4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

คลินิกเอกชนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

Teaser: 
วันที่ 26 สค. 2551 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่องบทบาทคลินิกเอกชนกับการสร้างเสริมสุขภาพขึ้น ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเวทีวิชาการต่อเนื่องเพื่อพัฒนาข้อเสนอทางนโยบาย เพื่อการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ

          วันที่ 26 สค. 2551 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่องบทบาทคลินิกเอกชนกับการสร้างเสริมสุขภาพขึ้น ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเวทีวิชาการต่อเนื่องเพื่อพัฒนาข้อเสนอทางนโยบาย เพื่อการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ

ในการประชุมมีการนำเสนอกรณีศึกษาของคลินิกเอกชนจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีความมุ่งมั่นในการทำงานเชิงรุกเพื่อให้บริการส่งเสริมป้องกันแก่ ประชาชนที่คลินิกนั้นๆ ดูแลรับผิดชอบอยู่ แต่ก็มีปัญหาในการทำงานหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว
 

<ภาพประกอบจาก larndham.net>


ผลจากการร่วมรับฟังการแลกเปลี่ยนในเวทีวิชาการดังกล่าว ทำให้เกิดความรู้สึกและความเห็นในหลายๆ ประเด็นดังนี้คือ

1. สถานพยาบาลภาครัฐและเอกชน มีความแตกต่างกันน้อยลงเรื่อยๆ เราอาจเคยมีความคิดว่า สถานพยาบาลเอกชนทำทุกอย่างเพื่อมุ่งหวังกำไร และงานรักษาพยาบาลมีโอกาสได้กำไรสูงสุดเพราะประชาชนมีความต้องการ (demand) สูง กรณีศึกษาที่นำเสนอในการประชุมทำให้หลายคนเริ่มเปลี่ยนความคิดของตนเอง ขณะเดียวกันประสบการณ์ของผู้คนจำนวนมากก็เริ่มสะท้อนว่า สถานพยาบาลภาครัฐได้ให้ความสำคัญกับการหากำไรมากขึ้นเช่นกัน

2. ความสัมพันธ์ระหว่างสถานพยาบาลต่างๆ เป็นไปในแบบที่เรียกว่า unhealthy relationship คือ มีการแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับส่วนแบ่งงบประมาณมากขึ้น โดยคาดว่าการแข่งขันจะนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพตามทฤษฎีทาง เศรษฐศาสตร์ แต่ผลจากการแข่งขันทำให้การประสานร่วมมือกันลดน้อยลง ผลของการขาดการประสานทำงานร่วมกันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น หากโรงพยาบาลเริ่มแข่งขันกับสถานพยาบาลปฐมภูมิ เพื่อรักษาส่วนแบ่งผู้ประกันตนในระบบประกันสุขภาพ

3. ผลแทรกซ้อนของการใช้แรงจูงใจทางการเงิน (perverse incentive) สปสช. ได้ปรับรูปแบบการจ่ายเงินเพื่อการจัดบริการส่งเสริมป้องกันเรื่อยมา จากระบบเหมาจ่ายรายหัว (capitation) เป็นการจ่ายตามรายกิจกรรม (fee for service) มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเห็นว่าจะช่วยกระตุ้นการให้บริการเชิงรุกมากขึ้น ผลของการจ่ายตามรายกิจกรรมทำให้ต้องมีรายงานต่างๆ เพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือ ทำให้บุคลากรมุ่งทำงานตามกิจกรรมที่มีการจ่ายค่าตอบแทนเฉพาะเท่านั้น บางท่านถึงขนาดกล่าวว่าเป็นการ “ทำงานไล่ล่าตามตัวชี้วัดที่กำหนด” กิจกรรมที่สำคัญแต่ไม่ได้กำหนดไว้ในตัวชี้วัด ก็ไม่ได้รับการให้ความสำคัญ

เพื่อให้ภาพต่างๆ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้มีการศึกษาแต่ละกรณีศึกษาต่างๆ อย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายละเอียดวิธีการบริหารงบประมาณ พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีที่ไม่ควรใช้ (ในการบริหารงบประมาณ) เพื่อจะได้สรุปเป็นข้อเสนอต่อ สปสช. ในการปรับปรุงในอนาคตต่อไป

รายละเอียดกรณีศึกษาต่างๆ จะได้นำเสนอต่อไปเมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้