ข่าว/ความเคลื่อนไหว
การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2544 พรรคไทยรักไทย (ทรท) ได้เปิดศักราชใหม่ทางการเมือง ด้วยการชูนโยบายรูปธรรมที่เน้นสนองความต้องการของประชาชนในเรื่องต่างๆ และได้ทำตามที่สัญญาไว้เมื่อเข้ามาบริหารประเทศจนเป็นที่ชื่นชมของประชาชน จำนวนมาก นโยบายดังกล่าวถูกกล่าวขานในระยะต่อมาว่าเป็น “นโยบายประชานิยม (populism policy)” เพราะเป็นนโยบายที่เน้นสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนเป็นหลัก ซึ่งอาจไม่ตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว
การแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ สำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 นี้ นอกจากการแข่งขันโดยการชูบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและพร้อมจะเป็น “ผู้นำ” ประเทศคนต่อไปแล้ว การแข่งขันทางด้านนโยบายก็มีเข้มข้นไม่น้อยหน้ากัน โดยเฉพาะพรรคใหญ่ที่คาดว่าจะได้รับการเลือกตั้งเข้ามาและมีโอกาสจัดตั้ง รัฐบาล ความชัดเจนในนโยบายของพรรคการเมืองเล็กๆ มีค่อนข้างน้อย โดยพบว่าบรรดาพรรคการเมืองที่จดทะเบียนกับคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมด 68 พรรค มีเพียง 10 พรรคเท่านั้นที่มีการประกาศนโยบายอย่างเป็นทางการ
นโยบายด้านสุขภาพของพรรคการเมืองไทย
นโยบายทางด้านเศรษฐกิจเป็นนโยบายที่พบได้ในนโยบายของทุกพรรค โดยมีความชัดเจนแตกต่างกัน บางพรรคเขียนไว้สั้นๆ เพียงว่าจะปลดหนี้ประชาชนโดยการออกเป็นกฎหมาย แต่บางพรรคมีระบุรายละเอียดมาตรการไว้มากมาย พร้อมงบประมาณที่ต้องใช้ สำหรับนโยบายด้านสุขภาพซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านสังคม มีเพียง 5 พรรคการเมืองเท่านั้นที่ระบุไว้ในนโยบาย โดยสาระสำคัญของนโยบายด้านสุขภาพกล่าวโดยสรุปมีดังนี้[1]
อื่นๆ ได้แก่
ประเด็นนโยบายที่ถือได้ว่าค่อนข้างก้าวหน้า และได้หยิบประเด็นที่กำลังเป็นปัญหาและเป็นที่สนใจขึ้นมาดำเนินการได้แก่ ประเด็นเรื่องการบูรณาการการบริหาร 3 กองทุนประกันสุขภาพ การขยายความครอบคลุมประกันสังคมพร้อมปรับระบบบริหารให้โปร่งใส การร่วมจ่ายค่าบริการ การพัฒนาคุณภาพบริการของคลินิก สถานีอนามัยหรือศูนย์อนามัยชุมชน การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การบังคับใช้สิทธิ (CL) การจัดตั้งกองทุนชดเชยผู้เสียหายจากการใช้บริการ ฯลฯ ประเด็นต่างๆ เหล่านี้มีการพัฒนาข้อเสนอรายละเอียด และผู้เกี่ยวข้องได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาแล้วระดับหนึ่ง การที่พรรคการเมืองระบุประเด็นต่างๆ เหล่านี้ไว้เป็นนโยบาย น่าจะเป็นการสร้างความชัดเจนและผลักดันให้การพัฒนาประเด็นต่างๆ เหล่านั้นมีความคืบหน้ามากขึ้น ขณะเดียวกันพรรคเมืองต่างๆ ก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อเสนอรายละเอียดต่างๆ ที่มีการดำเนินการมาก่อนหน้าที่ เพื่อกำหนดนโยบายในรายละเอียดได้ไม่ยาก
การเชื่อมโยงนโยบายสุขภาพกับนโยบายด้านอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเศรษฐกิจ เป็นประเด็นที่พึงระมัดระวัง เพราะผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ได้เป็นความสำเร็จของทั้งสองนโยบายที่เป็นการหนุน เสริมซึ่งกันและกัน (synergistic effect) แต่อาจกลับกลายเป็นการนำนโยบายสุขภาพไปหนุนนโยบายเศรษฐกิจจนทำให้กระทบต่อ เป้าหมายของนโยบายสุขภาพ ตัวอย่างของนโยบายในกรณีนี้คือ นโยบายการยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของโลก หรือในชื่อที่เคยเรียกกันว่า medical hub จริงๆ แล้ว ภาคเอกชนได้ขับเคลื่อนนโยบายนี้ไปแล้วระดับหนึ่ง มีผลทำให้จำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่มาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทยเพิ่ม ขึ้น (ประมาณ 1.4 ล้านคนในปี 2549) ประมาณการรายได้เข้าประเทศจากนโยบายนี้ในปี 2551 อาจสูงถึง 40,000 ล้านบาท แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบบริการสาธารณสุขสำหรับคนไทยคือ การลาออกของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ(รวมถึงอาจารย์ แพทย์) จากรพ.รัฐไปยังรพ.เอกชนที่ให้บริการชาวต่างชาติ เนื่องจากให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่า 5-10 เท่า ขณะที่ปัจจุบันจำนวนบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉลี่ยยังต่ำกว่ามาตรฐาน นี่ย่อมส่งผลกระทบต่อการได้รับบริการของประชาชนคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เหลียวหานโยบายสร้างสุขภาวะ
นโยบายด้านสุขภาพของพรรคการเมือง ส่วนใหญ่ยังคงเน้นเรื่องการรักษาพยาบาล มีการกล่าวถึงนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพบ้าง อาทิ เช่น การส่งเสริมการออกกำลังกาย การส่งเสริมสถาบันครอบครัว การจัดตั้งศูนย์เด็กเล็ก/เด็กก่อนวัยเรียน ที่มีแปลกแหวกแนวขึ้นมาใหม่คือ แนวคิดเรื่องการสร้างศูนย์ความสุขชุมชน ศูนย์ความสุขผู้สูงอายุ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่ารูปร่างหน้าตาจะเป็นอย่างไร จะทำให้เกิดความสุขขึ้นได้จริงหรือไม่
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้