4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สวรส. ติวเข้มกรรมการจริยธรรมภาคประชาชน เสริมองค์ความรู้คุ้มครองอาสาสมัครวิจัย พร้อมสร้างมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยของประเทศ

          กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่เป็นภาคประชาชน หรือที่เรียกว่า Layperson มีบทบาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ โดย Layperson นับเป็นตัวแทนหลักที่สะท้อนมุมมองของอาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัย และให้ความคิดเห็นที่คำนึงถึงความเป็นมนุษย์เป็นสำคัญ ถือได้ว่าเป็นกลไกสนับสนุนการสร้างมาตรฐานงานวิจัยที่มีคุณภาพ มีความถูกต้อง ทั้งทางวิชาการและจริยธรรมการวิจัย เพื่อให้ข้อมูลการวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนอาสาสมัครมีความปลอดภัยตลอดกระบวนการวิจัย

          ทั้งนี้การสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน เป็นอีกภารกิจสำคัญของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดย สวรส. ได้ร่วมกับมูลนิธิ SIDCER-FERCAP เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจริยธรรมในการทำวิจัยในมนุษย์ จัดการประชุมสรุปผลการพัฒนาศักยภาพกรรมการจริยธรรมที่เป็นผู้แทนภาคประชาชน รุ่นที่ 2 ซึ่งมีวิทยากรร่วมให้ความรู้อย่างเข้มข้น อาทิ ศ.ดร.พญ.จันทรา เหล่าถาวร มูลนิธิ SIDCER-FERCAPฯ, ศ.พญ.ขวัญชนก ยิ้มแต้ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, ผศ.ดร.ภญ.สุพัตรา ปรศุพัฒนา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาขอนแก่น, ผศ.ดร.พญ.พรรณทิพา ว่องไว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รศ.ดร.ประทุม สร้อยวงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยก่อนหน้านี้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบ onsite จำนวน 1 ครั้ง เมื่อช่วงเดือน เม.ย. 2567 และมีการประชุมติดตาม ประเมินผลการพัฒนาศักยภาพมาอย่างต่อเนื่องทุกเดือนในรูปแบบ online จำนวน 5 ครั้ง จนมาถึงวันสรุปผลการพัฒนาศักยภาพฯ ทั้งนี้ในรุ่นที่ 2 มีกรรมการจริยธรรมที่เป็นผู้แทนภาคประชาชนสังกัดหน่วยงานต่างๆ อาทิ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, โรงพยาบาลกรุงเทพ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ขอนแก่น, มูลนิธิสุขภาพไทย, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, กรมแพทย์ทหารบก, มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันประสาทวิทยา, โรงพยาบาลหาดใหญ่, สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, กรมควบคุมโรค,  ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฯลฯ เข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 53 คน เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น
 
          นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กล่าวเปิดการประชุมช่วงหนึ่งว่า ขณะนี้ ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง (Upper middle-income countries) ซึ่งการจะเพิ่มรายได้ต่อหัวประชากรนั้น การลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) และเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศและยกระดับเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ แต่ประเทศไทยยังลงทุนเรื่อง R&D ค่อนข้างน้อย เพียงแค่ 1% กว่าๆ ของ GDP และส่วนใหญ่ลงทุนโดยภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐ ซึ่งตัวเลขการลงทุนเรื่อง R&D ดังกล่าว เป็นกับดักที่ทำให้ประเทศไทยยังไม่สามารถพัฒนาไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง ส่วนงานวิจัยที่จะสามารถไปแข่งขันและเพิ่มรายได้ให้กับประเทศได้นั้น คำว่า มาตรฐานสำคัญที่สุด ซึ่งประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่พยายามพัฒนามาตรฐานการวิจัยมาโดยตลอด แต่ในส่วนของกระบวนการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ยังมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก สวรส. จึงเห็นความสำคัญที่จะพัฒนากระบวนการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ให้เป็นมาตรฐานและเป็นแนวทางของประเทศ โดยมีการปกป้องอาสาสมัครวิจัย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มที่แปลกแยกให้ได้รับการดูแลอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานตลอดกระบวนการวิจัย ซึ่งรวมถึงผลกระทบทางสังคมที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นกรรมการที่เป็นตัวแทนจากภาคประชาชนมีส่วนสำคัญในการช่วยทำให้งานวิจัยเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งการพัฒนาศักยภาพดังกล่าว เป็นทั้งการสนับสนุนความรู้ สร้างความมั่นใจที่ถูกต้อง และสร้างเครือข่ายให้กับผู้แทนภาคประชาชน นับเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา R&D ของประเทศ 

          ด้าน ดร.ภญ.นพคุณ ธรรมธัชอารี ผู้จัดการงานวิจัยอาวุโส สวรส. ย้ำว่า แม้การวิจัยจะเป็นไปเพื่อหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งยังคงต้องมีอยู่ตามหลักวิชาการ แต่ก็ต้องไม่ลืมความสมดุลกับการคุ้มครองอาสาสมัคร ไม่ว่าจะเป็นในด้านความเสี่ยงและประโยชน์ที่อาสาสมัครหรือสังคมจะได้รับ ซึ่งความเสี่ยงของการวิจัยไม่ได้มีเฉพาะความเสี่ยงทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเสี่ยงทางด้านจิตใจ การรักษาความลับและคุ้มครองความเป็นส่วนตัว การขอความยินยอมที่อาสาสมัครควรให้ความยินยอมจากความเข้าใจในเนื้อหาสาระของงานวิจัยอย่างถ่องแท้ และมีอิสระในการตัดสินใจ ฯลฯ ซึ่งกระบวนการพิจารณาของกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จะส่งผลให้เกิดงานวิจัยที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

รูปภาพเพิ่มเติม
aYlNlfdX
08 พ.ย. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


aYlNlfdX
08 พ.ย. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


nZkkAbWB
14 ธ.ค. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


แสดงความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้