4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ไม่โทร..ไม่รับ..ใช้อุปกรณ์เสริม ลดอุบัติเหตุได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

          จากการสำรวจจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึง 2555 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 ทุกปี จาก 21 ล้านคนในช่วงปี 2548 ล่าสุดเมื่อปี 2555 พุ่งสูงไปอยู่ที่ 44 ล้านคน ซึ่งจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นนี้ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลให้ อัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรในประเทศสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจังหวัดที่พบว่ามีอัตราสูงสุดในการประสบอุบัติเหตุจากการใช้โทรศัพท์นั้น ได้แก่ จังหวัดราชบุรี (ร้อยละ 20.9 ของจำนวนอุบัติเหตุ) และจังหวัดที่มีการเกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุดคือ จังหวัดกำแพงเพชร (ร้อยละ 1.0 ของจำนวนอุบัติเหตุ) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุตั้งแต่เนิ่นๆ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จึงได้เผยให้ทราบถึงวิธีรับมือการปัญหา "ขับไม่โทร." ตลอดจนลด ละ เลิกพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุช่วงหมอกลงจัดไว้ 3 ประการ ดังนี้

          สำหรับปัจจัยของอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ประกอบด้วย 1.ปัจจัยด้านกายภาพ 2.ปัจจัยด้านการมองเห็น และ 3.ปัจจัยด้านสมาธิการ ตัดสินใจ ซึ่งการคุยโทรศัพท์โดยที่ใช้มือข้างหนึ่งถือโทรศัพท์ และอีกข้างหนึ่งจับพวงมาลัย ทำให้ไม่สามารถบังคับทิศทางของรถได้สะดวก โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์กะทันหันเฉพาะหน้า และหากเป็นรถที่มีระบบเกียร์ธรรมดาด้วยแล้ว ยิ่งมีความเสี่ยงเนื่องจากต้องปล่อยมือข้างที่จับพวงมาลัยมาจับที่คันเกียร์เพื่อเปลี่ยนเกียร์ หรือบางคนอาจใช้หัวไหล่หนีบโทรศัพท์ไว้กับหู ซึ่งก็จะทำให้ผู้ขับขี่ไม่สามารถชำเลืองมองกระจกส่องท้ายและกระจกด้านข้างรถได้

          นอกจากนี้ "การกดปุ่มเพื่อรับสาย" หรือการค้นหาหมายเลข หรือการกดหมายเลขเพื่อโทร.ออก หรือการเปิดดูเอสเอ็มเอสหรืออีเมล์ ก็เป็นเหตุให้ผู้ขับขี่ต้องละสายตาจากถนน ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่วินาที แต่ก็ทำให้ผู้ขับขี่ตอบสนอง เช่น เหยียบเบรกหรือหักพวงมาลัย ได้ช้าลงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้เช่นกัน ดังนั้นการใช้อุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ โดยไม่ต้องใช้มือสัมผัสโทรศัพท์ เช่น การใช้บลูทูธเชื่อมสัญญาณโทรศัพท์กับเครื่องเสียงในรถ หรือการใช้เสียงสั่งการเพื่อรับสายหรือโทร.ออก ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากปัจจัยด้านกายภาพ และปัจจัยด้านการมองเห็นลงได้


          อย่างไรก็ดี "การคุยในขณะขับรถ" ไม่ว่าจะคุยกับผู้โดยสารที่นั่งอยู่ในรถคันเดียวกัน หรือคุยโทรศัพท์โดยจะใช้อุปกรณ์เสริมหรือไม่ก็ตาม จะทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิ และทำให้ตอบสนองต่อสัญญาณจราจรและเหตุฉุกเฉินต่างๆ ได้ช้าลง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้นกว่าผู้ที่มีสมาธิจดจ่ออยู่กับการขับขี่ ซึ่งจากการวิจัยพบว่า การสูญเสียสมาธิขณะขับขี่เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุ โดยการโทรศัพท์ขณะขับรถ ไม่ว่าจะใช้มือถือโทรศัพท์หรือใช้อุปกรณ์เสริมก็มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงพอๆ กัน คือ ผู้ใช้อุปกรณ์เสริมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการขับขี่ปกติ 4 เท่า และผู้ที่ไม่ใช้อุปกรณ์เสริมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการขับขี่ปกติ 5 เท่า จะเห็นว่าการใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องใช้มือถือโทรศัพท์ในขณะขับรถ แม้จะลดความเสี่ยงจากปัจจัยทางกายภาพได้ แต่ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการเสียสมาธินั้นยังสูงอยู่มาก

          ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ มีข้อแนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อให้การขับรถมีความปลอดภัย คือ 1.หากขับรถในระยะ ทางใกล้ๆ ใช้เวลาจนถึงที่หมายไม่นานนัก ไม่ควรรับสายหรือโทร.ออกจนกว่าจะถึงที่หมาย 2.หากขับรถระยะทาง ไกลและใช้เวลานาน ควรกำหนดจุดหยุดพัก เช่น หยุดพักทุกหนึ่งชั่วโมง แล้วค่อยโทรศัพท์เมื่อถึงจุดหยุดพัก หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ ควรจอดรถข้างทางในที่ที่ปลอดภัยแล้วจึงโทร. 3.หากอยู่ในที่ที่รถติดหรือ จำเป็นต้องขับรถต่อไป ควรขับชิดซ้ายและชะลอความเร็วลง เตรียมอุปกรณ์เสริมให้พร้อมใช้งาน เมื่อเริ่มสนทนาควรแจ้งให้คู่สนทนาทราบว่าเรากำลังขับรถอยู่ และใช้เวลาในการพูดคุยให้สั้นที่สุด 4.หลีกเลี่ยงเรื่องสนทนาที่ทำให้เศร้า โกรธ หงุดหงิดหรืออารมณ์เสีย และไม่รับหรือส่งเอสเอ็มเอสหรืออีเมล์ในทุกกรณี เท่านี้ก็เป็นการช่วยลดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 หน้า 15

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้