4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สวรส. พร้อมเหล่าผู้เชี่ยวชาญจีโนมิกส์ ร่วมถอดบทเรียน 5 ปี ประเทศได้อะไร? - พร้อมผลัก PHASE 2 “ Genomics Thailand ” เพื่อคนไทยและระบบสุขภาพ

          สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2568 - 2572) เมื่อวันที่ 12 - 13 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ โรงแรมโอ๊ควู๊ด โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมี นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการ สวรส. เป็นประธานและ modulator การจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ร่วมกับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านจีโนมิกส์ หน่วยงานด้านการวิจัยและแหล่งทุนสำคัญในระดับประเทศ ตลอดจนฝ่ายการเมือง อาทิ วีรเดชน์ ไตรทศาวิทย์ คณะทำงาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์, รศ. ดร.นพ. บวรศม ลีระพันธ์, ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์, ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร, นพ.ดร.สุรัคเมธ มหาศิริมงคล, นพ.ดร.จักรกฤษณ์ เอื้อสุนทรวัฒนา, ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา, คุณบุณยวีรย์ เอื้อศิริวรรณและทีมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ     

          ในการประชุม มีการนำเสนอผลลัพธ์สำคัญภายใต้แผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ระยะที่ 1 (2563-2567) ภายใต้มาตรการ 6 ด้าน ทั้งด้านการวิจัยและการประยุกต์ใช้, ด้านการบริการ, ด้านการวิเคราะห์และจัดการข้อมูล,  ด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากร, ด้าน Ethical, Legal and Social Implications (ELSI), ด้านการสร้างเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ตลอดจนการนำเสนอผลลัพธ์ภายใต้กลุ่มโรคสำคัญ ทั้งโรคมะเร็ง, โรคหายาก โรคติดเชื้อ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเภสัชพันธุศาสตร์ รวมถึงผลสำคัญของการจัดทําฐานข้อมูล และการเตรียมการการใช้ประโยชน์ข้อมูลพันธุกรรมชาวไทย ระยะที่ 1

          ทั้งนี้ ผลลัพธ์สำคัญจากแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ระยะที่ 1 เกิดผลรูปธรรมต่อสุขภาพคนไทยและระบบสุขภาพของประเทศจำนวนมาก โดยผลดำเนินงานสำคัญภายใต้แผนฯ สามารถถอดรหัสพันธุกรรมได้กว่า 34,000 ราย โดยคาดว่าจะถึงเป้าหมาย 50,000 รายได้ตามแผนที่กำหนดไว้ การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เช่นทการตรวจยีน BRCA1/2 สําหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม/รังไข่ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเข้าเป็นสิทธิประโยชน์ให้คนไทยแล้ว โดยยังมีการศึกษาวิจัยอีกจำนวนมากที่นำเสนอสู่สปสช.แล้วโดยอยู่ระหว่างการพิจารณาเป็นสิทธิประโยชน์ต่อไป อาทิเช่น การตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ การตรวจจีโนมชิ้นเนื้อมะเร็งแบบหลายยีนเพื่อเลือกยาต้านมะเร็งแบบแม่นยํา ฯลฯ การบริการที่เกิดจากงานวิจัย เช่น บริการตรวจวินิจฉัยโรคหายาก และโรควินิจฉัยยาก บริการตรวจยีนก่อมะเร็งแบบครอบคลุม ฯลฯ ทั้งนี้ สัดส่วนของหน่วยให้บริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์ของประเทศไทย (รัฐและเอกชน) ตั้งแต่ปี 2563-2567 เกิดขึ้นจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัดราว 54 แห่งทั่วประเทศ 

          ในการประชุมในช่วงสำคัญ เป็นการระดมความคิดเห็นโดยการวิเคราะห์ SWOT การดำเนินงานที่ผ่านมา และการออกแบบกลยุทธ์ในแต่ละมาตรการ/เป้าหมายสำคัญ โดยพัฒนาเป็นร่างแนวทางขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 อาทิเช่น มาตรการวิจัยและการประยุกต์ใช้ กำหนดให้มีการค้นคว้าและพัฒนาการวิจัยการแพทย์จีโนมิกส์ เพื่อสร้างนวัตกรรม ผลักดันสู่บริการ และการมีระบบเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรค พร้อมยกระดับงานวิจัยให้มีมาตรฐานระดับโลก มาตรการบริการ โดยมุ่งให้เกิดนวัตกรรมด้านบริการทั้งกลุ่ม Newborn Sequencing, มะเร็งเด็กและมะเร็งหายาก, การตรวจทางพันธุกรรมบบเร็ว, การคัดกรอง NCD   มาตรการสร้างเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ โดยมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการการแพทย์จีโนมิกส์ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ, การประเมิน HTA เพื่อนำการตรวจจีโนมไปใช้ประโยชน์ทั้งในภาคธุรกิจและภาครัฐ  รวมทั้งการร่วมลงทุนจากภาคเอกชน

          ทั้งนี้ ข้อมูลการระดมความคิดเห็นดังกล่าว นำไปสู่การพัฒนาแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2568 - 2572) ที่สมบูรณ์ต่อไป

 

 

 

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้