ข่าว/ความเคลื่อนไหว
งานประชุมระดับนานาชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย พ.ศ. 2566 ภายใต้หัวข้อ “ทบทวนอดีตและแถลงการณ์สู่อนาคต” จัดโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) และองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อทบทวนความสำเร็จ ความท้าทาย และสาเหตุของปัญหาด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของแนวทางพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ทั้งในการดำเนินการระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเพิ่มการรับรู้ของสังคม ผลักดันนโยบาย และสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกันของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากทุกภาคส่วน ตลอดจนเป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ บทเรียนการดำเนินงาน และความก้าวหน้าของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย โดยคาดหวังให้การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดินหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน เป็นประโยชน์กับประชาชนทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย โดยมี รศ.นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ ณ ห้อง Infinity โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ (รางน้ำ)
โดยในการประชุมดังกล่าว Session ความสำเร็จ 2 ทศวรรษในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย: การสร้างความเป็นธรรม การมีคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการ สวรส. ได้ร่วมเวทีอภิปรายในหัวข้อ “หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: เราผ่านอะไรมา และปัจจุบันอยู่ ณ จุดใด? โดยมีผู้ร่วมอภิปราย นพ.จเด็ด ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช., น.ส.ปาริฉัตร จันทร์อำไพ ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม, นายน้อง เจริญนาค ผู้อำนวยการกองจัดทำงบประมาณด้านสังคม สำนักงบประมาณ, พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ,นายนิมิตร์ เทียนอุดม ที่ปรึกษาผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
นพ.ศุภกิจ ย้ำในเวทีอภิปรายว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือการที่ผู้ป่วยไม่มีปัญหาเรื่องภาระค่าใช้จ่ายเมื่อตอนที่เข้าถึงบริการ และต้องมีระบบบริการที่มีคุณภาพรองรับ ส่วนความครอบคลุมของระบบหลักประกันสุขภาพ ควรรวมถึงทุกคนบนแผ่นดินไทย โดยยึดหลักความเป็นธรรมเป็นเรื่องสำคัญ เพราะระบบสาธารณสุข เป็นระบบที่มีความเอื้ออาทร เป็นระบบที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นใครถ้าเจ็บป่วยบนแผ่นดินไทย ระบบหลักประกันสุขภาพควรดูแลทุกคนแบบไม่มีพรมแดน ไม่มีสัญชาติมาเป็นเงื่อนไข และไม่ได้เน้นไปที่การรักษาโรคแต่เน้นการรักษามนุษย์ที่มีความเจ็บป่วย ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เราจะช่วยกันผลักดันให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดินต่อไปให้ดีที่สุดในประเทศไทย และขอให้มีศรัทธาในการเดินหน้าต่อทำเรื่องที่เป็นประโยชน์กับประชาชน ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ ต้องมีงานวิจัยรองรับ และ สวรส.ยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย
สำหรับช่วงบ่ายเป็น Session “ความท้าทายและทางออก” โดยเป็นการประชุมกลุ่มย่อย ในหัวข้อ “การจัดลำดับความสำคัญของความท้าทายและประเด็นทางสุขภาพ ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย” เพื่อหารือข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงวิชาการ ทั้งนี้หัวข้อในการหารือมี 6 ประเด็น ได้แก่ 1) การครอบคลุมประชากร 2) การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 3) การพัฒนาบริการสุขภาพ 4) ระบบการดูแลระยะยาว 5) บริการปฐมภูมิและนโยบาย ‘บริการปฐมภูมิไปที่ไหนก็ได้’ 6) ความยั่งยืนทางการเงินการคลังด้านสุขภาพที่ตอบสนองต่อความท้าทายของระบบสุขภาพไทยในอนาคต
ทั้งนี้ประเด็น บริการปฐมภูมิและนโยบาย ‘บริการปฐมภูมิไปที่ไหนก็ได้’ ซึ่งว่าด้วยเรื่อง Primary Health Care การพัฒนาบริการปฐมภูมิและการพัฒนาบริการปฐมภูมิในเขตเมือง มีวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ รองผู้อำนวยการ สวรส. และในการประชุมกลุ่มย่อยประเด็นนี้ มีหัวข้อชวนหารือคือ การจ่ายเงินให้หน่วยบริการปฐมภูมิ, การมีส่วนร่วมของหน่วยบริการสหวิชาชีพ
1
20
1
20
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้