ข่าว/ความเคลื่อนไหว
ระยะ หลัง สวรส. และเครือข่ายฯ มักได้รับการร้องขอจากหน่วยงานต่างๆ ให้ช่วยประเมินนโยบายทั้งก่อนและหลังดำเนินงานอยู่เสมอๆ นับเป็นแนวโน้มที่ดีที่หน่วยงานต่างๆ ใช้งานวิจัยสนับสนุนการตัดสินใจมากขึ้น การประเมินนโยบายก่อนดำเนินงาน (analysis for policy) มักจะเป็นการประเมินความเป็นไปได้ของนโยบาย (feasibility analysis) และผลกระทบของทางเลือกนโยบายนั้นๆ (policy option analysis) เพื่อตัดสินใจว่าควรดำเนินนโยบายนั้นหรือไม่และด้วยทางเลือกใด
ปัญหาที่อาจพบในการประเมินประสิทธิผลของนโยบายคือ การกำหนดเป้าหมายหรือผลลัพธ์ (output) ของนโยบายไม่เหมาะสมทั้งประเภทและจำนวน เรามีนโยบายกระจายอำนาจโดยถ่ายโอนสถ
านี อนามัยไปอยู่กับ อบต. แต่หากนโยบายดังกล่าวกำหนดเป้าหมายไว้ที่การสร้างความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ สถานีอนามัยที่มีการถ่ายโอน ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะเป้าหมายการกระจายอำนาจอยู่ที่การทำให้ระบบบริการสุขภาพมีการตอบสนอง ต่อความต้องการของประชาชนมากขึ้น ประชาชนพึงพอใจมากขึ้น การประเมินผลจึงควรวัดที่ความพึงพอใจของประชาชนมากกว่าความพึงพอใจของ เจ้าหน้าที่
ตัวอย่างรูปธรรมอีกกรณี คือ นโยบายด้านงบประมาณซึ่งมักจะมีการกำหนดเป้าหมาย (ตัวชี้วัด) อยู่ที่ความสามารถในการใช้เงินให้หมดในกรอบเวลาที่กำหนด โดยไม่สนใจว่าการใช้เงินนั้นจะทำให้เกิดกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวมมาก น้อยเพียงไร ผลที่ตามมาคือ มีการใช้จ่ายงบประมาณในช่วงปลายปีจำนวนมากในกิจกรรมฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ฯลฯ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายนั้นๆ (ใช้เงินได้ตามเป้าหมาย)
ใน ฐานะของนักวิจัยประเมินผล ควรทำการประเมินโดยยึดเป้าหมาย (ทั้งประเภทและจำนวน) ของผู้กำหนดนโยบายเป็นหลัก หรือจะกำหนดเป้าหมายของนโยบายดังกล่าวขึ้นเอง โดยคำนึงถึงหลักของเหตุผล ความเหมาะสมต่างๆ หากประเมินผลตามเป้าหมายที่นักวิจัยกำหนดขึ้นเอง จะเป็นธรรมสำหรับผู้กำหนดนโยบายหรือไม่? เพราะประเมินนโยบายในสิ่งที่ผู้กำหนดนโยบายไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้