ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

สวรส. เผยผลวิจัยต่างประเทศ พิสูจน์พบประสิทธิภาพกัญชากับการใช้ทางการแพทย์ เพื่อการรักษา-การเข้าถึง-และคุณภาพชีวิตผู้ป่วย

          จากที่ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ ตั้งแต่ปี 2562 ภายใต้กรอบอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. 1961 บนเจตนารมณ์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการวิจัย  โดยมีการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อกำหนดและเจตนารมณ์ดังกล่าว1 
 
          “นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กล่าวว่า “การนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ ได้พิสูจน์มาแล้วในหลายประเทศ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษา  และลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ทั้งในระดับของผู้ป่วยและระบบสุขภาพในภาพรวม  ตลอดจนทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นจากความเจ็บปวดที่ลดลงหรือสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด ทั้งนี้ “ผลการทบทวนเอกสารงานวิจัยต่างประเทศเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์” ของศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นผลวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งได้รวบรวมผลการศึกษาต่างๆ ในเรื่องประสิทธิภาพของการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ที่มีในฐานข้อมูลทั้งหมด โดยพบว่ามีถึง 20 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาความเจ็บปวด   ซึ่งผลโดยรวมระบุว่า จากส่วนประกอบของ cannabinoid สามารถลดความเจ็บปวดได้ในระดับปานกลาง  โดยเป็นความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาท หรือความเจ็บปวดเรื้อรังจากโรคมะเร็ง โรคโครห์น (Crohn’s disease) โรคลำไส้ที่มีการอักเสบ ซึ่งความเจ็บปวดดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก  นอกจากนั้น ยังพบการศึกษาประสิทธิภาพของการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ในอีกหลายกรณี เช่น  โรคเบาหวาน โดยสาร canabinoid สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยได้  ถึงแม้ว่ายังไม่พบประสิทธิภาพที่ชัดเจนของการใช้กัญชากับการลดน้ำหนัก(โรคอ้วน)หรือโรคอื่นๆ ซึ่งการวิจัยการใช้กัญชาทางการแพทย์จะมีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาแนวทางการใช้ประโยชน์กัญชาในทางการแพทย์และระบบสาธารณสุข ส่วนการควบคุมการใช้กัญชานั้นเป็นเรื่องที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมป้องกันมิให้เกิดการใช้ผิดประเภท” 
 
“การนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์” มีวิธีการใช้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรับประทาน การหยดใต้ลิ้น หรือการใช้ภายนอก โดยสารแคนาบินอยด์ในกัญชาส่วนมากจะนำมาใช้ในการรักษาโรค ซึ่งมี 2 ตัวหลัก ได้แก่ Delta-9-TH และ Delta-9-THC ที่เมื่อรับประทานเข้าไป ตับสามารถกำจัดออกจากร่างกายได้  ส่วนการใช้กัญชาด้วยวิธีการสูบนั้น พบว่าสาร
แคนาบินอยด์ที่เข้าสู่กระแสเลือดจะมีขนาดและปริมาณที่น้อยกว่าการรับประทาน  ทั้งนี้การใช้สารกัญชาในรูปแบบของสเปรย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ Nabixmols เป็นการนำเอาสารเคมีทั้งสองตัวมารวมกันในยาตัวเดียว

ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าว ได้รวบรวมและศึกษาทบทวนวรรณกรรมเพื่อหาประโยชน์และโทษของการใช้กัญชาในการรักษาโรครวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ไว้ โดยการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis) บทความที่เป็นการศึกษาแบบ Randomize control trial (RCT) เกี่ยวกับการเปรียบเทียบประโยชน์และโทษของการใช้กัญชาในทางการแพทย์ ที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2561 จากฐานข้อมูล PubMed  ที่ค้ น ห า โ ด ย ใ ช้ ค ำ ว่ า "cannabinoids" และใช้เกณฑ์ในการคัดเลือก รวมทั้งการค้นหาจากฐานข้อมูล JSTOR (ห้องสมุดดิจิตอล) 

          ซึ่งในด้านความเจ็บปวดพบ 2 งานวิจัย (งานวิจัยของ Ware et al, 2010) ที่พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดทางระบบประสาท การให้ยาแบบหนึ่งครั้งสูดดม 9.4% THC ในขนาด 25 mg ของกัญชาจำนวน 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 5 วันติดต่อกันสามารถลดความเจ็บปวดได้ อีกทั้งยังส่งเสริมการนอนหลับ และทนต่อความเจ็บปวดอีกด้วย  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Wallace et al, 2016 ในส่วนการบรรเทาอาการเจ็บปวดจากระบบประสาทที่ถูกทำลายจากโรคเบาหวาน พบว่าช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้เช่นกัน  โดยมีงานวิจัยที่ถูกนำมาศึกษา 3 งานซึ่งในงานของ Selvarajah et al., 2011 พบว่า ระดับความเจ็บปวดนั้นลดลงอย่างชัดเจน  แต่ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของระดับความเจ็บปวดนั้นไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มที่ศึกษา โดยผลลัพธ์รองในระหว่างสองกลุ่มนั้นก็ไม่พบความแตกต่าง ในขณะที่ Toth et al., 2012 ผลการศึกษาพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับการเจ็บปวดลดลง เมื่อเทียบกับยาหลอก

          งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเจ็บปวดเรื้อรังจากโรคมะเร็ง มี 2 งานวิจัย (ของ Portenoy et al., 2012 และ Johnson et al., 2010) ที่ศึกษาประสิทธิภาพของ THC และ CBD โดยทดลองด้วยการให้ยาที่เป็นสูตรผสมระหว่าง THC และ CBD ในรูปแบบของสเปรย์ที่ใช้ฉีดพ่น ในช่องปาก เมื่อมีการประเมินความเจ็บปวดโดยใช้ (NRS scale) พบว่า ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยรับรู้ถึงความรู้สึกเจ็บปวดลดลงในกลุ่มที่ให้การรักษาแบบขนาดยาที่มีปริมาณต่ำและปริมาณปานกลาง

          นอกจากนั้น การศึกษาวิจัยและทดลองในผู้ป่วยชาวอิสราเอลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผล หรือโรคที่ลำไส้มีการอักเสบ โดยที่ผู้เข้าร่วมทุกคนได้รับการรักษาด้วยกัญชาแห้ง และได้รับการแนะนำใช้ยากัญชาแบบสูดดม โดยสามารถสูดดมได้ถึง 3 ครั้งต่อการบรรเทาอาการปวดแต่ละครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงอาการผลข้างเคียงทางจิต หลังจากการรักษาไปแล้ว 3 เดือน ผู้ป่วยมีการรับรู้ได้ว่าสุขภาพโดยรวมทั่ว ๆ ไปนั้นดีขึ้น การดำเนินชีวิตด้านสังคม ความสามารถในการทำงาน มีการตอบสนองในด้านดีขึ้น นอกจากนี้ อาการเจ็บปวดและความเครียดวิตกกังวลลดลง 

          ในด้านโรคเบาหวาน มีงานวิจัยทั้งหมด 12 ชิ้นที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับสาร cannabinoids กับโรคเบาหวาน  ซึ่งพบว่า การรักษาที่ให้สาร canabinoid สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้  ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ทดลองที่เป็นเบาหวานประเภท 2 ที่ไม่ได้ใช้อินซูลินในการรักษา โดยพบว่าระดับ น้ำตาลในเลือดที่ลดลงมีผลจากการได้รับ THCV และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของเซลล์ตับอ่อนที่ เรียกว่า beta-cell ได้อย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาในกลุ่มอื่นๆรวมถึงกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก 

          ในส่วนโรคน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือโรคอ้วน พบ 7 งานวิจัยที่มีการศึกษาประสิทธิภาพของสารแคนาบินอยด์กับน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือโรคอ้วนซึ่งไม่พบความสัมพันธ์ของการรักษา แต่ขณะที่งานวิจัยของ Aronne et al, 2011 ในกลุ่มโรคอ้วน และมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 พบสัดส่วนของอาสาสมัครที่มีน้ำหนักลดลง 5-10% หลังจาก 1 ปี อย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่พบ ความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนในการที่ทำให้น้ำหนักลดในระหว่างสองกลุ่ม 

          สำหรับโรคพาร์กินสัน ไม่พบความสัมพันธ์ของการรักษาโดยใช้สารแคนาบินอยด์กับโรค โดยพบการศึกษาวิจัยทั้งหมด 4 งาน  ซึ่งมีงานวิจัยเพียงชิ้นหนึ่งที่พบประสิทธิภาพของ Nabilone  โดยมีผู้ป่วย 2 ราย รายงานว่าการรักษาสามารถบรรเทาอาการปวดจากการบิดเกร็งผิดรูปของกล้ามเนื้อได้ แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงหรือเห็นผลที่ชัดเจนต่ออาการทางกล้ามเนื้อ รวมทั้งมีงานวิจัย 7 งาน  ที่พบว่า cannabinoid ไม่ได้มีผลต่อการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ 

          สำหรับภาวะวิตกกังวลพบงานวิจัยทางคลินิกทั้งหมด 9 งาน ที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะวิตกกังวล โดยพบว่า cannabinoid compounds มีทั้งที่ลดความวิตกกังวลลงได้ รวมทั้งสามารถเพิ่ม หรือไม่เพิ่มระดับของความวิตกกังวล  ส่วนในอาการซึมเศร้านั้นมี 5งานวิจัย และพบว่า cannabinoidไม่ได้มีผลต่ออาการซึมเศร้า  นอกจากนี้ยังอาจมีอาการข้างเคียง ที่พบได้มากที่สุด คือ ปวดหัว ตาแห้ง ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณปลายประสาทที่ถูกทำลาย คลื่นไส้ ชา และ ไอ2 

.....................................
 
1 https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57044
2“ผลการทบทวนเอกสารจากงานวิจัยต่างประเทศ เกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์” ของศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้