4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สคม. จับมือ สำนักผู้ตรวจฯ พัฒนาศักยภาพ คกก.จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

          เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 สถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ (สคม.) เครือสถาบันสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับสำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 4  ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักจริยธรรมที่ส่งเสริมการวิจัย   อาทิเช่น หลักการจริยธรรมการวิจัย การประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของโครงการวิจัย ข้อพิจารณาด้านจริยธรรมของกลุ่มอ่อนแอและเปราะบาง ฯลฯ   ทั้งนี้ เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการจริยธรรมการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป  ซึ่งมีวิทยากรจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยของ สคม. อาทิ นพ.วิชัย โชควิวัฒน  นพ.กรกฎ จุฑาสมิต  ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ฯลฯ โดยมีกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และเครือข่ายนักวิจัย R2R นครราชสุกาญจน์ ในโรงพยาบาลเขตจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี  ตลอดจนบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 4 กว่า 80 คนเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมราชาวดี ศูนย์ฝึกอบรมศูนย์อนามัยที่ 4 จ.ราชบุรี

          นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ (สคม.) กล่าวว่า สคม. มีนโยบายส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งใน สสจ. รพศ./รพท.  สามารถทบทวนโครงการวิจัยในมนุษย์ได้เอง เพื่อให้คณะกรรมการการวิจัยในจังหวัดสามารถติดตามดูแลการศึกษาวิจัยที่ได้รับการอนุมัติไปแล้วอย่างใกล้ชิด และสามารถลดการรวมศูนย์การทบทวนโครงการวิจัยในส่วนกลาง  โดยการพิจารณาโครงการวิจัยยึดหลักสามประการคือ หลักการเคารพสิทธิของอาสาสมัคร หลักประโยชน์ที่ได้รับ และหลักยุติธรรม  ซึ่งคณะกรรมการฯ ควรพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์และความเสี่ยงที่อาสาสมัครจะได้รับ  

          ทางด้าน ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ กล่าวถึงข้อพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยวิกฤต ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้มีมีปัญหาด้านภาษาในการสื่อสาร ซึ่งโครงการวิจัยควรระบุหลักการและเหตุผลที่พิเศษกว่าการทำวิจัยในกลุ่มไม่เปราะบาง และหากผู้ที่เปราะบางเหล่านี้ได้รับคัดเลือกเข้ามาเป็นอาสาสมัครวิจัยแล้ว  จะต้องมีการปกป้องสิทธิของคนเหล่านี้อย่างเคร่งครัดด้วย  

          ทั้งนี้ ช่วงบ่าย มีการแบ่งกลุ่มเพื่อพิจารณาโครงการวิจัย 4 กรณีศึกษา โดยนักวิจัยและคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ได้มีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการวิจัยดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจกับเรื่องดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้