4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

งานสอนและงานวิจัย สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัย

Teaser: 
ในเดือนกันยายน พ.ศ.2551 ที่กำลังจะมาถึงนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จะจัดประชุมวิชาการประจำปีขึ้นอีกครั้ง นับเป็นความพยายามที่น่าชมเชยของ วช. ในการส่งเสริมและเผยแพร่การวิจัยในประเทศไทยโดยมีการประสานหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

          ในเดือนกันยายน พ.ศ.2551 ที่กำลังจะมาถึงนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จะจัดประชุมวิชาการประจำปีขึ้นอีกครั้ง นับเป็นความพยายามที่น่าชมเชยของ วช. ในการส่งเสริมและเผยแพร่การวิจัยในประเทศไทยโดยมีการประสานหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

          ในปีที่ผ่านมา มีเวทีอภิปรายย่อยที่พูดคุยในประเด็นเรื่อง แผนพัฒนานักวิจัยไทยและผมได้มีโอกาสได้ร่วมอภิปรายด้วย ประเด็นที่ผมนำเสนออาจไม่สำคัญเท่ากับประเด็นคำถามที่มีหลังจากผู้อภิปราย ทุกคนนำเสนอเสร็จ ผมจำได้ว่ามีอาจารย์จากวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหลายแห่งสะท้อนเป็นเสียง เดียวกันว่า พวกเขาอยากทำงานวิจัยแต่สถาบันต้นสังกัดไม่สนับสนุน เหตุผลหนึ่งที่ใช้อ้างเพื่อไม่สนับสนุนคือ การทำงานวิจัยทำให้กระทบต่องานสอนที่อาจารย์เหล่านั้นต้องรับผิดชอบ

          ผมเข้าใจว่า ข้ออ้าง (ที่ไม่สนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัย) นี้เกิดจากวิธีคิดที่มองการสอนและการวิจัยของอาจารย์เป็นงานที่แยกจากกัน การจะสอนให้นิสิต/นักศึกษาของสถาบันมีความรู้ได้ สถาบันและอาจารย์ก็ต้องมีความรู้ แล้วความรู้ที่ว่านี้มาจากไหน สิ่งที่ทุกสถาบันยอมลงทุนคือ การส่งเสริมให้อาจารย์ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหรือเอกเพิ่มมากขึ้น หรือรับคนที่เรียนจบปริญญาโท/เอก แล้วเข้ามาทำงานกรณีที่เป็นสถาบันเปิดใหม่ ความรู้ที่ใช้ในการสอนจึงเป็นความรู้ที่อาจารย์ได้มาจากการเรียน (ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาโทหรือเอก) ลองนึกดูนะครับว่า หากอาจารย์จบการศึกษามานาน หรือจบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่มีบริบทต่างจากบ้านเรา ความรู้ที่นิสิต/นักศึกษาจะได้รับคืออะไร?

          หากมองการวิจัยเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ โดยเป็นความรู้ที่เหมาะสำหรับการพัฒนาบ้านเมืองของเรา นอกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ความรู้ดังกล่าวไปใช้แล้ว มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาเองก็ได้ใช้ความรู้นี้ในการสอนนิสิต/นักศึกษา ด้วย มหาวิทยาลัยและสถาบัน การศึกษาต่างๆ จึงน่าที่จะสนับสนุนให้อาจารย์ทั้งหลายทำงานวิจัยให้มากๆ โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานที่มอบหมายให้อาจารย์รับผิดชอบ (ทราบว่ามหาวิทยาลัยจำนวนมากได้เริ่มดำเนินการในแนวทางนี้แล้ว) ตรงนี้จะเป็นการสนับสนุนให้อาจารย์และสถาบันการศึกษาต่างๆ มีบทบาทในสังคมมากขึ้นด้วย

          อาจมีข้อทักท้วง เนื่องจากงานวิจัยที่รับทุนจากหน่วยงานภายนอก มักมีค่าตอบแทนสำหรับอาจารย์ที่เป็นนักวิจัยด้วย ประเด็นนี้อาจสร้างปัญหาทำให้อาจารย์สนใจแต่การทำงานวิจัย เพราะทำให้มีรายได้เสริม แต่กลับให้ความสำคัญกับการสอนลดลง เรื่องนี้หากจัดการให้ดีอาจป้องกันได้ ผมได้คุยกับอาจารย์ของมหาวิทยาลัยต่างประเทศบางคน เขามีทางออกอย่างนี้ครับ หากอาจารย์ท่านใดมีรายได้จากแหล่งอื่น (เช่นงานวิจัย) เขาจะลดส่วนเงินเดือนที่ทางมหาวิทยาลัยจ่ายให้ โดยรวมคือ รายได้ของอาจารย์เท่าเดิมตลอด (แต่รายได้ตรงนี้เฉลี่ยอาจสูงกว่ารายได้ของอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย) เพียงแต่ว่าเงินจะมาจากแหล่งไหนขึ้นกับสัดส่วนของงานที่ทำ บางแห่งจะใช้วิธีหักค่าหัวคิว (overhead cost) และใช้เงินที่ได้จากค่าหัวคิวนี้ไปจ่ายเพิ่มให้กับอาจารย์คนอื่นที่อาจต้อง ทำงานสอนมากขึ้น เพราะอาจารย์อีกท่านต้องไปทำงานวิจัย ผมเข้าใจว่ามหาวิทยาลัยของเราก็มีการหักค่า overhead cost นี้เช่นกัน แต่ไม่แน่ใจว่าเงินตรงนี้นำไปใช้อย่างไร

          ปัญหาและการยกเครื่องระบบเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ อาจถึงเวลาต้องดำเนินการแล้ว หากจะหวังให้ประเทศชาติของเราพัฒนาไปโดยการใช้ความรู้ และสถาบันการศึกษาต่างๆ สามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้ป้อนเข้าสู่หน่วยงานต่างๆ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้