ข่าว/ความเคลื่อนไหว
เมื่อวานนี้ (10 พย. 2551) มีการประชุมที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญคือ จะปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพปัจจุบันที่ให้หน่วยบริการคัด กรองความเสี่ยงประชาชน แล้วจัดบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชากรกลุ่มเสี่ยงได้อย่างไร
คุณ หมอสุรจิต สุนทรธรรม ผู้เชี่ยวชาญ สปสช. ได้ให้ความกระจ่างที่น่าสนใจว่า การคัดกรอง (screening) มี 2 ประเภทคือ การคัดกรองโรค (disease screening) คือ คัดกรองว่าใครเป็นคนป่วยบ้าง กับการคัดกรองสุขภาพหรือการคัดกรองความเสี่ยง (health or risk screening) คือ คัดกรองว่าใครมีโอกาสมีปัญหาสุขภาพบ้างขณะที่ยังไม่ได้เป็นโรค
ผมตั้งประเด็นให้ที่ประชุมพิจารณาว่า หนึ่ง การคัดกรองความเสี่ยงกับการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (พฤติกรรมเสี่ยง) นั้นจำเป็นต้องนำมาเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันหรือไม่ หากจำเป็นด้วยเงื่อนไขอะไร สอง นวัตกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่หน่วยบริการดำเนินการในปัจจุบันโดย ได้รับเงินเหมาจ่าย (เข้าใจว่า 4,000 บาทต่อราย) นั้นมีประสิทธิผลและความยั่งยืนจริงหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่เน้นการฝึกอบรมระยะสั้น (1-2 สัปดาห์)
ผม เข้าใจว่า สปสช. ต้องการใช้การคัดกรองความเสี่ยงเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความ ตระหนัก (awareness) และนำไปสู่แรงจูงใจในการปรับพฤติกรรมสุขภาพ แต่การคัดกรองดังกล่าวกลับสร้างภาระให้กับเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องกรอกข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาที่ส่วนกลาง เพื่อใช้ในการประมวลผลและแสดงภาพรวม และอาจใช้เป็นหลักฐานประกอบการจ่ายค่าตอบแทนด้วย ที่ประชุมเห็นว่า หากต้องการใช้การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ เครื่องมือในการคัดกรองนั้นควรเป็นเครื่องมือที่ประชาชนสามารถใช้ในการ ประเมินตนเอง (self assessment) ได้ ไม่ใช่ระบบที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญ การใช้การประเมินความเสี่ยงเพื่อระบุกลุ่มเป้าหมายเพื่อรณรงค์ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพนั้น อาจไม่ใช่แนวปฏิบัติที่เหมาะสม เพราะพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหลักๆ (เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ออกกำลังกายไม่เพียงพอ รับประทานอาหารไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ) นั้นมี prevalence สูงอยู่แล้ว (จึงไม่จำเป็นต้อง target หรือสามารถ target ได้ด้วยวิธีการอื่นเช่น ดูกลุ่มอายุ) และการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในลักษณะ personal intervention มีโอกาสล้มเหลวสูง
เมื่อ กล่าวถึงนวัตกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผู้เข้าร่วมประชุมหลายคนได้ยกตัวอย่างความสำเร็จของการรณรงค์หลายประเด็นใน อดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไม่สูบบุหรี่ การคาดเข็มขัดนิรภัยและการใส่หมวกกันน็อก (ผมไม่แน่ในว่ากรณีนี้ประสบความสำเร็จครับ) และล่าสุดที่กำลังรณรงค์กันอย่างคึกคักในปัจจุบันคือ เรื่องคนไทยไร้พุง การรณรงค์ให้ประสบความสำเร็จต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมไม่เฉพาะผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง (ต้องรวมถึงครอบครัวและชุมชนด้วย) ใช้รูปแบบเฉพาะสำหรับพฤติกรรมเฉพาะ ต้องมีมาตรการทางกฎหมาย รวมถึงการมีนโยบายสาธารณะที่เหมาะสมด้วย
ประเด็น คำถามสำคัญสำหรับ สปสช. คือ จะจัดการกับสิ่งที่ดำเนินการอยู่อย่างไร และจะมีแนวทางดำเนินงานเรื่องนี้ในอนาคตอย่างไร เรื่องนี้เกินขอบเขตความรับผิดชอบของ สปสช. หรือไม่ เพราะดูเหมือนนวัตกรรมที่มีประสิทธิผลจะเน้นในระดับชุมชนเสียเป็นส่วนใหญ่
ข้อเสนอของผมคือ ..หยุด...ใช้เวลาคิดอย่างเป็นระบบ...หาข้อมูลอย่างรอบด้าน ก่อนตัดสินใจว่าจะทำอะไรต่อไป ทั้งหมดนี้น่าจะไม่ใช้เวลานานจนเกินไป
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้