Teaser:
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา Professor Andrew Green จากประเทศอังกฤษ ได้มาแลกเปลี่ยนกับทีมงานของ สวรส. และเครือข่ายฯ (ด้วยการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข) โดยเขามีข้อเสนอแนะหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำงานของ สวรส. และการแก้ไขปัญหาระบบสุขภาพของประเทศไทย
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา Professor Andrew Green จากประเทศอังกฤษ ได้มาแลกเปลี่ยนกับทีมงานของ สวรส. และเครือข่ายฯ (ด้วยการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข) โดยเขามีข้อเสนอแนะหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำงานของ สวรส. และการแก้ไขปัญหาระบบสุขภาพของประเทศไทย
ประเด็นหนึ่งที่เขาสะท้อนและอยาก หยิบขึ้นมาแลกเปลี่ยนคือ เขาสังเกตเห็นการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาในระบบสุขภาพเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ภารกิจของหน่วยงานใหม่เหล่านั้นมีหน่วยงานอื่นดำเนินการอยู่แล้ว แต่ก็จัดตั้งหน่วยงานใหม่ด้วยเหตุผล อาทิ เช่น
1) ภารกิจ นั้นต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่นนอกกระทรวงสาธารณสุขอย่างมาก เช่น การแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เชื่อมโยงกับปัญหาสังคม เศรษฐกิจ กรณีปัญหาเอดส์ ยาเสพติด โครงการเมืองไทยแข็งแรง (healthy Thailand) ฯลฯ ทำให้ต้องตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาดูแล โดยหน่วยงานใหม่นั้นมีทั้งตั้งอยู่ภายในหรือนอกกระทรวงสาธารณสุข และมีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาดูแลการแก้ไขปัญหานั้นๆ (คณะกรรมการระดับชาติมักจะมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีหน่วยงานใหม่นั้นทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ)
2) หน่วย งานเดิมไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลสารพัดตั้งแต่กำลังคนไม่เพียงพอ กฎระเบียบไม่ยืดหยุ่น การบริหารขาดประสิทธิภาพ
สำหรับเหตุผลข้อที่ 2 ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลข้อที่ 1 เป็นเหตุผลที่ฟังแล้วน่าตกใจ เพราะหากเป็นจริงเท่ากับเราเลือกที่จะไม่แก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่มีอยู่ แต่ใช้วิธีตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ภารกิจนั้นๆ ประสบความสำเร็จแทน คำถามคือ จะจัดการกับกำลังคนและทรัพยากรที่มีอยู่ของหน่วยงานเดิมอย่างไร และปัญหาต่างๆ ของหน่วยงานนั้นจะได้รับการแก้ไขหรือไม่ เพราะมีหน่วยงานอื่นรับภารกิจไปทำแทนแล้ว
สวรส. เองเป็นหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดหน่วยงานใหม่ๆ ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง จึงน่าจะได้พิจารณาทบทวนแนวคิดดังกล่าวให้รอบคอบ เพื่อให้ปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและยั่งยืนในระยะยาวต่อไป