4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สธ.เร่งอพยพ 6 กลุ่มเสี่ยงหนีน้ำตั้งโรงพยาบาลสนามที่ปราจีนบุรี 2 แห่ง

          นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่า ขณะนี้ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดที่ประสบภัย จัดส่ง หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกดูแลรักษาผู้เจ็บป่วย ป้องกันโรคติดต่อที่มากับน้ำท่วม และแจกยาชุดน้ำท่วม ให้ผู้ประสบภัยไว้ใช้ดูแลสุขภาพเบื้องต้นหากเจ็บป่วย ในระหว่างมีน้ำท่วมขัง โดยพบผู้ป่วยเฉลี่ยวันละ 3,400 ราย ส่วนใหญ่น้ำกัดเท้า และบางพื้นที่เริ่มพบ โรคตาแดงบ้างประปราย ไม่มีปัญหาแพร่ระบาด ส่วนใหญ่ติดเชื้อจากการเล่นน้ำ

          สำหรับการรับมือที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมี พื้นที่น้ำท่วมซ้ำ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.กบินทร์บุรี อ.ศรีมหาโพธิ อ.เมือง อ.ศรีมโหสถ อ.ประจันตคาม และอ.บ้านสร้าง กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดแผน 3 แผนรับมือ คือ 1.ได้ระดมหน่วยแพทย์สนามจากจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ระยอง มาช่วยจัดบริการรักษาพยาบาลที่จังหวัดปราจีนบุรี โดยได้ตั้งโรงพยาบาลสนามเพิ่ม 1 แห่ง ที่บริเวณสี่แยกอ.กบินทร์บุรี เนื่องจากประชาชนเดินทางไปโรงพยาบาลกบินทร์บุรียากลำบาก โดยมีแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขจากโรงพยาบาลกบินทร์บุรี และชลบุรี รวม 15 คน ให้บริการรักษาโรคทั่วๆ ไป ทำแผลตลอด 24 ชั่วโมง มีรถพยาบาลฉุกเฉินประจำการ ในการส่งต่อผู้ป่วย เริ่มให้บริการตั้งแต่วานนี้ มีผู้ป่วย 150 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัด น้ำกัดเท้า ส่วนโรงพยาบาลกบินทร์บุรี เปิดให้บริการปกติ และได้สำรองยาเวชภัณฑ์ใช้การได้ 2 เดือน โดยมีรถยกสูง ของทหารคอยรับส่งผู้ป่วย วันนี้จะตั้งโรงพยาบาลสนาม เพิ่มอีก 1 แห่ง ที่อ.ศรีมหาโพธิ โดยตั้งที่ตลาดท่าประชุม เป็นหน่วยแพทย์สนามจากโรงพยาบาลระยอง
          2.ให้เร่งอพยพกลุ่มเสี่ยง 6 กลุ่มออกจากพื้นที่ประสบภัยและพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคลมชัก คนพิการหรืออัมพาต ให้หมดภายใน 1-2 วันนี้ เพื่อให้ปลอดภัยที่สุด เนื่องจากหากเจ็บป่วยช่วงกลางคืนจะมีความยากลำบากในการดูแล รอบแรกนำออกจากพื้นที่แล้วเกือบ 10,000 ราย ส่วนใหญ่จะอยู่บ้านญาติ ที่เหลือ อยู่ในจุดอพยพและที่โรงพยาบาล และ 3.ให้จัด หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพื้นที่น้ำท่วมสัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่น้ำลึกมากให้ออกหน่วยถี่ขึ้น และให้ส่งหน่วยเยี่ยมบ้านดูแลผู้ที่ยังอยู่ในบ้านที่น้ำท่วมอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำเรื่องอาหารกล่องให้ติดวันที่ผลิตและเวลาที่ควรบริโภค เพื่อป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 หน้า 21

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้