4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ตะลึง! เด็กไทยเกินล้านเข้าบ่อน-ติดหวย

           มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ร่วมกับเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์ และองค์กรภาคี จัดเวทีนโยบายสาธารณะเพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนจากการพนัน 2556 โดยมีการเสวนาในหัวข้อ "การป้องกันเด็กและเยาวชนไทยจากการพนัน ภายใต้ค่านิยมและความท้าทายในบริบทของสังคมไทย"

          นวลน้อย ตรีรัตน์ ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉายภาพผลสำรวจการเล่นพนันในเด็กและเยาวชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป พบว่า เริ่มเล่นการพนันตั้งแต่อายุยังน้อยคือ 7 ปีโดยมีเด็กและเยาวชนที่เล่นการพนันครั้งแรกอายุไม่เกิน 24 ปี มากถึง 63% หรือ 2.8 ล้านคนของเด็กและเยาวชนในประเทศของเราเริ่มเล่นการพนันแล้ว โดยการพนันที่เด็กและเยาวชนเล่นมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ หวยใต้ดิน ที่เล่นมากถึง 1 ล้านคนรองลงมาคือสลากกินแบ่งรัฐบาลที่เล่นมากถึง 9 แสนคน ตามมาด้วยการพนันในบ่อนที่เล่นมากถึง 7 แสนคน และการเล่นการพนันฟุตบอลที่เด็กและเยาวชนเล่นถึง 4 แสนคน

          นอกจากนี้แล้ว ยังมีผลสำรวจล่าสุดที่ได้จัดทำมาเฉพาะในปี 2556 นี้ คือการสำรวจสถานการณ์การเล่นการพนันในนักศึกษาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด พบสถิติของนักศึกษาที่เล่นการพนันมีมากถึง 29.2% โดยการพนันที่นักศึกษาเล่นมากที่สุด 5 อันดับคือ 1.ไพ่ 2.บิงโก 3.หวยใต้ดิน 4.สลากกินแบ่งรัฐบาล 5.การพนันฟุตบอล โดยเฉพาะการพนันฟุตบอล ช่องทางที่นักศึกษาใช้ในการรับข้อมูลคือสื่อออนไลน์สื่อโทรทัศน์ และสื่อหนังสือกีฬาผลกระทบจากการพนันฟุตบอลทำให้นักศึกษาประสบปัญหาจากการพนัน30% ประสบปัญหาทางการเงินจากการพนัน 11%และในจำนวนนี้แก้ปัญหาโดยการกู้ยืมเงิน 69%


          ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนกล่าวว่า การแก้ปัญหาการพนันปัจจุบันเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ซึ่งผลการสำรวจพบว่า คนที่เล่นการพนัน 1 คน จะส่งผลกระทบต่อคนอีก 8 คนที่ไม่ได้เล่นการพนัน ทั้งปัญหาในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นการแก้ปัญหาในการเล่นการพนันจริงๆ จะต้องแก้ที่ต้นเหตุเพื่อหยุดปัญหา
          ธีรารัตน์ ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาการพนันในประเทศที่จริงจังอย่าง นิวซีแลนด์ ในปี ค.ศ. 2001 รัฐบาลที่นั่นได้ประกาศให้ปัญหาการพนันเป็นปัญหาสาธารณสุข และจัดทำนโยบายระดับชาติเพื่อแก้ไขปัญหาการพนัน และมีโครงการชื่อ"When is it not a game" หรือ เมื่อไรที่ไม่เรียกว่าเกมโดยใช้บรรจุเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนให้กับเด็กเพื่อให้รู้เท่าทันปัญหาการพนัน


          นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังได้จัดทำแผนบูรณาการเพื่อลดปัญหาการพนันให้เหลือน้อยที่สุด ขณะที่รัฐบาลยังได้จัดตั้งองค์กรอิสระในชื่อPGFNZ เพื่อให้คำปรึกษากับเยาวชนในสื่อสังคมออนไลน์และยังมีการปรับแก้กฎหมายการพนันในปี ค.ศ. 2013 โดยกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ที่จะเล่นการพนันจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี หากผู้ประกอบการการพนันปล่อยให้เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี เข้าเล่น จะมีความผิดทางอาญา รวมทั้งมีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีกับธุรกิจการพนันทุกๆ 3 ปี โดยหากได้รับเรื่องร้องเรียนจากธุรกิจการพนันประเภทใดมากที่สุด ก็จะจัดเก็บภาษีจากการพนันชนิดนั้นมากขึ้นด้วย เพื่อนำเงินไปแก้ปัญหาการพนัน

          วัลลภ ตังคณานุรักษ์  กรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า การพนันถือเป็นต้นตอที่ทำให้เกิดการทุจริตการคอร์รัปชั่นตามมา ปัญหาของการพนันนั้นไม่ได้กระทบแค่คนคนเดียว แต่จะกระทบกับผู้คนหลากหลายส่วนที่อยู่ในครอบครัวของผู้ที่เล่นการพนัน จากการลงพื้นที่พบว่าผู้หญิงจะชอบเล่นไพ่เป็นวงเล็กๆ ครั้งละ 30-40 บาท หากแต่เล่นบ่อย ส่วนผู้ชายชอบเล่นม้า เล่นครั้งเดียว แต่เล่นจนหมดตัว จึงจำเป็นต้องเร่งหาหนทางป้องกันให้เด็กและเยาวชนของเราไม่ให้เข้าสู่วงจรของการพนันให้ได้

          วิเชียร ตันศิริคงคล  คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ภาครัฐปล่อยปละละเลยปัญหาการพนันจึงแก้ไม่ได้ โดยเฉพาะปัจจุบันร้านอินเทอร์เน็ตบางร้านก็ถูกแอบแฝงให้เป็นบ่อนกาสิโนและกาสิโนออนไลน์ก็ถูกย่อขนาดลงมาให้อยู่ในโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ทำให้การเข้าถึงการพนันง่ายขึ้น ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งเชื่อว่าพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กและเยาวชนที่กำลังปรับแก้อยู่ขณะนี้จะช่วยสร้างความหวังให้สังคมไทยเรื่องการแก้ปัญหาการพนันได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556  หน้า 6

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้