4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

จี้เข้มโรงงานขนมปังแฉสารกันบูดเพียบ-ตับ-ไตพัง

          พบขนมใส่สารกันบูดเกินเพียบ จี้เข้มโรงงานผลิต เตือนมีเลข อย.ไม่ได้ปลอดภัยทุกถุง นักพิษวิทยาชี้ตับ-ไต ทำงานหนักเพื่อขจัดวัตถุเจือปนเอ็นจีโอแนะรัฐเร่งแก้
          หลังจาก "คม ชัด ลึก" รายงานข่าวเกี่ยวกับขนมปังพิษเก็บ 60 วัน ไม่ขึ้นรา รวมถึงขนมอันตรายต่อเด็กและผู้บริโภค 5 กลุ่มได้แก่ 1.ขนมปัง-โดนัท 2.เยลลี่สีสันฉุดฉาด 3.ผลไม้ดองมะยม กิมจ๊อ บ๊วยหวาน 4.ข้าวเกรียงกุ้ง 5.ช็อกโกแลตเทียม ล่าสุด กลุ่มผู้บริโภคและนักวิชาการด้านพิษวิทยาทางอาหารได้ออกมาแฉกลเม็ดใส่สารกันบูด พร้อมชี้ผลสำรวจสัดส่วนขนมที่วางขายในท้องตลาด 1 ใน 3 เป็นขนมอันตราย

          นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า จากการสำรวจและสุ่มตรวจพบว่าขนมปังหรือเบเกอร์รี่ที่วางขายทั่วไปมีการลักลอบใส่สารกันบูดเกินมาตรฐานถึง 1 ใน 3 เช่น ขนมปังไส้ถั่วแดงสำรวจพบ 1,656 มิลลิกร้มต่อกิโลกร้ม ตามมาตรฐานไม่เกินคือ 1,000 มิลลิกรัม หมายความว่าใส่เกินไปเกือบ 1 เท่า ทั้งนี้ กลุ่มผู้ผลิตจะมีกลเม็ดในการใส่สารกันบูดหลายวิธี ได้แก่ 1.ใส่สารกันบูดในส่วนประกอบอื่นที่ พ.ร.บ.อาหารฯ ไม่อนุญาต เช่น แอบใส่ในแป้ง เนย ฯลฯ 2.ใช้สารกันบูดหลายชนิดชื่อต่างกันในขนมชิ้นเดียว คนซื้ออ่านแล้วไม่เข้าใจ นึกว่าไม่เกินมาตรฐาน คนซื้ออ่านแล้วไม่เข้าใจ นึกว่าไม่เกินมาตรฐาน แต่ถ้ารวมกันแล้วจะทำให้สูงมากกว่ามาตรฐาน เช่น "กรดเบนโซอิก" "กรดโปรปิโอนิค" "กรดซอร์บิก" หรือ โซเดียมเบนโซเอต ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นชื่อทางเคมีของสารกันบูดทั้งสิ้น 3.ใช้วิธีใส่ตัวเลขโกหกเพราะรู้ว่าคนซื้อไม่มีทางเอาขนมไปตรวจส่วนผสมว่าตรงกับที่ระบุในฉลากหรือไม่
          "ขนมพวกนี้ คนกินไม่มีทางรู้หรือไม่มีใครไปตรวจว่าใส่สารกันบูดเกินอันตรายหรือเปล่า เพราะกฎหมายบังคับให้เขียนแต่ว่าใส่สารกันบูด แต่ไม่ได้ให้ระบุว่าใส่เท่าไร คนส่วนใหญ่ไม่เคยอ่านฉลากด้วยซ้ำ โดยเฉพาะเด็กเล็กอ่านหนังสือยังไม่ได้ ผู้ผลิตชอบทำขนมพวกนี้วางขายในร้านของชำ หรือแม้แต่ห้างใหญ่ยังเคยสุ่มตรวจเจอ ที่ผ่านมาสุ่มตรวจประมาณ 15 ถุงเจอสารกันบูดเกินถึง 10 ถุง ยังไม่รวมกรณีใส่เลข อย.ปลอม หรือเลขอย.หมดอายุด้วย ปัญหาคือเจ้าหน้าที่ไม่เคยลงไปตรวจสอบร้านขายอย่างจริงจัง รวมถึงโรงงานผลิตด้วย อ้างแต่ว่าคนไม่พอ ไม่มีงบประมาณ" นายพชร กล่าว


