4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

มหกรรมวิจัยแห่งชาติ 64: สวรส.โชว์นวัตกรรมวิจัย เพิ่มประสิทธิภาพการบริการสุขภาพ ปลอดภัย-ได้มาตรฐาน ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

          สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายระบบวิจัยทั่วประเทศ แถลงข่าวจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021)” ครั้งที่ 16 แสดงผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 26 พ.ย.นี้ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้แนวคิดหลัก “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” เพื่อเป็นเวทีสำคัญในการสร้างเครือข่ายการวิจัยของไทยที่มีศักยภาพ และขยายผลงานวิจัยไปสู่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ตลอดจนเพื่อการกระจายโอกาสในการเข้าถึงฐานข้อมูลความรู้การวิจัยและนวัตกรรม ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา

          ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการวิจัยไทย” และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่องานวิจัยไทย โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ซึ่งเป็นเวทีระดับชาติ ที่นำเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเชิงวิชาการ นโยบาย สังคม/ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยในปีนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 16 มีหน่วยงานเข้าร่วมมากกว่า 100 หน่วยงาน และมีผลงานวิจัยร่วมนำเสนอไม่ต่ำกว่า 500 ผลงาน และแบ่งการนำเสนอผลงานเป็น 7 ประเด็น ได้แก่ 1.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 2.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม 3.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน 4.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ 5.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์โรคอุบัติใหม่ 6.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG Economy Model และ 7.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ผู้สนใจ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทั้งรูปแบบ Online และ Onsite ผ่านทางเว็บไซต์ www.researchexpo.nrct.go.th โดยรูปแบบ Onsite จำกัดเฉพาะผู้ลงทะเบียนล่วงหน้า ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 2 เข็ม และผ่านกระบวนการคัดกรองตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข

          ด้าน สวรส. ได้ร่วมนำเสนอนวัตกรรมงานวิจัยในภาคนิทรรศการ โซนหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม (Program Management Unit : PMU) จำนวน 6 ผลงาน ได้แก่ 1) การศึกษาและพัฒนาชุดอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้ 2) การพัฒนาและผลิตต้นแบบสติกเกอร์ใส (COVID GUARD) ทางการแพทย์ 3) แท่นจับเลื่อยตัดกระดูกเพื่อความง่ายและแม่นยำ 4) ระบบและแพลตฟอร์มเพื่อการทดสอบทางการแพทย์ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (POCT) ที่ทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟน 5) แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์  และงานวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงระบบอีก 1 ผลงาน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์ข้อเสนอและออกแบบเชิงนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด 

          ทั้งนี้ในการแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติในปีนี้ สวรส.ได้นำผลงานวิจัย “แคปซูลความดันลบ” ตัวช่วยป้องกันการแพร่เชื้อทางอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้ มาจัดแสดง โดยงานวิจัยดังกล่าวได้ออกแบบและพัฒนาชุดอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้ ที่เป็นการพัฒนาต่อยอดจากจุดอ่อนหรือปัญหาของอุปกรณ์ดังกล่าวก่อนหน้านี้ เพื่อให้เกิดการใช้งานที่มีประสิทธิภาพและมีความสะดวกมากขึ้น งานวิจัยได้ออกแบบและพัฒนาสองส่วนสำคัญ ประกอบด้วย 1.โมดูลสร้างความดันลบประสิทธิภาพกรองเชื้อสูง และ 2.ห้องแยกผู้ป่วยแบบเคลื่อนย้ายได้ ที่มีขนาดและรูปแบบที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุด้วยรถพยาบาลระหว่างนำส่งโรงพยาบาล
ทั้งภายในหรือระหว่างสถานพยาบาล ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายเชื้อระบบทางเดินหายใจ ลดขั้นตอนการเคลื่อนย้าย ลดระยะเวลา เหมาะสมกับบริบทการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ และมีจุดเด่นที่สำคัญคือ มีระบบระบายอากาศสำหรับผู้ป่วยแพร่เชื้อ มีระบบควบคุมความดันลบ และระบบกรองอากาศประสิทธิภาพสูง ที่มีประสิทธิภาพกว่า 99.995% ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน ISO-14644 (Clean room and associated controlled environments) แล้ว จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีระบบกำจัดเชื้อโรคด้วยรังสียูวีซี ทำให้มีความปลอดภัยก่อนปล่อยอากาศสู่ภายนอก และเพิ่มความปลอดภัยในการซ่อมบำรุงแก่ผู้ใช้โดยเฉพาะในขั้นตอนการเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ นอกจากนี้ยังผ่านการทดสอบมาตรฐานด้านความปลอดภัยระบบไฟฟ้าเครื่องมือแพทย์ IEC 60601-1 และความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC) IEC 60601-1-2 อีกด้วย ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริหารหน่วยงานวิจัย นักวิจัย และสื่อมวลชนที่มาร่วมงาน เข้ามาซักถามข้อมูลกับนักวิจัยฯ ตลอดช่วงเวลาการแถลงข่าว

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้