4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ระบบข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อประโยชน์ของคนในพื้นที่

Teaser: 
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มีแผนงานวิจัยหลายแผนงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ อาทิเช่น แผนงานวิจัยภายใต้ สำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (HISO) สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) และสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.) ซึ่งมุ่งหวังให้พัฒนาความรู้เกี่ยวข้องกับการสำรวจสุขภาพ (health survey) ไปพร้อมๆ กับการดำเนินงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 4

         สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มีแผนงานวิจัยหลายแผนงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ อาทิเช่น แผนงานวิจัยภายใต้ สำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (HISO) สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) และสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.) ซึ่งมุ่งหวังให้พัฒนาความรู้เกี่ยวข้องกับการสำรวจสุขภาพ (health survey) ไปพร้อมๆ กับการดำเนินงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 4

         ความฝันที่หลายคนอยากเห็นคือ การมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ (reliability) ทันเวลา (timeliness) และเป็นข้อมูลที่เหมาะสม (relevancy) เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับพื้นที่จนถึงส่วนกลาง แต่ความก้าวหน้าเพื่อไปสู่ระบบในฝันของเราปัจจุบันเป็นอย่างไร


ภาพประกอบจาก โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทั

         เราเห็นโรงพยาบาลรัฐต่างๆ เริ่มปรับระบบข้อมูลเป็นแบบอิเลคทรอนิกส์กันเกือบหมดแล้ว แม้จะใช้โปรแกรมที่หลากหลายแตกต่างกัน แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาตราบใดที่ใช้ minimum dataset และรหัสข้อมูลมาตรฐานเดียวกัน โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งเริ่มมี electronic medical record กันแล้ว บางคนกล่าวว่า ระบบต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐใช้ข้อมูลเหล่านี้ประกอบการจัดสรรและบริหาร งบประมาณ บางกองทุนประกันสุขภาพถึงขนาดยอมลงทุนจ่ายเงินเพื่อให้เกิดการจัดส่งข้อมูล ต่างๆ ปัญหาที่พบคือ ความถูกต้องของข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวข้องกับการเบิกจ่าย งบประมาณ (ล่าสุดมีข่าวเรื่องการบันทึกข้อมูลเพื่อเบิกจ่ายเกินจริงและมีการกำหนด หลักเกณฑ์การลงโทษกรณีดังกล่าว) การที่กองทุนประกันสุขภาพต่างๆ ยังแยกกันบริหารข้อมูล รวมทั้งการที่สถานพยาบาลเอกชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการส่งข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลที่มีและนำไปสู่การวิเคราะห์ต่างๆ จึงมักเป็นเพียงข้อมูลบางส่วน ยังไม่สามารถสะท้อนภาพรวมของระบบบริการสุขภาพได้

         ขณะเดียวกันเรามีการสำรวจด้านสุขภาพที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานต่างๆ จำนวนมาก (ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานส่วนกลาง) ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมต่างๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้ง สวรส. เอง หน่วยงานด้านการศึกษาและภาคเอกชน มีการประสานระหว่างหน่วยงานดังกล่าวบ้าง แต่มักเป็นการประสานในด้านความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ มากกว่าการประสานวางแผนเพื่อลดความซ้ำซ้อนของการสำรวจต่างๆ ลง

         ที่เห็นการพัฒนาค่อนข้างน้อยคือ การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนและตัดสินใจแก้ไขปัญหาสุขภาพในระดับ พื้นที่ จินตภาพในเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนนักว่า ระบบข้อมูลดังกล่าวจะแทรกตัวอยู่ในระบบข้อมูลเพื่อตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์ ของส่วนกลางอย่างไร ข้อมูลดังกล่าวได้เป็นส่วนหนึ่งของ minimum dataset อยู่แล้วใช่หรือไม่ เพียงแค่ต้องพัฒนาศักยภาพของคนในระดับพื้นที่ให้สามารถวิเคราะห์และใช้ ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวได้ หรือจริงๆ แล้ว เราอาจต้องแยกพัฒนาจากระบบที่เน้นการใช้งานของส่วนกลางโดยตรง หรือแยกออกมาพัฒนาแล้วบูรณาการเข้าไปในภายหลัง กลไกในพื้นที่เพื่อวางแผนพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพนั้นควรอยู่ระดับ ใด (ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน) และประกอบด้วยใครบ้าง ฯลฯ

         สำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (HISO) สวรส. ได้เคยสนับสนุนให้นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาคทำงานร่วมกับ อบต. พัฒนาระบบข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการดังกล่าวสะท้อนความเป็นไปได้ของการสร้างกลไกระดับพื้นที่ที่นำภาค ส่วนที่เกี่ยวข้อง (นักวิชาการและนักการเมืองท้องถิ่น) มาร่วมกันพัฒนา แต่ยังคงต้องพัฒนาต่อไปเพื่อให้รูปแบบของกลไก และระบบข้อมูลข่าวสารระดับพื้นที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

         บางทีเราอาจต้องนึกถึงระบบข้อมูลด้านสุขภาพในระดับพื้นที่ ในรูปแบบอื่นที่ไม่จำกัดเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) สมัยใหม่ด้วย ข้อมูลจำนวนมากอยู่ในตัวผู้คนในชุมชน การเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันก็คือการเชื่อมโยงข้อมูลนั่นเอง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้