4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

การจัดตั้งระบบวิจัยสุขภาพ - Health Research Systems

          ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจก่อนว่าการวิจัยสุขภาพ คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาแก้ปัญหาสุขภาพ ประกอบด้วยการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์

          ระบบวิจัยสุขภาพจึงเป็นกลไกที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนนักวิจัย สถาบันวิจัย และองค์กรให้ทุน ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการสร้างระเบียบวิธีในการผลิตและนำความรู้จากงานวิจัยที่มีคุณภาพไปสนับสนุน ปรับปรุง และดำรงสุขภาวะของประชากร

          การปรับปรุงสุขภาวะของประชากรในประเทศให้ดีขึ้นอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมจำเป็นต้องอาศัยการร่วมมือร่วมใจและการพัฒนาศักยภาพขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การเลือกพัฒนาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของกระบวนการวิจัย หรือเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งของงานวิจัย จะทำให้งานวิจัยนั้นๆ ล้มเหลว ส่งผลต่อความล้มเหลมในการปรับปรุงสุขภาวะของประชากร ทั้งนี้เพราะทุกภาคส่วนและทุกองค์กรต่างต้องอาศัยกันและกันในการหนุนเสริมให้งานวิจัยสุขภาพส่งผลที่ทรงพลัง

          การจัดตั้งระบบวิจัยสุขภาพของชาติจึงมีความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงกลวิธีการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เผยแพร่องค์ความรู้ภายในและภายนอกประเทศ เพิ่มการเข้าถึงทรัพยากรในการทำวิจัย เพิ่มจำนวนและคุณภาพของนักวิจัยและการสร้างเครือข่ายนักวิจัย เร่งการสร้างสถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นและมีคุณภาพสำหรับผลิตงานวิจัยสุขภาพ

          วัตถุประสงค์ดังกล่าวจะสำเร็จได้ ต้องอาศัยระบบการสนับสนุนที่แข็งขัน กลไกสร้างนวัตกรรมที่ยั่งยืน กลไกจัดลำดับความสำคัญที่มีประสิทธิภาพ การเสริมศักยภาพที่ถูกจุด การสร้างเครือข่ายนักวิจัยที่สามัคคี การบริหารจัดการแบบมืออาชีพ และการประเมินกลไกการทำงานและผลสัมฤทธิ์อย่างตรงไปตรงมา การพัฒนาระบบวิจัยสุขภาพระดับชาติ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 ทำแผนที่ระบบวิจัยสุขภาพระดับชาติ
เพื่อให้รู้ว่าระบบอภิบาล กรอบนโยบาย แหล่งทุน องค์กรผลิตงานวิจัย และหน่วยงานหรือกลุ่มคนที่จะใช้ประโยชน์จากงานวิจัย

ขั้นที่ 2 ประเมินศักยภาพของระบบวิจัยสุขภาพระดับชาติ
เพื่อประเมินความพอเพียงและขีดความสามารถของนักวิจัย และประเมินคุณภาพของงานวิจัยในอดีตและปัจจุบันในเชิงผลลัพธ์ ความสอดคล้องกับปัญหาของประเทศ และผลกระทบเชิงบวกและลบต่อสุขภาพ

ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ผลสำเร็จของระบบวิจัยสุขภาพระดับชาติ
ประเมินภาพรวมว่าผลลัพธ์จากงานวิจัยตอบโจทย์ของประเทศในการพัฒนาสุขภาพและระบบสุขภาพ ลดความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพ และมีส่วนในการปรับปรุงสภาพสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนหรือไม่  นอกจากนี้ควรประเมินศักยภาพของระบบในการสร้างนวัตกรรม ระบบการควบคุมจริยธรรม กลการนำนโยบายไปใช้ การสนับสนุนของแหล่งทุน การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ  

ขั้นที่ 4 ประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินการ
พิจารณาทั้งการจัดลำดับความสำคัญของงานวิจัย การจัดกรกำลังคน กลไกการเงินการคลัง การเสริมสร้างสมรรถภาพของสถาบัน และการถ่ายทอดผลงานสู่สาธารณะ



เอกสารอ่านเพิ่มเติม

  • Pang T, Sadana R, Hanney S, Bhutta ZA, Hyder AA, Simon J. Knowledge for Better Health: A conceptual framework and foundation for health research systems. Bulletin of the World Health Organization 81, 815-820, 2003
  • Davison CM, Robinson S, Neufeld V. Mapping the Canadian Contribution to Strengthening National Health Research Systems in Low and Middle Income Countries: A concept paper.
  • Suwandono A. 'Draft of Final Report: National Health Research System (NHRS) in Indonesia: A case study.' 2003 Retrieved May 18, 2004 from http://www.cohred.ch
  • World Report on Knowledge for Better Health, WHO, 2004.
  • 'Guidance for Evaluating Humanitarian Assistance in Complex Emergencies.' OECD: Paris, 1999.
  • Research Into Action. The Newsletter of the Council on Health Research and Development. COHRED, 33, 1-8, 2003.
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้