          ตัวแทนผู้บริโภคข้างต้นกล่าวว่า ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตรวจขนมเด็กที่วางขายว่าอันตรายหรือไม่คือเจ้าหน้าที่องค์กรอาหารและยา (อย.) และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด ควรตรวจโรงงานผลิต ร้านขายส่ง และร้านค้าปลีก ทุกแห่งเป็นประจำ เพื่อควบคุมให้ทำตามกฎหมาย ถือเป็นหน้าที่ต้องคุ้มครองป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อ เพราะไม่มีใครสามารถตรวจส่วนผสมด้วย การดูด้วยตาเปล่าได้ว่าอันตรายหรือปลอดภัยแค่ไหน ยิ่งไปกว่านั้นขนมที่มีเลขอย.ติดอยู่ ก็ไม่ได้ยืนยันว่าปลอดภัยจริง เพราะอาจใส่สารกันบูดหรือวัตถุมีพิษเกินได้ วิธีที่ดีที่สุดคือเจ้าหน้าที่ต้องสู่มตรวจบ่อยๆ เป็นระยะๆ และลงโทษปรับขั้นสูงสุด จะทำให้ผู้ผลิตและผู้ขายเกิดความกลัว หันมาผลิตและขายเฉพาะขนมที่ปลอดภัยเท่านั้น เหมือนในต่างประเทศ ถ้าตรวจพบจะสั่งให้บริษัทเรียกคืนสินค้าทั้งหมดทันที โดยเฉพาะขนมที่เด็กชอบซื้อกิน
          "นอกจากผู้ผลิตแล้วยังต้องจัดการร้านขายขนมเถื่อนอย่างจริงจังด้วย เพราะส่วนใหญ่ร้านชำต่างจังหวัดจะไปซื้อมาจากร้านขายส่ง ถ้าปราบปรามร้านขายส่งไม่ให้วางขายขนามเหล่านี้ ก็จะช่วยลดปัญหาไปได้ในระดับหนึ่ง จากนั้นควรให้ชุมชน โรงเรียนนช่วยกันเฝ้าระวังไม่ให้มีการซื้อการขายขนมพวกนี้อีก เพราะถ้าเจ้าของร้านไม่เอาขนมเถื่อนมาขาย เด็กก็ไม่ซื้อ กฎหมายมาอยู่แล้วขอให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติด้วย ไม่ใช่ว่าเป็นข่าวแป๊บเดียวแล้วเงียบหายไป" นายพชรกล่าวแนะนำ


          ผู้เชี่ยวชาญด้านสารกันบูด จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิเคราะห์ถึง "ขนมปังทาเนยอมตะ" ที่เก็บได้นาน 2 เดือน โดยไม่ขึ้นรานั้น เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น กรรมวิธีผลิตวิะเก็บรักษา สารกันบูด ฯลฯ ปกติขนมเบเกอรี่ ทำสดๆ ใหม่ๆ หากไม่ใส่วัตถุกันเสียและไม่ใส่ในตู้เย็น หากวางไว้ในอุณหภูมิห้องปกติจะเสียหรือขึ้นราภายใน 4 วัน ส่วนขนมปังที่ใส่สารกันบูดขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใส่ว่ามากน้อยเพียงไรแต่ถ้าใส่ไม่เกินปริมาณที่ อย.กำหนดเก็บได้ 1 อาทิตย์ ส่วนขนมปังหรือเบเกอรี่ ที่สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้ยาวนานถึง 2 เดือนนั้น อาจเป็นไปได้ว่ามีการใส่สารกันบูดมากกว่าที่กำหนดหลายเท่า อาจถึง 5-6 เท่าได้ ซึ่งไม่มีใครรู้ว่า ขนมก้อนนั้นผสมอะไรข้างใน หากต้องการรู้ข้อมูลแน่ชัดต้องส่งตัวอย่างให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจหาวัตถุกันเสียหรือสารเคมีตัวอื่นๆ อย่างละเอียด
          ทั้งนี้ ข้อมูลจาก วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปี 2552 ระบุถึงอันตรายของการใช้สารกันบูด "กรมเบนโซอิก" หรือ "โซเดียมเบนโซเอต" โดยอ้างรายงานทางวิชาการของสำนักงานด้านมาตรฐานของประเทศอังกฤษ (FoodStandard Agency of United Kingdom; FSA) ว่า เด็กที่กินอาหารที่ใส่วัตถุกันเสียชนิดนี้ต่อเนื่อง มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น (Atttention Deficit Hyperactive Disorder: ADHD) และจากการสำรวจผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศไทย มีการใช้กรซอร์บิกจำนวนมากเพราะราคาถูก นอกจากนี้ยังมีการใส่สีสังเคราะห์ในขนมเด็กเกินปริมาณที่กำหนดด้วย สืบเนื่องจากยังไม่มีการสำรวจวัตถุเจือปนในอาหารที่เด็กไทยนิยมบริโภค รายงานข้างต้นได้เสนอให้ศึกษาปัญหานี้เพิ่มเติมอย่างละเอียด เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงที่เด็กไทยจะป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นจากการเกินสารกันบูดกรดโดยเฉพาะกรดเบนโซอิก


