สธ.ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนดูแลความสะอาดอาคารสำนักงาน โต๊ะทำงาน โต๊ะอาหาร และบ้านเรือน ไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู กำจัดขยะเศษอาหาร ถังใส่ขยะเปียกต้องมีฝาปิด และใช้อุปกรณ์ดักหนูและกำจัดทิ้ง เพราะหากใช้วิธีไล่หนูจะทำให้หนูแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ

          นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ที่น่าห่วงคือ พบว่าผู้ป่วยโรคฉี่หนูส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายอยู่ในวัยทำงาน ซึ่งเป็นกำลังหลักในการหารายได้ของครอบครัว หากเป็นผู้สูบบุหรี่จะมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนที่ปอดได้ง่ายและมีอาการรุนแรง เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้สูงกว่าผู้ที่ไม่สูบ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดตา กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่อง จะต้องรีบไปพบแพทย์หลังมีอาการป่วยไม่เกิน 3 วัน และอย่าซื้อยากินเอง

          ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำนักระบาดวิทยาได้วิเคราะห์จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคฉี่หนู พบว่าในปีงบประมาณ 2551-2555 มีผู้เสียชีวิต 313 ราย ร้อยละ 70 เป็นเพศชาย ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน ในปี 2556 มีผู้ป่วย 3,005 ราย เสียชีวิต 31 ราย จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จ.ศรีสะเกษ 317 ราย จ.สุรินทร์ 231 ราย จ.บุรีรัมย์ 194 ราย จ.นครศรีธรรมราช 148 ราย และ จ.กาฬสินธุ์ และ จ.ขอนแก่น จังหวัดละ 125 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมา คือ ภาคใต้ มีผู้เสียชีวิตตลอดทั้งปี แต่มักจะสูงสุดในฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม เพราะมีการเพิ่มของประชากรหนูมาก และเชื้อแพร่กระจายได้มาจากน้ำฝน ทั้งนี้ ล่าสุดในเดือนมกราคม 2557 พบผู้ป่วยแล้ว 91 ราย เสียชีวิต 1 ราย


          "จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้เสียชีวิตในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ช่วงเวลาเริ่มป่วยจนถึงเสียชีวิตเท่ากับ 5 วัน ขณะที่ในกลุ่มผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคฉี่หนู พบว่าเป็นผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์หลังจากเริ่มมีอาการป่วยแล้วไม่เกิน 3 วัน ดังนั้น หากสงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคนี้ จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีพร้อมกับเล่าประวัติเสี่ยงของการติดเชื้อเพื่อแพทย์จะได้ให้การรักษาอย่างถูกต้อง และลดโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิต" นพ.โสภณกล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 หน้า 10

AttachmentSize
11ก.พ.57_มติชน_หนูบ้านตัวการแพร่เลปโตฯ.pdf407.14 KB
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้