4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

เด็กเรียนรู้ผ่านม็อบ ฝึกวินัยประชาธิปไตย

          สถานการณ์บ้านเมืองเวลานี้ ประเด็นร้อนๆ หนีไม่พ้นเรื่องการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จนปฏิเสธไม่ได้ว่าเด็กๆ ลูกหลานต้องได้รับรู้เรื่องราวดังกล่าว
          คำถามคือ ท่ามกลางประเด็นความขัดแย้งอันร้อนแรงระหว่างคนในชาติในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง หลงลืมไปหรือเปล่าว่า ยังมี เจ้าตัวน้อยตาแป๋ว มองดูการกระทำของเราอยู่ทุกขณะ หลายคนอาจเห็นภาพเจ้าตัวน้อย ถือป้ายสีดำ มีข้อความคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผ่านตาทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก หรือภาพเด็กนักเรียนยืนทำมือเป็นรูปกากบาท ส่งสัญญาณว่าไม่เอา ผ่านตากันมาบ้าง แน่นอนว่าเด็กๆ เหล่านี้ อาจเด็กเกินไปที่จะเข้าใจว่าพวกเขากำลังทำอะไร ผู้ใหญ่บอกให้ทำ เด็กน้อยเห็นเป็นเรื่องสนุกก็ทำตาม

          พญ.ปราณี เมืองน้อย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (ร.พ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็นว่า ในความเป็นจริงแล้ว เจ้าตัวน้อยยังไร้เดียงสาเกินกว่าจะรู้ว่าสิ่งที่เขาทำมีความหมายว่าอย่างไร ไม่ผิดหากคุณพ่อคุณแม่มีความเชื่อทางการเมืองแบบหนึ่ง และต้องการให้ลูกมีความเชื่อแบบเดียวกัน
          แต่การนำความคิดความเชื่อของผู้ใหญ่ใส่มือเด็ก โดยที่พวกเขายังไม่สามารถคิดวิเคราะห์ได้เพียงพอ ก็เหมือนเป็นการระบายสีที่คุณชอบลงบนผ้าสีขาว โดยไม่เปิดทางเลือกให้เจ้าตัวน้อยได้ผ่านกระบวนการเติบโต เรียนรู้และค้นพบความเป็นตัวของตัวเอง

          เด็กๆ ควรมีโอกาสได้อ่านหนังสือ หาความรู้จากสื่อต่างๆ เพื่อค้นพบว่าเขามีรสนิยมทางการเมืองแบบไหน ไม่ว่าจะเสรีนิยม สังคม นิยม อำนาจนิยม อนุรักษนิยม ชาตินิยม โลกาภิวัตนนิยม เป็นต้น โดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้ให้คำแนะนำด้วยเหตุผล ซึ่งจะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้มากกว่าการชี้นิ้วบอกทาง
          ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ คงไม่มีใครคัดค้านว่ามาจากการที่คนในสังคม ไม่ทำตาม "หน้าที่ของตัวเองและกฎเกณฑ์ทางสังคมอย่างถูกต้อง" ทำให้ต้องมีการคัดค้านมากมาย
          สำหรับพ่อแม่แล้ว หน้าที่ที่ดีที่สุดที่ทำได้ คือการเลี้ยงดูเจ้าตัวน้อยให้เติบโตมาอย่างมีเหตุผล รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้หน้าที่ แยกแยะผิดถูกได้ตามเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ เพื่อที่ว่าสังคมของเราต่อไปในอนาคตจะได้ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาเช่นนี้อีก หากพ่อแม่ทุกคนในสังคมนี้ร่วมมือกัน ความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยสองมือของตนเอง

          อย่าลืมว่า เด็กๆ เรียนรู้จากการเลียนแบบพฤติกรรม มากกว่าคำสอนของคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น ทุกๆ การกระทำ ทุกๆ คำพูดของคุณต่อหน้าเจ้าตัวน้อย เด็กๆ จะซึมซับและจดจำ แม้บางครั้งอาจไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่คุณกำลังพูด แต่เด็กๆ ก็จับอารมณ์และน้ำเสียงได้ โดยเฉพาะในการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองที่มีความเป็นไปได้ว่าอารมณ์ของคุณจะคุกรุ่นขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่พูด การควบคุมอารมณ์และระวังคำพูดต่อหน้าเจ้าตัวน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญ

          โดยเฉพาะเด็กวัยต่ำกว่า 12 ปี ที่พัฒนาการด้านอารมณ์และความคิดยังพัฒนาไม่เต็มที่ หากได้ยินได้ฟังการวิพากษ์วิจารณ์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ หรือเห็นภาพการชุมนุม การปราศรัยที่ดุดันผ่านสื่อ เด็กจะไม่สามารถแยกแยะหรือจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้อย่างเหมาะสม ทำให้เด็กได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดนี้จนอาจส่งผลให้เด็กๆ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป งอแงมากขึ้น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ขาดสมาธิในการเรียนหรือทำกิจกรรม จนไปถึงการเลียนแบบความรุนแรงทางวาจาหรือทางอารมณ์ของผู้ใหญ่

          "สำหรับเด็กโต พ่อแม่ควรใช้โอกาสนี้เป็นตัวอย่างที่ดี โดยการศึกษาหาข้อมูลให้กระจ่าง เพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นเหตุ เป็นผล เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าระบอบประชาธิปไตยการแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งที่กระทำได้ แต่เหนือสิ่งอื่นได้ ก็ต้องกระทำอย่างเป็นเหตุเป็นผลด้วย" พญ.ปราณีกล่าวสรุป
          สุดท้ายนี้ ไม่ว่าสังคมของเราจะเดินไปในทิศทางไหน แต่บทบาทหน้าที่ของคนเป็นพ่อแม่ คือ การเลี้ยงดูและปลูกฝัง ให้ เจ้าตัวน้อยมีความรับผิดชอบต่อความคิด คำพูด และการกระทำของตนเอง จนเติบโตขึ้นมาเป็นคนดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งต้องค่อยๆ ทำให้เหมาะสมตามวัย และแม้ว่าบางสิ่งอาจยากเกินจะแก้ไข แต่ด้วยความเป็นพ่อแม่ สามารถ "สร้าง" สิ่งดีๆ ให้เข้ามาแทนที่สิ่งที่ไม่ดีไม่งามในสังคมได้
          โดยเริ่มง่ายๆ จากเจ้าตัวน้อยในบ้านของเราเอง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด  ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556  หน้า 21

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้