4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

อันตรายเชื้อปอดบวมแนะกลุ่มเสี่ยงป้องกันโรค

          ช่วงเปลี่ยนฤดูอาจทำให้หลายคนเจ็บ่ป่วยได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงนัก เช่น เด็กเล็กและผู้สูงอายุ หลายคนอาจมีอาการเจ็บป่วยแรกเริ่มคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่อาจลุกลามถึงขั้นเป็นโรคปอดบวมได้

          องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรพันธมิตรกว่า 140 องค์กร จึงกำหนดให้ วันที่ 12 พ.ย. ของทุกปี เป็น "วันปอดบวมโลก" (World Pneumonia Day) โดยล่าสุดมีรายงานจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล 1 ม.ค.-4 ส.ค. 2556 พบผู้ป่วยโรคปอดบวม 99,670 ราย ทั่วประเทศไทย และเสียชีวิตแล้ว 581 ราย โดยกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ ผู้ใหญ่วัย 65 ปีขึ้นไป ที่พบมากถึง ร้อยละ 30.5
          บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย นายคริสเตียน มัลเฮอร์บี ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย จึงจัดเสวนาเชิงวิชาการในหัวข้อ "รู้ทัน...ป้องกันโรคปอดบวม" เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของโรคปอดบวม


          โดย ศ.นพ.ย์ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ บรรยาย "เชื้อนิวโมคอคคัส" (Pneumococcus) สาเหตุโรคปอดบวมว่า โรคปอดบวมคือการอักเสบของปอด หรือการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนล่าง ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจอันตรายถึงชีวิตได้ ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อนิวโมคอคคัส หรือหากเชื้อรุนแรงมาก อาจลุกลามไปสู่โรคอื่นๆ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสโลหิต และหูชั้นกลางอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือดที่เรียกว่า โรคไอพีดี (Invasive Pneumococcal Disease)
          "ผู้ใหญ่วัย 50 ปีขึ้นไปและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ คือ กลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อแบคทีเรีย นิวโมคอคคัสมากที่สุด เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรังอื่นๆ"

          เชื้อนิวโมคอคคัสติดต่อได้โดยผ่านระบบทางเดินหายใจ เช่น การไอ จาม และการสัมผัสกับละอองเสมหะของผู้ป่วย ปัจจุบันพบว่าเชื้อนิวโมคอคคัสมีการดื้อยาปฏิชีวนะหลายๆ ชนิด ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายจึงเป็นเรื่องสำคัญ
          สำหรับการป้องกันโรคปอดบวมควรรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด การสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส ปัจจุบันมี 2 ประเภท ได้แก่ วัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดโพลีแซคคาไรด์ ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 ขวบขึ้นไป มักจะใช้ฉีดในวัยผู้ใหญ่ และวัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต ชนิดป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 10 สายพันธุ์ ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์-5 ขวบ และวัคซีนอีกชนิดหนึ่งที่ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 13 สายพันธุ์ ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป จนถึงวัยผู้สูงอายุ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 หน้า 28

AttachmentSize
17ธ.ค.56_ข่าวสด_อันตรายเชื้อปอดบวม.pdf681.4 KB
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้