4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สวรส.โชว์วิจัยเด่น "สร้างธนาคารเซลล์มะเร็งจำลอง พร้อมฐานข้อมูลพันธุกรรมมะเร็งตับคนไทย ต่อยอดสู่แนวทางรักษา-เลือกยาที่เหมาะสมเฉพาะราย ในงานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)

          นับถอยหลังสู่งานมหกรรมการจัดแสดงผลงานวิจัยกว่า 1,000 ผลงาน จากเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ พร้อมการโชว์ผลงานวิจัยโดดเด่นแห่งปี เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์โลก พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม 

          ด้านสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) หนึ่งในเครือข่าย PMU ร่วมนำผลงานวิจัยเด่น “ธนาคารออกานอยด์มะเร็งตับและท่อนํ้าดี” ฐานข้อมูลพันธุกรรมที่สามารถต่อยอดพัฒนาแนวทางการรักษาและการเลือกยาที่เหมาะสมเฉพาะราย จัดแสดงในงานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 ภายใต้แนวคิด “สานพลังวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน" ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กทม.

          โดยในงาน นางสาวศุภมาส อิสรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผู้ทรงคุณวุฒิจากเครือข่ายวิจัยของประเทศ และสื่อมวลชน ได้เยี่ยมชมผลงานวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ที่นำมาจัดแสดง

ผลงานวิจัยของ สวรส. "ธนาคารออกานอยด์มะเร็งตับและท่อนํ้าดี" เป็นงานวิจัยที่สร้างธนาคารเซลล์มะเร็งจำลองสามมิติจากผู้ป่วยมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี รวมทั้งมีการเก็บข้อมูลพันธุกรรมเชิงลึก โดยใช้ Whole exome sequencing, Single cell RNA sequencing ร่วมกับ Whole genome sequencing จากโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ในเซลล์มะเร็งจำลองของผู้ป่วยแต่ละราย มีการตอบสนองต่อยามะเร็งแตกต่างกัน แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาวิธีการเลือกยามะเร็งให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้งานวิจัยยังพบตัวชี้วัดทางชีวภาพใหม่ที่ทำให้เกิดโอกาสของการพัฒนายาที่นำไปใช้ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดี ทั้งนี้เซลล์มะเร็งจำลองสามารถเป็นต้นแบบสำหรับพัฒนาระบบตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการตรวจจับเซลล์มะเร็งในเลือดได้อีกด้วย 

          ทั้งนี้ในงานแถลงข่าวฯ ดังกล่าว รศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสเต็มเซล์และเซลล์บำบัด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทยร่วมให้ข้อมูลกับผู้สนใจภายในงาน เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2567 ณ ห้อง World Ballroom ชั้น 23 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

 

รูปภาพเพิ่มเติม
aYlNlfdX
08 พ.ย. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


aYlNlfdX
08 พ.ย. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


แสดงความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้