4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ระวังสารพัดโรคถามหา ถ้าไม่รักษา 'อนามัยช่องปาก'

          นพ.โดนัลด์ แรทคลิฟฟ์ ประธานแผนกทันตเวชกรรม ประจำโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สเตทเทน ไอส์แลนด์ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระบุว่า มีงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสุขอนามัยช่องปากของคนเราเชื่อมโยงอยู่กับโรคร้ายแรงหลายๆ อย่าง ทั้งที่เป็นเครื่องสะท้อนให้ เห็นถึงอาการป่วยด้วยโรคดังกล่าวอยู่ และที่สำคัญกว่าก็คือ การเป็นตัวการให้เกิดโรคเหล่านั้น

          กรณีแรกสุดก็คือ การเชื่อมโยงระหว่างสภาวะอนามัยช่องปากกับโรคเบาหวาน งานวิจัยของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ ได้ข้อสรุปว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมักมีปัญหาสุขภาพช่องปากร่วมด้วย ทั้งนี้ เพราะโรคเบาหวานส่งผลกระทบ ต่อการไหลเวียนโลหิตในร่างกายให้ลดลง ไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณเหงือกได้อย่างทั่วถึง ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อมากกว่าปกติ ผู้ป่วยเบาหวานยังมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะกระตุ้นการเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากได้ดีขึ้นอีกด้วย

          งานวิจัยเมื่อปี 2011 ชิ้นหนึ่ง พบว่าทันตแพทย์อาศัยการตรวจสอบจำนวนฟันและภาวะผิดปกติระหว่างเหงือกกับฟันเท่านั้นก็สามารถระบุผู้ป่วยเป็นเบาหวานได้ถูกต้องถึง 73 เปอร์เซ็นต์ หากมีการพิจารณาผลตรวจเลือดประกอบด้วยก็บอกได้แม่นยำถึง 92 เปอร์เซ็นต์

          ถัดมาเป็นเรื่องของโรคหัวใจ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าโรคปริทันต์ หรือโรคที่เกิดขึ้น กับเหงือกและเนื้อเยื่อรอบฟัน ที่เกิดจากภาวะเหงือกติดเชื้อแบคทีเรียเรื้อรัง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายหรือเกิดภาวะ "สโตรก" ให้กับคนเรามากขึ้น

          เมื่อปี 2003 มีการนำงานวิจัย 9 ชิ้น กลับมา ทบทวนใหม่ร่วมกัน ผลปรากฏว่าข้อมูลจากงานวิจัยทั้งหมด แสดงว่าผู้ที่เป็นโรคปริทันต์มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือด (คาร์ดิโอวาสคูลาร์ ดิซีส) เพิ่มมากขึ้นถึง 19 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไป การเชื่อมโยงดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุใด นักวิจัยยังไม่แน่ชัดนัก มีบางคนเชื่อว่าเพราะโรคปริทันต์ไปเพิ่มการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นการ เพิ่มปัจจัยให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น นักวิจัยบางคนชี้ว่าแบคทีเรียในช่องปากอาจหลุดเข้าไปในกระแสเลือดแล้วทำให้เกิดอาการอุดตันเพิ่มมากขึ้น แต่สมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน (เอเอชเอ) แย้งว่า ยังคงเร็วเกินไปที่จะสรุปถึงความ เชื่อมโยงดังกล่าว และยกเหตุผลมาอ้างว่าโรคปริทันต์ และโรคหัวใจมีปัจจัยร่วมกันหลายประการ อาทิ การสูบบุหรี่ ภาวะสูงอายุ และเบาหวาน ทำให้ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจมีแนวโน้มที่จะเป็นปริทันต์ด้วย

          แต่โรคหัวใจบางอย่าง เช่น โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ (เอนโดคาร์ดิทิส) ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากแบคทีเรีย (รวมทั้งแบคทีเรียจากช่องปาก) ที่หลุดเข้าไปในกระแสเลือดแล้วเข้าถึงหัวใจ เป็นต้น

          ยังมีงานวิจัยที่พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์ที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ เสี่ยงต่อการคลอดลูกก่อนกำหนดเพิ่มมากขึ้น นักวิจัยหลายคนเชื่อว่าเป็นเพราะการติดเชื้อไปกระตุ้นให้เกิดการเจ็บท้องคลอดนั่นเอง ในขณะที่งานวิจัยในออสเตรเลียเมื่อปี 2011 พบว่าผู้หญิงที่เป็นโรคปริทันต์ตั้งครรภ์ได้ยากกว่าผู้หญิงทั่วไปอีกด้วย

          นอกจากนั้น ยังมีงานวิจัยทางการแพทย์เมื่อปี 2012 ที่บ่งชี้ว่าแบคทีเรียในช่องปากอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคไขข้อ จำพวกโรคกระดูกข้ออักเสบ ข้อเสื่อม และรูมาตอยด์ เพราะตรวจพบเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก ในน้ำไขข้อของผู้ป่วยดังกล่าว

          สุดท้ายคือโรคปอด ที่มีงานวิจัยพบว่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก อาจก่อให้เกิดโรคปอดได้ จากการที่เชื้อเหล่านั้นผ่านเข้าไปกับลมหายใจเข้าไปติดเชื้ออยู่ในปอด ตั้งแต่การเป็นนิวมอเนีย หรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ที่พบมากที่สุดก็คือ การทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอลงนั่นเอง
 


ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 08 ตุลาคม พ.ศ. 2556 หน้า 9

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้