4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

เอ็นจีโอเดินหน้ายกเลิก 'แร่ใยหิน' คปก.ชี้ช่องใช้กม.ร้องศาลปกครอง

          นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน กล่าวถึง ความเคลื่อนไหวในส่วนของภาคประชาชน เกี่ยวกับการเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้ แร่ใยหินที่เป็นอันตรายก่อให้เกิด มะเร็งว่า เป็นที่น่าเสียดายที่กฎหมาย ต่างๆ เกี่ยวกับการยกเลิกแร่ใยหินไม่ถูกภาครัฐนำมาบังคับใช้เท่าที่ควร แม้ว่าในขณะนี้มีการรณรงค์ที่กว้างขวางมาก และนำไปสู่องค์ความรู้และข้อมูลที่เกิดจากการวิจัยก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันพบว่าแนวโน้มของผู้ป่วยกำลังจะมีจำนวนเติบโตขึ้นมากอย่างน่าใจหาย โดยเฉพาะกลุ่มที่ประกอบอาชีพ และกลุ่มผู้บริโภคที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง

          นางสุนี กล่าวว่า ที่ผ่านมาการขับเคลื่อนของเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย(ทีแบน) และ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ที่มีมติไปถึงรัฐบาลให้ดำเนินการเพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ กลับไม่ได้รับการตอบรับ เท่าที่ควร โดยเฉพาะในโครงการต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งการใช้วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างในแต่ละทีโออาร์ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน ซึ่งเรื่องนี้ เป็นเรื่องของสิทธิในส่วนของประชาชนที่สามารถยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ โดยมีกฎหมายกองทุนเงินทดแทน และกฎหมายองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคเข้ามาเกี่ยวข้อง
          ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นการขับเคลื่อนในสองมิติ คือทั้งในส่วนของกระบวนการยุติธรรม และในส่วนของการขับเคลื่อนทางสังคม เพื่อให้เกิดความ ตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันต่อสุขภาวะอนามัยของผู้ประกอบอาชีพและ ผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายใหญ่ที่จะให้ภาครัฐ เล็งเห็นความสำคัญ และหันกลับมาเดินหน้ายกเลิกการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย

          ด้าน นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังหารือกับ รมว.สาธารณสุขเกี่ยวกับข้อสรุปในการนำเสนอ ครม.เพื่อยกเลิกแร่ใยหินว่า ล่าสุดยังไม่มีความคืบหน้าและผลสรุปที่ชัดเจนจากกระทรวงสาธารณสุข ทางเครือข่ายจึงเตรียมที่จะเคลื่อนไหวไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อทวงถามความคืบหน้า พร้อมกับเร่งการรณรงค์ให้ภาคเอกชนร่วมมือกันยกเลิกการใช้แร่ใยหิน เพื่อให้ภาครัฐหันมาตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องนี้
          "มีแนวโน้มความเป็นไปได้สูงที่พิษภัยจากแร่ใยหิน ซึ่งแต่เดิมจะส่งผลกระทบเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบอาชีพก่อสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง กำลังลุกลามเข้าสู่กลุ่มผู้อยู่อาศัยในครัวเรือน และแนวโน้มของตัวเลข ผู้ป่วยจากงานวิจัยมีผลให้ต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวต่อต้านการใช้แร่ใยหินในมิติใหม่ ซึ่งต้องการให้ยกเลิกการใช้วัสดุที่เกี่ยวข้องกับแร่ใยหินในทุกๆ โครงการ และการจัดซื้อจัดจ้าง ผ่านมาตรการทางด้านสังคมและกฎหมาย ให้กลายเป็นสำนึกแห่งความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมของภาคสังคม" นางสมบุญ กล่าว


          นางสมบุญ กล่าวว่า จะมีการใช้แนวทางในการขอความร่วมมือ และใช้หลักธรรมาภิบาลในการเข้ามาเคลื่อนไหวในหน่วยงานภาคเอกชน โดยประสานไปยังองค์กรภาคเอกชนสำคัญๆ อาทิ สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้า และตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการสร้างแนวทางยกเลิกแร่ใยหิน ส่วนในหน่วยงานภาครัฐ จะเน้นการขอความร่วมมือ และอาจมีการใช้อำนาจผ่านกระบวนการยุติธรรม ฟ้องร้องศาลปกครองให้มีการคุ้มครองชั่วคราว โดยการระงับโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน ซึ่งถือเป็นการจงใจขัดมติ ครม.ในปี 2554

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556  หน้า 10

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้