ข่าว/ความเคลื่อนไหว
จากสถิติคนไทยเสี่ยงเป็นโรคไม่ติดต่อ ที่เกี่ยวกับการถดถอยของร่างกายและเสื่อมสภาพเพิ่มสูงขึ้น จาก 676 คน ต่อ 100,000 คน ในปี 2551 เป็น 1,050 คน ต่อ 100,000 คน ในปี 2555 เป็นเพราะขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ทำให้วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโต้โผร่วมกับเครือข่าย คือ ม.ขอนแก่น, ม.ธรรมศาสตร์, ม.นเรศวร, ม.วลัยลักษณ์, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ ครอบครัวแห่งประเทศไทย และกลุ่มธุรกิจ โคคา-โคลา ประเทศไทย จัดทำโครงการ "Exercise is Medicine" ขึ้นเป็นครั้งแรก พร้อมผลักดันให้ "การสั่งการออกกำลังกาย" (Exercise Prescription) เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์นำไปใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการป้องกันและรักษาโรค ซึ่งได้เปิดตัวโครงการฯ ไปเมื่อเร็วๆ นี้ที่โรงแรมสยามแคมปินสกี้
ศ.นพ.อรรถ นานา คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ม.มหิดล กล่าวถึงโครงการนี้ว่า โครงการ Exercise is Medicine ก่อนตั้งโดยวิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Collge of Sports Medicine หรือ ACSM) โดยมีเดอะโคคา-โคลา คอมพะนี เป็นหนึ่งในองค์กรร่วมก่อตั้ง มีวัตถุประสงค์จากกหลายๆ โรคที่คนไข้ป่วยนั้น สามารถฟื้นฟูสภาพให้ดีขึ้นได้โดยใช้การออกกำลังกาย หรือการมีกิจกรรมทางกายที่สม่ำเสมอเป็นระยะเวลายาว จะสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ อาทิ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน, เบาหวาน, กระดูกพรุน เหตุนี้ วิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาแห่งสหรัฐอเมริกา จึงรณรงค์ให้เกิดการใช้กิจกรรมทางกายมารักษาหรือป้องกันโรคและมีแพทย์ท่านหนึ่งได้จุดประกายให้กับโครงการ Exercise is Medicine โดยการนำใบสั่งยามาจดสั่งการออกกำลังให้คนไข้ เช่น ออกกำลังครั้งละ 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลปรากฏออกมาพบว่า คนไข้มีน้ำหนักตัวลดลง น้ำตาลลดลงกว่าเดิม ดังนั้น โครงการนี้จึงเป็นโครงการที่ให้ความรู้และกระตุ้นให้บุคลากรสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องว่า ต้องบอกคนไข้ถึงชนิดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
อ.อรรถยังกล่าวต่อว่า ระยะแรกของโครงการ "Exercise is Medicine" ในไทยนั้น ได้ตั้งเป้าจัดการประชุมอบรมเชิงปฏิวัติการต่อเนื่อง เพื่อจะนำไปสู่การ "สั่งการออกกำลังกาย อย่างไรให้เหมาะสมกับคนไข้" แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเพิ่มทักษะในระดับที่สามารถกำหนดการออกกำลังกายให้คนไข้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ โดยหวังว่า โครงการนี้จะทำให้เกิดผลดีกับประชากรไทยส่วนรวมทำให้สุขภาพของเราทุกคนดีขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556 หน้า 24
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้