          ผศ.เวณกา เบ็ญจพงษ์ ฝ่ายพิษวิทยาทางอาหาร สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือต้องให้ความรู้แก่ผู้บริโภคว่าไม่ควรซื้อของกินแบบใดบ้าง และขนมแบบไหนเป็นอันตรายต่อร่างกาย สารกันบูดสารแต่งกลิ่น และสารแต่งรสเป็นสารเคมีทำเกิดพิษสะสมในร่างกายทั้งสิ้นหากกินปริมาณมากเกินไปและกินต่อเนื่องระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นการกำจัดสารเหล่านี้ออกจากร่างกายทำให้ตับไตทำงานหนักมาก วิธีดีที่สุดคือเลือกซื้ออาหารปรุงสดหรือขนมมอบใหม่ๆ ที่ไม่ใส่สารเคมีเหล่านี้
          สำหรับปัญหาขนมพิษหลอกเด็กเกลื่อนเมืองไทยนั้น นักวิชาการข้างต้นแสดงความเห็นว่ากฎหมายลงโทษผู้ผลิตและผู้ขายในประเทศไทยยังไม่แรงพอ ทำให้ไม่เกรงกลัวกฎหมาย หากเป็นต่างประเทศถ้าตรวจพบว่าขนมยี่ห้อใดใส่สารกันบูดหรือสารเคมีเกินที่กำหนดจะสั่งปิดโรงงานทันทีของเมืองไทยแค่ปรับนิดหน่อยเท่านั้น กฎหมายต่างประเทศใช้หลักการว่าเมื่อผลิตสินค้ามาขายแล้วผู้ขายต้องรับผิดชอบทุกชิ้น


          นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก แสดงความเห็นว่าประเทศไทยมีปัญหาการขายขนมอันตรายให้เด็กในทุกท้องที่ ทุกหมู่บ้าน หลายกลุ่มกำลังแสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก ทั้งผู้ผลิต โรงงาน ร้านค้า โรงเรียน ฯลฯ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก 2546 มาตรา 26 (7) ระบุไว้ชัดเจนว่า การกระทำใดก็ตามที่แสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย มีบทลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
          "คณะกรรมการคุ้มครองเด็กต้องเข้ามาจัดการปัญหาในส่วนนี้อย่างจริงจัง ทุกจังหวัดมีเจ้าหน้าที่ดูแลเด็กอยูแล้ว ควรหาวิธีจัดการร่วมกับชุมชนโรงเรียน หน่วยงานรัฐ โรงงาน ร้านค้าฯลฯ เมืองไทยไม่ควรขายขนมพวกนี้แล้วนะ เพราะสารเคมีที่ผสมในขนมหลอกเด็กมันอันตรายมาก พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้เอาใจใส่ในเรื่องนี้ มันเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่มีใครสนใจ ไม่ต้องไปอ้างงานวิจัยหรอก คนทั่วไปเห็นก็รู้ว่ามันน่าจะผสมสารเคมีร้ายแรงแค่ไหน สะสมในร่างกายต่อเนื่องจะเป็นมะเร็งแค่ไหน สะสมในร่างกายต่อเนื่องจะเป็นมะเร็งแน่ๆ ผมว่าแค่ใช้สายตามองดูก็รู้แล้วว่ามันเป็นขนมอันตราย ไม่ควรมีขาย ไม่ควรให้เด็กกิน" ผอ.มูลนิธิศูนย์พิทักษณ์สิทธิเด็ก กล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556  หน้า 1

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้