4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สาธารณสุขเร่งปฏิรูปกระทรวง

          จากข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทย สูงถึงปีละกว่า 3 แสนล้านบาท ก็พอจะบอกได้ว่า แต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริง ซึ่งจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นทาง คือ การปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของการให้บริการ ลดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ และส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี พร้อมการพัฒนาระบบบริการที่มีอยู่ ให้มีศักยภาพในการให้บริการที่กว้างขวางและครอบคลุม

          นพ.ประดิษฐ สินธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แผนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2556-2560 ถือเป็นการปฏิวัติระบบสุขภาพประเทศไทยครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้การรักษาพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพเข้าถึงประชาชนทุกระดับ ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยมุ่งพัฒนาความเชี่ยวชาญระบบบริการใน 10 สาขาหลัก ได้แก่ สาขาหัวใจและหลอดเลือด สาขามะเร็ง สาขาทารกแรกเกิด สาขาอุบัติเหตุ สาขาจิตเวช สาขาบริการหลัก 5 สาขาได้แก่ สูติกรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม กระดูกและข้อ สาขาบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และดูแลสุขภาพองค์รวม สาขาทันตกรรม สาขาไตและตา และสาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

          "แผนการปฏิรูประบบสุขภาพระบบบริการสุขภาพ ไม่เน้นไปที่การรักษาเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการ ส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอีกด้วย ซึ่งการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของประชาชนชาวไทยลดอัตราตายให้อยู๋ในระดับมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดไม่เจ็บป่วยด้วยโรค ที่สามารถป้องกันได้และหากเจ็บป่วยก็ได้รับการดูแล ที่ดีมีมาตรฐาน มีระบบส่งต่อที่มีคุณภาพ ซึ่งจุดประสงค์หลักของการปฏิรูป คือไม่ให้ประชาชนต้องรอคิวนาน มาหาหมอต้องเจอหมอ มารักษาก็ต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว ประชาชนต้องได้ยาดีเหมือนกัน" นพ.ประดิษฐ กล่าว
          "หลังปฏิรูปแล้ว ประชาชนต้องได้รับบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้น ทั่วถึงเป็นธรรมมากขึ้น คุณาพชีวิตของประชาชนและสุขภาพดีขึ้น และภายในทศวรรษต่อไปคนไทยจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น ภายใต้แนวคิดสุขภาพดี เริ่มต้นที่ กระทรวงสาธารณสุข"


          ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเกี่ยวกับนโยบายปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข ว่าจะมีการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการลงไปในระดับพื้นที่โดยแบ่งพื้นที่บริการสุขภาพของประเทศออกเป็น 12 เขตบริการสุขภาพ (และ 1 เขต กทม.) แต่ละเขตบริการสุขภาพจะดูแลประชากรประมาณ 4-6 ล้านคน ซึ่งเป็นขนาดที่ดูแลได้ทั่วถึง และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ในแง่ของการลงทุนด้านงบประมาณ ในการพัฒนาศักยภาพของแต่ละเครือข่ายให้สามารถให้บริการโรคที่มีความซับซ้อน หรือต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้ เช่น ผ่าตัดหัวใจ รักษาโรคมะเร็ง การปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น

          สำหรับเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูประบบ บริการสุขภาพนี้ นพ.ณรงค์ กล่าวว่าการจัดระบบ บริการสุขภาพดังกล่าวจะช่วยลดอัตราการตายด้วย โรคสำคัญๆที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ โดยเขตบริการสุขภาพทั้ง 12 เขต จะดำเนินการบริหาร จัดการร่วมกันตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 10 สาขา ข้อดีของการบริหารจัดการในรูปแบบเขตบริการ คือ ลดการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด โดยให้สถานบริการในแต่ละเขตบริการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และมีการวางแผนพัฒนาสถานบริการในเครือข่ายตามลำดับความสำคัญ เป็นการใช้งบประมาณในการพัฒนาอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ การมอบอำนาจการตัดสินใจให้เขต ทำให้การบริหารจัดการในเขตรวดเร็วขึ้น และทุกคนได้มีส่วนร่วมในการบริหาร มากกว่าการรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจไว้ที่กระทรวง

          ทั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการในพื้นที่ โดยมีคณะกรรมการระดับอำเภอเป็นกลไกสำคัญ ส่วนในระดับเขต จะมีคณะกรรมการระดับเขตซึ่งมีผู้ตวจราชการเป็นหัวหน้าคณะ เป็นกลไกในการบริหารโดยกระทรวงสาธารณสุขจะทำหน้าที่กำหนดนโยบาย วางมาตรฐาน ติดตาม กำกับ รวมทั้งจัดระบบเฝ้าระวังให้มีการดำเนินงานตามที่กำหนด พูดง่ายๆ ก็คือเราต้องการ ลดป่วย ลดตาย ลดรอคอย ลดค่าใช้จ่าย และบริการได้มาตรฐาน ซึ่งจะเป็น ความยั่งยืนของระบบบริการสุขภาพของคนไทย ในอนาคต" นพ.ณรงค์ กล่าวในตอนท้าย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556  หน้า 14

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้