4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

คนไทยเสี่ยงชีวิตมากจากโรคหัวใจสปสช.จับมือสธ.เร่งจัดหายาละลายลิ่มเลือดช่วยผู้ป่วย

          นพ.วินัย สวัสดิวร  เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตติดอันดับ 1 ใน 10 ของโรคที่มีอัตราการตายสูงสุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการป่วยเป็นโรคดังกล่าว ถึงปีละประมาณ 50,000 ล้านบาท ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบดูแล โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือด ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากที่เสียชีวิตจากโรคนี้ สปสช.จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนให้มีการขยายเครือข่ายหน่วยบริการที่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ และมาตรฐานอย่างทันเวลา และช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2552 ผลการดำเนินการพบว่าผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดในอัตราเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 16 ในปี 2552 เพิ่มเป็นร้อยละ 35 ในปี 2555 จากกลุ่มเป้าหมาย 3,230 คน และผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2556 ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2556 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 3,677 คน ได้รับการให้ยาละลายลิ่มเลือด 2,268 คน หรือร้อยละ 61.68 ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลงมาก

          นพ.สุรเชษฐ์  สถิตนิรามัย  ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตบริการสุขภาพที่ 8  เปิดเผยว่า จากรายงานมีผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด จำนวน 8 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ โรงพยาบาลศรีบุญเรือง 4 ราย  โรงพยาบาลสุวรรณคูหา 1 ราย โรงพยาบาลนากลาง 1 ราย โรงพยาบาลนาวัง 1 ราย และ โรงพยาบาลโนนสัง 1 รายซึ่งผู้ป่วยทุกรายปลอดภัยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ   ทั้งนี้เกิดจากความมุ่งมั่นตั้งใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  ที่สามารถพัฒนาระบบบริการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ และตติยภูมิได้ครอบคลุมทั้งจังหวัดและได้มอบนโยบายให้มีการติดตามเป็นระยะๆ เพื่อนำปัญหามาปรับปรุงแก้ไข  รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในเครือข่ายและส่งเสริมให้มีการคัดกรองความเสี่ยงโรคหัวและหลอดเลือดในชุมชนพัฒนาต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งนี้ทีมงานเครือข่ายต้องมีเป้าหมายร่วมกันและพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยความมุ่งมั่น   เพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งเขตบริการสุขภาพที่ 8 ได้เตรียมแผนรองรับการพัฒนาสนับสนุนหน่วยงานที่มีศักยภาพในพื้นที่ให้เป็นแม่ข่าย ในการจัดบริการแบบไร้รอยต่อในเรื่อง โรคหัวใจและหลอดเลือดแม่ข่ายระดับเขต คือ โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี และแม่ข่ายในระดับจังหวัด ก็คือ โรงพยาบาลจังหวัด โดยมีเป้าหมายให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ใน 7 จังหวัดอีสานตอนบน สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้


          นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี เปิดเผยว่า โรงพยาบาลชุมชนที่ให้ยาละลายลิ่มเลือด ปี 2555 ในพื้นที่เขต 8 อุดรธานี ร้อยละ 18.39 จากภาพรวมประเทศร้อยละ 28.59 ซึ่งในปี 2556 โรงพยาบาลสามารถให้ยาสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 73.23 (52/71แห่ง)  โดยจังหวัดหนองบัวลำภู โรงพยาบาลชุมชนสามารถให้ยาได้ครบ ร้อยละ 100 (5/5 แห่ง)  จังหวัดอุดรธานีร้อยละ 70.58 (12/17แห่ง) จังหวัดสกลนคร ร้อยละ 68.42 (13/19 แห่ง) จังหวัด เลย ร้อยละ 83.33 (10/12 แห่ง) จังหวัดหนองคาย ร้อยละ 60 (3/5 แห่ง) จังหวัดนครพนม ร้อยละ 75 (6/8 แห่ง) และจังหวัดบึงกาฬ ร้อยละ 71.42 (5/7 แห่ง)   ซึ่งสปสช.ได้  ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข เขตบริการสุขภาพที่ 8 พัฒนาเครือข่ายโรคหัวใจขาดเลือดระดับเขตพื้นที่เพื่อให้เกิดการจัดบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการที่รวดเร็วและปลอดภัย

ที่มา : หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556  หน้า 14

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้