4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

คนกับเงิน: เริ่มต้นต้นอย่างไรในงานวิจัยระบบสุขภาพ

Teaser: 
วันที่ 28 พค. 2551 ที่ผ่านมา นักวิชาการ/นักวิจัยระบบสุขภาพจำนวนมาก ได้มาร่วมกันถกเถียงถึงบทเรียนการวิจัยระบบสุขภาพที่ผ่านมาและแนวโน้มใน อนาคต มีอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านเข้าร่วมด้วย โดยอาจารย์ประเวศ วะสี ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม

วันที่ 28 พค. 2551 ที่ผ่านมา นักวิชาการ/นักวิจัยระบบสุขภาพจำนวนมาก ได้มาร่วมกันถกเถียงถึงบทเรียนการวิจัยระบบสุขภาพที่ผ่านมาและแนวโน้มใน อนาคต มีอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านเข้าร่วมด้วย โดยอาจารย์ประเวศ วะสี ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม       

ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนถึงข้อจำกัดของการวิจัยระบบสุขภาพที่ผ่านมา (แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการสร้างความรู้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิง นโยบายหลายเรื่อง เช่น การจัดตั้งกองทุน สสส. การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การร่าง พรบ. สุขภาพแห่งชาติ ฯลฯ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณสำหรับการวิจัยที่มีค่อนข้างจำกัด ปัจจุบันเรามีการใช้งบประมาณสำหรับการวิจัยไม่ถึงร้อยละ 1 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ขณะที่องค์การอนามัยโลกเสนอให้ใช้เงินเพื่อการวิจัยด้านสุขภาพไม่น้อยกว่า ร้อยละ 2 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

        อย่างไรก็ตาม ประเด็นซึ่งที่ประชุมให้ความสำคัญมากกว่าคือ ปัญหาการขาดแคลนนักวิชาการ/นักวิจัยระบบสุขภาพทั้งจำนวนและคุณภาพ นักวิชาการอาวุโสบางท่าน เช่น อาจารย์อัมมาร์ สยามวาลา เสนอว่า ท่านไม่เคยประสบปัญหาขาดเงินทุนวิจัย เพราะในวงการวิชาการ/การวิจัยในประเทศไทย นักวิชาการค่อนข้างเป็นผู้กำหนดมากกว่าถูกกำหนด ปัญหางบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่บางปีใช้ไม่หมด น่าจะสะท้อนปัญหาการขาดแคลนนักวิจัย (มากกว่าการขาดงบวิจัย) ได้เป็นอย่างดี

แต่ประเทศเราก็มีผู้ที่จบระดับปริญญาเอกและปริญญาโทจำนวน มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำอย่างไรจึงจะให้บุคลากรเหล่านี้ช่วยขยายศักยภาพงานวิจัยระบบสุขภาพของ ประเทศได้ ข้อจำกัดอยู่ตรงไหน นี่อาจเป็นประเด็นคำถามการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการวิจัยสุขภาพได้ประเด็น หนึ่ง

        บางท่านเสนอว่า เราต้องสร้างนักวิจัยจากปฏิบัติการจริง (ลงไปคลุกกับฝุ่น) ควบคู่ไปกับการเรียนสถาบัน ทั้งนี้ต้องมีนักวิจัยอาวุโสที่พร้อมจะอุทิศตนเป็น "พี่เลี้ยง (mentor)" สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพดังกล่าว มีหลายสถาบันที่ได้นำร่องการพัฒนาในรูปแบบนี้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี อาทิเช่น หน่วยระบาดวิทยาที่ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ , IHPP (International Health Policy Program) ,HITAP (Health Intervention and Technology Assessment Program) และ FETP (Field Epidemiology Training Program) แต่การจะทำอย่างดีได้ก็ต้องการใช้เงินทุนสนับสนุนเช่นกัน

สรุปแล้ว จะสร้างคนก็ต้องใช้เงิน จะใช้เงินวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพก็ต้องใช้คนที่มีคุณภาพ แล้วเราจะเริ่มต้นอย่างไรกันดี?

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้