4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

อุจจาระร่วงเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้

          จากที่จู่ๆ ก็มีอาการ "อุจจาระร่วง" หรือที่มักเรียกกันว่า "ท้องร่วง" "ท้องเสีย" ขึ้นมาทันใด บางคนอาจมีอาการไม่มาก แต่บางคนอาจเป็นหนักถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล มาทำความรู้จักอุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามกันโรคอุจจาระร่วงเป็นอย่างไร
          เมื่อมีอาการถ่ายเหลวผิดปกติหรือถ่ายบ่อยกว่าปกติ มักพูดกันติดปากว่า ท้องร่วง ท้องเสีย แต่จะเป็นโรคอุจจาระร่วงหรือไม่นั้น ทางการแพทย์ได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้

          โรคอุจจาระร่วง หรือ diarrhea หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวเกิน 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเหลวเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งในหนึ่งวันผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดบิดในท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน

          โรคนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ แบบเฉียบพลัน (acute) และแบบเรื้อรัง (chronic) ผู้ป่วยที่เป็นอุจจาระร่วงเฉียบพลันมักหายภายใน 2 สัปดาห์ ส่วนใหญ่หายได้เอง แต่หากเป็นนานเกิน 2 สัปดาห์เรียกว่า อุจจาระร่วงเรื้อรัง
          ในประเทศไทย สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าในปี พ.ศ.2555 มีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจำนวน 1,229,641 คนอัตราป่วยเท่ากับ 1,913.35 ต่อประชากรแสนคน และมีผู้เสียชีวิต 27 คน คิดเป็นอัตราตาย 0.04 ต่อประชากรแสนคนจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าโรคนี้มีอัตราป่วยสูงและอัตราป่วยตายต่ำอย่างไรก็ดี แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง แต่ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะโรคนี้อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงควรเรียนรู้สาเหตุและวิธีการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคอุจจาระร่วงอย่างถูกต้องอะไรเป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วง

          สาเหตุมีมากมาย แตกต่างกันไปตามชนิดของโรคอุจจาระร่วง
          1.โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ผู้ป่วยมากกว่า 90% เป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากการติดเชื้อ อาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิ โดยได้รับเชื้อผ่านการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้ ระยะฟักตัวตั้งแต่ได้รับเชื้อจนมีอาการมักจะเป็นวันๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการคลื่นไส้ เป็นไข้ และปวดท้องร่วมด้วย ที่เหลืออีก 10% เกิดจากการกินอาหารที่มีพิษของเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ รวมทั้งผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาหัวใจเต้นผิดปกติ ยาลดความดัน ยาเคลือบกระเพาะ ยาระบาย ระยะเวลาตั้งแต่รับพิษของเชื้อ หรือรับยาจนมีอาการจะสั้นกว่า มักไม่ถึงหนึ่งวัน
          2.โรคอุจจาระร่วงเรื้อรัง ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่นซึ่งส่งผลต่อลำไส้เช่น โรคลำไส้อักเสบ (InflamatoryBowel Disease) โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาเกินปกติ (Hyperthyroidism)หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งก็ได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมควรไปพบแพทย์ในกรณีไหน

          หากมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง มีไข้ อุจจาระมีมูกเลือดปน ท้องเสียรุนแรงนานกว่าสามวัน หรือมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ชีพจรเต้นเร็วหรือเบา หายใจเร็วหรือหอบ ซึมหรือกระสับกระส่ายควรรีบไปพบแพทย์ เรื่องนี้ต้องอาศัยญาติ ผู้ใกล้ชิดคอยดู เพราะบางครั้งผู้ป่วยเองอาจไม่ทันสังเกต โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วทั้งโรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ เผลอนิดเดียว อาการทรุดหนักได้

          หากเด็กๆ มีอาการท้องเสีย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ เนื่องจากเด็กมักบอกอาการเองไม่ได้ ยิ่งถ้าเด็กมีอาการขาดน้ำ เช่น ตาโหล ปากแห้ง กระหม่อมบุ๋ม ซึมหรือกระสับกระส่าย ไม่เล่นตามปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีการรักษาโรคอุจจาระร่วง

          1.โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน สิ่งสำคัญในการรักษาคือ การให้น้ำและเกลือแร่เพื่อชดเชยส่วนที่สูญเสียไป ป้องกันและแก้ไขภาวะขาดน้ำในผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง อาจให้ดื่มน้ำเกลือแร่ โดยละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ หรือที่เรียกกันว่า ผงORS (Oral Rehydration Salts) ในน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกที่เย็นแล้วดื่มแทนน้ำบ่อยๆ และคอยสังเกตดูสีปัสสาวะ หากมีสีเข้มแสดงว่ายังได้น้ำไม่เพียงพอ ต้องพยายามดื่มน้ำเกลือแร่เพิ่มอีก สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก มีภาวะขาดน้ำรุนแรงโดยเฉพาะรายที่มีอาการอาหารเป็นพิษร่วมด้วย และมีอาการอาเจียนมากกินอาหารหรือดื่มน้ำไม่ได้ แพทย์จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ
          การให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยนั้น แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป โดยให้ในผู้ป่วยบางรายที่คาดว่ามีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น โรคบิดไม่มีตัวอหิวาตกโรค หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องจากโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันส่วนใหญ่หายได้เอง ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ การให้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อดื้อยาในอนาคตดังนั้นผู้ป่วยท้องร่วง ท้องเสีย จึงไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง

          2.โรคอุจจาระร่วงเรื้อรัง เนื่องโรคอุจจาระร่วงเรื้อรังส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากโรคอื่น ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและให้การรักษาอย่างเหมาะสมต่อไปการป้องกันตัวไม่ให้เป็นโรคอุจจาระร่วง เช่น
          1.ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกที่เก็บในขวดหรือภาชนะที่สะอาด ปิดสนิท จะดีที่สุด
          2.รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และสะอาด
          3.ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารรวมทั้งหลังเข้าห้องน้ำ
          4.ภาชนะที่ใส่อาหารต้องล้างให้สะอาดก่อนใช้ เมื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วงกันแล้ว หวังว่าทุกท่านจะดูแลรักษาสุขภาพตัวเองให้ห่างไกลจากโรคอุจจาระร่วงกัน
         
รพ.กรุงเทพ

ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557  หน้า 22

AttachmentSize
10ก.พ.57_คมชัดลึก_อุจจาระร่วงเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้.pdf767.05 KB
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้