4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สถิติฆ่าคนในครอบครัวเพิ่มขึ้น จี้รัฐเร่งล้อมคอก-คุ้มครองเหยื่อ

          เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่ลานวิคตอรี่พอยท์ อนุสาวรีชัยสมรภูมิ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมรณรงค์ เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน ภายใต้แคมเปญ "ลุกขึ้นปกป้องตัวเอง...ร่วมก้าวข้ามความรุนแรง" ทั้งนี้ กลุ่มสตรีกว่า 100 คน ร่วมรณรงค์แจกสื่อ สติ๊กเกอร์บริเวณป้ายรถเมล์อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

          นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากสถิติศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข มีสถิติผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรง 25,000 คนต่อปี จากสถิติสหประชาชาติ ปี 2555 พบว่า หญิงไทยยอมรับการถูกทำร้ายมากเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ สถิติการฆ่าคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นสามีฆ่าภรรยา ภรรยาฆ่าสามี หรือลูกฆ่าพ่อฆ่าแม่ มีความรุนแรงสูงขึ้นทุกปี โดยปี 2554 มีถึง 174 ราย ปี 2555 เพิ่มขึ้นมาเป็น 186 ราย สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น


          นายจะเด็จ กล่าวอีกว่า กระบวนการที่รัฐต้องทำคือการสร้างกลไกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้กระทำความรุนแรงให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงพัฒนากลไกการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ถูกกระทำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการถูกกระทำซ้ำ ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ต้องพัฒนากลไกการทำงานของภาครัฐแบบเร่งด่วน สร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารช่องทางการให้ความช่วยเหลือมากกว่านี้

          "หากสังคมปล่อยให้ผู้หญิงอยู่ในวัฒนธรรมแห่งความอาย ความกลัว หรือสังคมนิ่งเฉย ยิ่งส่งผลให้ปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผู้หญิงต้องไม่อาย กล้าลุกขึ้นปกป้องใช้สิทธิของตนเองในการแก้ปัญหาความรุนแรง อย่างไรก็ตาม เมื่อพบเห็นการกระทำด้วยความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ หรือตกเป็นเหยื่อความรุนแรงฯ อย่าเพิกเฉย กรุณาร้องเรียน หรือรับคำปรึกษาที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล โทร.0-2513-2889 หรือ สายด่วน 1300 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยยุติความรุนแรงในสังคมไทย" นายจะเด็จกล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556  หน้า 10

 

Relate Researches

- ความรุนแรงในครอบครัว : สถานะงานวิจัยและข้อเสนอเพื่อพัฒนาโครงสร้างระบบวิจัยในอนาคต

การประเมินระบบสวัสดิการสังคมสำหรับสตรีที่ได้รับความรุนแรง

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสังเคราะห์งานวิจัยด้านความรุนแรงในสังคมไทย

ศักยภาพประชาคมในการจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้